วันพุธที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

อาภรณ์งาม การพัฒนารูปแบบศิลปะการแสดงร่วมสมัยของพีรมณฑ์ ชมธวัช
















...
ในราวปี 2538 ผมทำสารคดีทางโทรทัศน์ออกอากาศช่อง 9 อสมท. โดยรับหน้าที่ผู้สร้างสรรค์และเขียนบทโทรทัศน์ นำเสนอเรื่องราวของพีรมณฑ์ ชมธวัช (บิ๊ก) ผ่านเรื่องราวของกลุ่มคนทำละครเวทีแนวตะวันตก ภายใต้ผู้อำนวยการสร้าง ม.ร.ว.รุจยาภา อาภากร กำกับการแสดงโดย พี่ตู่นพพล โกมารชุน กำกับดนตรีโดย จิรพรรณ อังศวานนท์ และ สินนภา สารสาส นั่นคือเหตุการณ์ที่ทำให้ผมพบกับบิ๊กเป็นครั้งแรกในฐานนักเต้น หรือ dancer ที่มีความสามารถสูงพร้อมสรรพ์ด้วยพรสวรรค์ จิตวิญญาณ กายและอารมณ์อันงดงามทุกก้าวย่างก้าวบนเวทีการแสดง

จากนั้นหลายสิบปีแล้วที่ไม่พบกันอีกเลย จากวันนั้นถึงวันนี้ สู่เรื่องราวของคณะละครอาภรณ์งาม การหวนคืนสู่รากเหง้าทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดงร่วมสมัยของไทย ซึ่งผมชื่มชมด้วยใจจริง จากข่าวคราว ASTV ผู้จัดการออนไลน์เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2551 ได้ความว่า“หากได้ทำในสิ่งที่รัก ชีวิตก็จะมีความสุข” ประโยคนี้คงเกิดขึ้นจริงแล้วกับชีวิตของ พีรมณฑ์ ชมธวัช ผู้ก่อตั้งคณะละครอาภรณ์งาม ซึ่งความสุขที่สุดของเขานับได้จากการทำในสิ่งที่รัก และคงเป็นเรื่องไม่บังเอิญสักนิด ที่ความหลงใหลในศิลปะไทยจะตอกย้ำความเป็นตัวตนของใครสักคนเรื่อยมา ชนิดที่ยอมไม่ได้ถ้าต้องเห็น ของดีที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้จำต้องเลือนหายไปกับยุคสมัยที่ผันผ่านอย่างไม่รู้จักจบสิ้น...

ความรู้สึกชื่นชอบที่มีต่อการเต้นรำฉายชัดมาตั้งแต่เด็ก พีรมณฑ์ย้อนเล่าให้ฟังถึงความสนใจที่มีต่อศาสตร์และศิลป์ของการเต้นรำ ที่เขาใช้เวลากว่าครึ่งค่อนชีวิตเพื่อตามหาในสิ่งที่รักและตั้งใจ“เมื่อรู้ว่าตัวเองมีความสุขกับการได้ทำสิ่งไหน ก็จะทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด บวกกับที่บ้านเลี้ยงมาแบบให้อิสระทางความคิด พอรู้แล้วว่าชอบอะไร จากนั้นก็ตามความฝันมาเรื่อย กลายเป็นเด็กที่บ้าเต้นรำ ทำทุกอย่างเพื่อจะทำฝันที่ต้องการเป็นนักเต้นรำบนเวทีระดับโลกให้เป็นความจริง ซึ่งก็ต้องยอมแลกกับอะไรไปเยอะพอควร กว่าจะไปให้ถึงสิ่งที่ตั้งใจไว้”

ไม่นานเกินรอ...สิ่งที่ฝันก็ถูกสานต่อไปอีกก้าว เมื่อเขาตัดสินใจพักการเรียนที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงทุนบินลัดฟ้าไปเป็นนักเต้นอาชีพที่ฝรั่งเศสราว 2 ปี ณ ที่นั่น มันเป็นมากกว่าการเต้นรำ เพราะไม่เพียงแต่การได้เคลื่อนไหวสรีระตามท่วงทำนองแห่งบทเพลง ทว่า มันเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ชื่นชอบในเชิงศิลปะได้อย่างล้ำลึกจากประสบการณ์ตรง จนสามารถค้นพบว่าตัวเองเหมาะกับการเต้นรำแบบไหนมากที่สุด แล้วคำตอบก็คือ การเต้นรำแบบร่วมสมัย ลีลาที่เขาถนัดยิ่งนักในการแสดง จนฝรั่งยังเอ่ยปากชม ก่อนจะกลับมาจัดการกับศิลปะนิพนธ์ ซึ่งมีโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องการเผยถึงความเป็นตัวตนของเขาเองรออยู่ จนเกิดคำถามให้ต้องทำอะไรสักอย่างว่า... แล้วจะทำอย่างไรให้งานของตัวเองออกมาร่วมสมัยแต่ไม่ไร้จุดยืน ?

“บ้าฝรั่งมานาน พอต้องหาความเป็นตัวเองขึ้นมา ผมนึกถึงคำพูดของ อ.บัญชา สุวรรณานนท์ คนที่สอนผมเต้นรำมาตั้งแต่เด็ก ที่พยายามบอกผมมาตลอดว่า จะไปเต้นที่เมืองนอกได้ยังไง ถ้าเอาวิชาของฝรั่งไปเต้นให้ฝรั่งดู ความรู้มันเป็นของเขา คงไม่ต่างอะไรกับเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน จากตรงนั้นจึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนความคิด กระตุ้นให้เรากลับมาศึกษารากของความเป็นไทยและหาจุดยืน เดินออกจากอาการเห่อฝรั่งแบบสุดขั้ว ทั้งที่ก็เก็บเกี่ยวความรู้ของตะวันตกมามากพอ”

เมื่อลู่ทางความคิดมุ่งตรงไปหารากเหง้า ศิลปะนิพนธ์ในหัวข้อ การนำท่ารำแม่บทเล็กมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบและกระบวนการของการเต้นรำร่วมสมัย ก็ลุล่วงไปอย่างชื่นใจ กลายเป็นจุดเริ่มของกรอบแนวคิดที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า... นาฏศิลป์ร่วมสมัยก็สามารถมีแก่นแท้ที่เป็นไทยได้ อย่างลงตัว ในท่ามกลางความโมเดิร์นจากโลกตะวันตกที่กำลังไหลบ่าเข้ามาอยู่ไม่ขาด
...
“ผมยังคงมีความสุขกับไลฟ์สไตล์ที่สนใจแฟชั่นใหม่ๆ ยังเคารพวิชาความรู้ที่เป็นตะวันตก แลจะไม่ปฏิเสธว่างานของเขาไม่ดี แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ดูถูกของของเรา ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไทยร้อยเปอร์เซ็นต์แบบหัวชนฝาหรอก ผมถือว่าผมเป็นศิลปินร่วมสมัยที่ไม่ปฏิเสธของเก่านะ ซึ่งบางคนอาจจะไม่คิดแบบนั้น แต่ถ้าให้พูดถึงความร่วมสมัย สำหรับผมถ้าคิดจะทำงานใหม่ๆ ขึ้นมา ด้วยการทิ้งของเก่าไปเลย...มันจะไม่ลึก เพราะทุกอย่างมันต้องมีที่มาที่ไป ซึ่งการเข้าถึงรากเหง้าอย่างแท้จริง จะทำให้ความแปลก หรือความแหวกแนว ที่เข้าใจกันว่าเป็นความร่วมสมัย มันจะเป็นไปได้อย่างเข้าใจและยั่งยืน เพราะรู้ว่ารากมันมาจากไหนและผ่านอะไรมาแล้วบ้าง”










...
ด้วยการตกผลึกทางความคิด จนเกิดมุมมองที่ลึกลงไปถึงมิติอันหลากหลายในทุกองค์ประกอบของการแสดงนี้เอง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของคณะละครที่เขาอำนวยการมาตั้งแต่ปี 2546 จนปัจจุบัน เป็นทั้งผู้กำกับ ออกแบบอาภรณ์ คัดเลือกผู้แสดง พัฒนาวิธีการนำเสนอ ไปจนถึงการจัดการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไรให้สวยงามและได้มาตรฐานสากล หรือถ้าถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้าน เขาบอกว่า “คือการทำการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไรให้เนี้ยบที่สุด” เพราะองค์ประกอบทั้งหมดตั้งแต่ เสื้อผ้า การแสดง แสง ระบบเสียง และสถานที่ที่จัดแสดง มันแทบจะแยกกันไม่ออก และเขาคนนี้ก็ต้องจัดการให้มีความเป็นมืออาชีพอย่างที่ระดับสากลเขาทำกันให้ได้

“คณะละครอาภรณ์งาม เป็นชื่อที่ชอบ และสื่อความหมายได้ตรงใจเอามากๆ” เขาบอกว่า เพราะเป็นความตั้งใจส่วนตัวที่ต้องการโชว์ชุดสวยๆ จากการปักร้อยด้วยฝีมือทั้งหมด ซึ่งถูกจุดประกายโดย อ.บัญชา (คนเดิม) ผู้เข้ามากระตุกให้ฉุกคิดถึงอาชีพที่สองไว้รองรับ หากว่าวันข้างหน้าจะไม่สามารถเต้นรำได้อีกแล้ว แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ ความสนใจตรงนี้ยังช่วยต่อสายป่านให้เครื่องละคร ซึ่งเป็นความงดงามแบบไทยจะไม่โดนถอนรากไปจากเดิมที่เคยมี

“ที่จริงเรื่องการแต่งกายมันอยู่ในความสนใจของผมนานแล้ว เพราะเป็นคนชอบแต่งตัวและคุ้นเคยกับเสื้อผ้าที่ใช้เต้นรำมาเยอะ จึงทำให้รู้ว่า ที่ผ่านมาการสร้างเสื้อผ้าสำหรับการเต้นรำมักจะไม่ได้ใช้เทคนิคที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวของนักแสดงสักเท่าไหร่ แม้แต่ชุดโขน ที่เห็นกันอยู่ ก็เป็นงานตัดเย็บหยาบๆ และยังไม่ดีที่สุดสำหรับผู้แสดง ก็เลยตัดสินใจมาทำเองดีกว่า อาศัยเรียนรู้จากข้อผิดพลาด สักพักก็ไปขอเรียนการตัดเย็บกับคุณป้าสปัน เธียรประสิทธิ์ (อดีตดีไซเนอร์ชื่อดัง) เรียนจนเริ่มชำนาญในการทำเสื้อผ้าโบราณแบบตะวันตก ซึ่งตอนนั้น ผมเองก็เริ่มสนใจ (อย่างมาก) ที่จะทำเสื้อผ้าเครื่องละครไทยแล้วล่ะ”

จากงานปักเสื้อผ้าละครไทยชิ้นเล็กๆ ที่นำมาประกอบการเต้นรำร่วมสมัย ลงทุนศึกษาเชิงวิจัยมรดกของชาติ ด้านเครื่องละครอย่างจริงจัง จนสามารถสร้างชุดละครให้ตัวพระ ตัวนาง ได้สำเร็จตามรูปแบบ สีสันและลวดลายที่ถูกต้องแบบต้นฉบับโบราณ ก็ยิ่งทำให้ความตั้งใจที่อยากจะเห็นการเผยแพร่เครื่องละครไทยต่อสาธารณชน ถูกสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม

มันชื่นใจนะ ที่เราสามารถนำภาพเก่าๆ กลับมาสู่โลกปัจจุบันได้ ได้เห็นสิ่งที่ทุ่มเทไปเคลื่อนไหวอยู่บนตัวนักรำ แล้วเราก็นั่งสังเกตว่าปฏิกิริยาของคนดูเป็นยังไง ชื่นชอบมันขนาดไหน มันเป็นความสุขซ้อนความสุข คือ ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาชื่นชอบและซาบซึ้งไปกับงานของเรา ความสุขนั้นก็จะส่งต่อมาถึงผมด้วย อีกอย่างคือ รสนิยมดีๆ เกี่ยวกับนาฏศิลป์ของไทย ดูเหมือนต้องอาศัยเวลาในการซึมซับสิ่งเหล่านี้ แต่ผมก็เชื่อว่ามันเกิดขึ้นได้จริง”

ท่ามกลางความร่วมสมัยแห่งยุค ชายหนุ่มยังคงสุขใจกับสิ่งที่ได้ทำ พีรมณฑ์บอกว่า แม้ตอนนี้ เด็กๆ ในคณะละครจะยังไม่อาจทำได้เหมือนที่เขาทำ แต่อย่างน้อยความสุขใจที่ได้ส่งต่อความคิดร่วมสมัยให้เคียงคู่กับศิลปะไทย ก็ถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ตราบเท่าที่เรี่ยวแรงจะยังมี... เขาสัญญา

ผมคิดว่าอีกไม่ช้าผมจะเชิญบิ๊กเข้าร่วมโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผม "วัฒนธรรมของภาพยนตร์ร่วมสมัย:สัมพันธบทและแนวทางการพัฒนาภาพยนตร์หลังสมัยใหม่ของศิลปินศิลปาธร" หวังว่าคงจะได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง

4 Region Thai Dancing

วันอังคารที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

สูญเสีย:ทบทวน อาลัย ทรัพยากรบุคคลทุนวัฒนธรรม

ขอแสดงความอาลัยยิ่งแด่ อ.ประพัฒน์ วรทรัพย์ นิสิตปริญญาเอก รุ่น 4 ศูนย์การเรียนกทม. เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552 ในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกวัฒนธรรมศาสตร์ ของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มมส. นักวิจัยผู้มีผลงานการวิจัยระดับชาติ อาทิ พระเมรุมาศ เมรลอยฯ ฯลฯ มมส.ได้สูญเสียบุคคลากรในด้านศิลปะวัฒนธรรม วัฒนธรรมศาสตร์ ในระหว่างการทำวิจัยไปอีกท่านหนึ่ง คณาจารย์พี่น้องหลายท่านตั้งประเด็นเสนอว่า จะสืบสานงานวิจัยชิ้นนี้ให้สำเร็จลุล่วงหรือไม่ อย่างไร?

ผลงานอ.ประพัฒน์ วรทรัพย์
โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพื้นฐาน พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่าย: ภาคตะวันตก
สนับสนุนโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
.....
ศิลปกรรมไทยในเมรุลอยอยุธยา ในเอกสารการประชุมวิชาการ “ศิลป์กับสังคม : สืบสานวัฒนธรรม”
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ 2546
.....
แหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการในพื้นที่โดยรอบโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 1 กระทรวงศึกษาธิการ , นครปฐม , 2546
.....
http://www.ndmi.or.th/knowledge/download/research/abs_network_west.pdf
http://www.songsakarn.com/forum/archiver/?tid-780.html
http://www.culture.go.th/research/news/centernews1.html

http://culture.pkru.ac.th/~culture/search/detail.php?id=64090
http://culture.pkru.ac.th/~culture/search/search.php?search=ประพัฒน์%20วรทรัพย์%20ศิลปกรรมไทยในเมรุลอยอยุธยา&logic=AND
http://culture.pkru.ac.th/~culture/research.php?category_id=2
http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID=10&searchKey=&searchFrom=&searchTo=&PageShow=1&TopView=&QID=2536

http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=20944
http://www.thaistudy.chula.ac.th/m13-05-detail.php?id=8876
http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=58734

แด่ อ.ประพัฒน์ วรทรัพย์
ผูกผันดั่งพี่น้องร่วมเชื้อสถาบันสาย ร่วมสานทอใย สู่เส้นสายศาสตร์วัฒนธรรม แม้กายสูญจากไกลไม่หวนคืน หากสัมพันธ์สาย อยู่คู่นิรันดร์นาน

ฝากคำถามจากพี่ประพัฒน์ให้เพื่อนนิสิต เมื่อผมเริ่มสนิทกับพี่ปูม พี่ปูมถามผมว่า "น้อง!ทำไมนิสิตป.เอกที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ค่อยดูแลเพื่อนนิสิตที่เป็นครูบ้างนะ พี่ฝากดูแลบรรดาครูๆทั้งหลายด้วยนะน้อง" สิงหาคม 2551















เพลงประกอบภาพยนตร์ Happy Birthday มอบแด่พี่ชายร่วมสถาบันผู้มีความมุ่งมั่น รักศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และจริงใจ

เธอคือความฝันในใจฉัน เพียงความฝันที่แสนไกล ดั่งคว้าดาวบนฟ้าไกล ไม่มั่นใจจะคว้า เปรียบดั่งดอกไม้แห่งความหวัง มีความฝันที่กว้างใหญ่ หากแม้เธอเพียงเข้าใจ ฉันมั่นใจสักวัน จะลองไขว่คว้าหาคำตอบ ฝันคงจริงสักครั้ง จะมีความรักให้เธอ อย่างหาใครมาเปรียบเหมือน จะลองไขว่คว้าหาคำตอบ ฝันคงจริงสักครั้ง จะมีความรักให้เธอ อย่างหาใครมาเปรียบเหมือน แม้ถ้ามีเธออยู่ มีเพียงเราสองรักกันอยู่ ข้างเคียงกันเสมอ ในใจลืมเผลอละเมอตื่น ฝันยังคอยหลอกหลอน (ฝันยังคอยหลอกหลอน) หายใจมีแต่เธอ แม้เธอไม่มีอยู่

อาลัยยิ่ง
สุชีพ กรรณสูต นิสิตป.เอกวัฒนธรรมศาสตร์ รุ่น 5 กทม.

วันอังคารที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

วันจันทร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

วันอังคารที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

เพลานี้ Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์)



















...............................................
ในปัจจุบันคำที่ใช้กันมากและอาจสร้างความสงสัยให้ผู้คนได้ไม่น้อยก็คือคำว่า Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้ เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่รู้จักใช้คอนเซ็ปท์ Creative Economy (CE) ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง การส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลกในรูปของภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง นักร้อง แฟชั่น การท่องเที่ยว ศิลปะการแสดง อาหาร ฯลฯ ซึ่งสร้างการจ้างงานและรายได้อย่างมหาศาลเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชม ความหมายอย่างง่ายของ CE ซึ่งให้โดย John Hawkins (ในหนังสือชื่อ The Creative Economy : How People Make Money From Ideas ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC) ก็คือ "การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์" สาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่ CE จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries หรือ CI) ซึ่งหมายถึงกลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ

ความสำเร็จของอังกฤษและเกาหลีใต้ในการพัฒนา Creative Economy ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ หรือเพียงเพราะรัฐบาลนำเงินงบประมาณมหาศาลมาสนับสนุนให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งหลายได้เติบโต แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Creative Infrastructure) ในการเติบโตของทั้งสองประเทศนี้ก็คือ หลักสูตร “วัฒนธรรมศึกษา” ที่มุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมร่วมสมัยและวิถีชีวิตของกลุ่มคนต่างๆในสังคม ซึ่งแม้ว่าในจุดเริ่มต้นจะเป็นเพียงการวิจัยในรั้วมหาวิทยาลัย แต่สุดท้าย “รากฐานความรู้” ที่บ่มเพาะมายาวนานนับสิบปีนี้เอง ได้ถูกนำมาใช้ต่อยอดในการพัฒนา Creative Product ของธุรกิจสร้างสรรค์ทั้งหลายให้มีความโดดเด่นหลากหลายและสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนในชาตินั้น

สำหรับประเทศไทย ได้มี “หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา” มาหลายสิบปี แต่เนื่องจากปัญหาหลายๆประการ จึงทำให้ไม่สามารถนำมาใช้เป็น Creative Infrastructure เพื่อสนับสนุนการเติบโตของ Creative Economy ได้ ครั้นจะกลับไปแก้ไขที่หลักสูตร ก็คงจะติดปัญหาวุ่นวายไม่จบสิ้น และหากทำสำเร็จก็คงจะชักช้าไม่ทันการ เนื่องจากว่า “วัฒนธรรมศึกษา” เน้นไปที่ความแม่นยำทางวิชาการและยังมีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมมากเกินไป จึงย่อมไม่สามารถพัฒนาให้สำเร็จได้ในช่วงเวลากระชั้นสั้น

สังคมไทยได้ถูก “เครื่องจักรและเทคโนโลยี” ควบคุมบัญชามาหลายสิบปีแล้ว ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเดินหน้าเข้าสู่ Creative Economy ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ โดยมีเครื่องจักรและเทคโนโลยี เป็นเพียงสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้มนุษยชาติที่หลากหลายด้วยอารมณ์ ความรู้สึก คุณค่า ความเชื่อ และวิชาชีพ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสร้างสรรค์ลึกซึ้ง เพื่อนำไปสู่การผลิต Creative Product ที่ไม่ได้ให้คุณค่าทางวัตถุแต่เพียงเท่านั้น หากยังหยั่งลึกลงไปถึงจิตใจอันละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์อีกด้วย













............................................................

bhutan photo expedition lechimping

Here's a Soundslides candid behind the scenes look at the going-ons during the Bhutan: Land of the Druk Yul photo expedition. All photographs are courtesy and copyright of Gavin Gough (those of him are obviously not...unless they were self-taken).As can be seen from the above photo capture, we were singularly adept at the art of chimping during the Thangbi Mani tsechu.

Posted by tewfic el-sawy at 05:43
Labels: , , ,
http://www.gavingough.com/slideshow/bhutan08/


The National Geographic Magazine brings us a photo essay by Lynsey Addario on Bhutan in its efforts to join the modern world without losing its Buddhist soul. Reading the accompanying article, I was saddened by the inexorable march of the so-called progress fueled by globalism which is now threatening this delightful Himalayan enclave. You will see that the article mentions youngsters who are enamored with hip-hop and American wrestling...a photograph by Lynsey showing a trio of Bhutanese girls (near one of the top Thimpu hotels) dressed in jeans and colorful tops...but the most disturbing of the photographs was the one of 12-year-old Jigme Lhendup and his sister Sonam, 9, showing off their hip-hop moves at their mother's bar in Thimpu.

Although Bhutan's countryside remains relatively untouched by this 'progress', it may be only a matter of time until it too will be affected. I am certainly glad that my Bhutan photo-expedition is scheduled for October 2008...its members will still see Bhutan as I've seen it over the years.National Geographic's Bhutan's Enlightened Experiment
Posted by tewfic el-sawy at 07:50

http://thetravelphotographer.blogspot.com/2008_02_01_archive.html

Global Vision Awards 2007

Winner: Cultural PreservationThe Sacred Arts of BhutanA dance master in Bhutan performs a Buddhist ritual cham for Core of Culture conservationists.

Photo: Courtesy of Gessie Houghton & Core of Culture

A repository of a very rich, very pure Buddhist tradition, the tiny Himalayan kingdom of Bhutan has been famously protective of its culture, remaining closed to outside influences, and most visitors, for centuries. But in recent decades, the country has begun to open its doors—a process of modernization that could put Bhutan's heritage at risk, particularly because the kingdom has had little experience with conservation techniques. Enter the Honolulu Academy of Arts, which in 2003 began a multifaceted eight-year project to help document and preserve this intact living history. Conservators from the academy and from the Asian Art Museum of San Francisco are training Bhutanese monks and cultural experts in preserving and storing ancient sacred artworks. Core of Culture, a Chicago-based dance-preservation group, is documenting cham (Buddhist ritual dances) and compiling a 350-hour video archive, among other materials. These efforts will culminate in a major traveling exhibition, "The Dragon's Gift," which will open in Honolulu in February 2008 and tour the world for two years, bringing Bhutan's unique culture into the global spotlight for the first time.
http://www.travelandleisure.com/slideshows/global-vision-awards-2007/4
Our judge says: "It shows great foresight, using international collaboration to preempt the degradation of Bhutan's culture."—Bonnie Burnham
Our judge says: "The Sacred Arts of Bhutan project lays the foundation for a new tradition—conservation of the country's rich heritage."—Mounir Neamatalla