วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Hollywood hybrids

Hollywood hybrids: mixing genres in contemporary films โดย Ira Jaffe
Classifying films by genre is useful, to a point. But how do you describe films with intersecting or shifting genres? One moment comedy may rule, then tragedy, horror, sci-fi, kung fu, film noir, the Western or a combination of these. Ira Jaffe celebrates these hybrid films for their ability to both understand and subvert genres. He honors classic hybrid works by Charlie Chaplin and Jean Renoir and guides us through current mlanges fiction in documentaries, farcical gangster films, morbid melodramas, and more. Featured filmmakers include Quentin Tarantino, Joel and Ethan Coen, Michael Moore, David Lynch, and Pedro Almodovar.


Rethinking Third Cinema โดย Anthony R. Guneratne,Wimal Dissanayake
With case studies of the cinemas of India, Iran and Hong Kong, and with contributors addressing the most challenging questions it poses, this important anthology addresses established notions about Third Cinema theory, and the cinema practice of developing and postcolonial nations

วันพุธที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Hybrid ในเชิงวัฒนธรรม

Hybrid ในเชิงวัฒนธรรม

Hybrid มีความหมายตามศัพท์ที่คุ้นเคยกันมาหลายร้อยปีว่า ลูกผสม อันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสองพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์ที่อยู่ใน Family เดียวกัน แต่ต่างกันในด้านลักษณะเฉพาะของพันธุ์ทั้งสอง นำมาผสมข้ามพันธุ์เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่รวมเอาลักษณะเด่นของพ่อและแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ต่างกันมารวมอยู่ในลูกผสมที่เกิดขึ้นใหม่

Hybrid ถ้านำศัพท์นี้ไปปรับใช้กับการเกิดลักษณะลูกผสมในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะสัตว์หรือพืช แต่เรานับรวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์ด้วยแล้ว ลักษณะที่เรียกว่า ลูกผสม หรือ Hybrid นี้เกิดมานานแล้ว ไม่ใช่เป็นร้อยปี แต่ร่วมสองพันปี

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ คนไทยที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันนี้เอง
เป็นเผ่าพันธุ์ Hybrid โดยแท้ เพราะถ้าพิจารณาตามหลักฐานใหม่ที่มีน้ำหนักมากกว่าเรื่องคนไทยอพยพมาจากจีนแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว จะพบว่ากว่าจะมาเป็นคนไทยในปัจจุบันนี้ ได้เกิดการผสมข้ามพันธุ์ของหลายเผ่าพันธุ์ ทั้งคนที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นนี้แต่เดิม

ตามหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมินี้อย่างต่อเนื่องนับย้อนหลังไปได้ถึงประมาณ 2 ล้านปี คนไทยปัจจุบันจึงเป็นลูกผสมของคนท้องถิ่นสุวรรณภูมิเดิม กับคนเผ่าพันธุ์อินเดีย คนเผ่าพันธุ์จีน ที่เข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งในดินแดนนี้มากกว่า 2,000 ปี เพราะดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อประมาณสองพันกว่าปีลงมาจนถึงยุคอยุธยา เป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และรวมไปถึงการผสมข้ามพันธุ์กับคนกลุ่มขอม และมอญที่มีอิทธิพลอยู่ในย่านนี้ในช่วงเวลาหนึ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา

เรื่องของ Hybrid ในหลายๆ วิถี รวมถึงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่คือ ในสังคมธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการตลาดในโลกปัจจุบัน เรื่องของ Hybrid ได้ถูกนำมาใช้อย่างให้ความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ความสำคัญนี้กำลังเพิ่มขึ้นในลักษณะทวีคูณ
ปัจจัยภายนอกและในหลายประการจะทำให้ยุทธศาสตร์ Hybrid Marketing จะกลายเป็นกระแสหลักของการตลาดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะถูกใช้ครอบคลุมทุกเรื่อง ตั้งแต่ตัวผลิตภัณฑ์ที่ขายในตลาด กลยุทธ์การตลาด และยุทธศาสตร์ขององค์กร ไปจนถึงพฤติกรรมผู้บริโภค

โลกที่นับวันจะแคบลงเป็นโลกไร้พรมแดน การสื่อสารในรูปแบบของความบันเทิงและสาระต่างๆสามารถรับชมจากซีกโลกหนึ่งสามารถทำให้อีกซีกโลกหนึ่งรับรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็วเท่าความเร็วแสง การสร้างสัมพันธ์ระหว่างชนต่างเชื้อชาติทั้งในรูปแบบของการเป็นเพื่อน และการเป็นครอบครัวเกิดขึ้นเร็วกว่าการผสมผสานเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพันกว่าปีก่อนเป็นล้านเท่า ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cross-cultural) เป็นลูกผสม (Hybrid) วัฒนธรรมใหม่ที่กลมกลืน เช่น คนญี่ปุ่นปัจจุบัน ที่มีวิถีชีวิตสมัยใหม่แบบอเมริกันแต่ก็ยังมีเอกลักษณ์ของความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสมอยู่ในลักษณะที่เข้มข้น คนญี่ปุ่นแต่งสากลไปทำงานในสำนักงานและเครื่องมือเครื่องใช้แบบตะวันตก แต่ก็มีปรัชญาดำเนินชีวิตตามลัทธิชินโตและมีวิธีการจัดการธุรกิจที่ผสมผสานลัทธิบูชิโดอยู่ เป็นพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของลูกผสมสายพันธุ์ใหม่อย่างชัดเจน

ความเข้มข้นของวัฒนธรรมญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงผู้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกาเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้ง เอเชีย อเมริกา และยุโรปด้วย เช่นกัน เช่น วัฒนธรรมการร้องคาราโอเกะ วัฒนธรรมการแต่งตัวที่แม้จะเป็นแบบตะวันตก แต่ก็เป็นสไตล์ญี่ปุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ ยูโด คาราเต้ ไอคิโด วัฒนธรรมบันเทิง อย่างวิดีโอเกม การ์ตูน ของเล่น ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในอเมริกา

การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ยังทำให้เกิดภาษาพูด Hybrid เป็นลูกผสมของภาษาท้องถิ่นกับภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบัน ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศจะมีการผสมผสานภาษาอังกฤษเข้าไป เพราะความจำเป็นที่ต้องใช้ เนื่องจากการพูดคุยถึงธุรกิจสมัยใหม่ แม้คนในชาติเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน ก็มีภาษาอังกฤษสอดแทรกทั้งสิ้น เพราะวิชาการการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ ต้นกำเนิดเป็นภาษาอังกฤษ และศัพท์วิชาการจำนวนมาก ที่ไม่สามารถใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศอธิบายได้ การผสมภาษาอังกฤษในภาษาท้องถิ่นนี้ ไม่เว้นแม้ในภาษาญี่ปุ่น ที่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวัฒนธรรม ก็มีการผสมภาษาอังกฤษในระหว่างการพูดคุยเสมอ

ในสิงคโปร์ มีการบัญญัติศัพท์เรียกภาษาจีนแบบสิงคโปร์ที่เป็นลูกผสมอังกฤษใหม่ว่า Singlish ภาษาไทยก็เห็นชัดเช่นกัน เมื่อพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ก็ต้องมีภาษาอังกฤษเข้าไปผสมอยู่ไม่น้อย เพราะถ้าแปลเป็นภาษาไทยแล้ว จะทำให้ความหมายเพี้ยนไปจนสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง นี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือน่ากลัวแต่อย่างใด ในอดีตภาษาลูกผสมที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม ก็เกิดมาแล้วเป็นพันปี ในแผ่นดินที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าชนที่ต่างกันสูง เช่น ไทย ภาษาไทยปัจจุบัน มีการผสมผสานกันของภาษาท้องถิ่น ภาษาสันสกฤต บาลี ของอินเดีย รวมทั้งภาษาขอม ภาษาญี่ปุ่น ก็มีลูกผสมภาษาท้องถิ่นกับภาษาจีน ฯลฯ

การเกิดของวัฒนธรรมลูกผสมเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

การผสมผสานทางวัฒนธรรมในด้านของการผสมของผู้คนต่างเผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ อย่างวงการบันเทิงไทย ดาราที่เป็นลูกผสมไทยกับอเมริกัน หรืออังกฤษ หรือต่างชาติอื่น กำลังได้รับความนิยม เพราะดาราเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นในเรื่องหน้าตา บุคลิก การใช้ภาษา

http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=2384&ModuleID=21&GroupID=840

Visual arts - ศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย อภินันท์ โปษยานนท์

Visual arts - ศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย อภินันท์ โปษยานนท์

วิวาทะในเรื่องวัฒนธรรมอันหลากหลาย และภาวะลูกผสมหลังอาณานิคมได้เร่งให้เกิดการจัดการเป็นลำดับเพื่อตอบสนองด้านวัฒนธรรมและการเมือง เรื่องที่มีการโต้เถียงกันนี้ได้ถูกตีความจากกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างหลากหลาย จากการที่มันเป็นกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความหลากหลายขึ้น ไปจนถึงการจัดลำดับชั้นอำนาจของศูนย์กลางและชายขอบ

ความปรารถนาต่อความหลากหลายทางเชื้อชาติและความเป็นชาติทำให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ความคิดแบบหลายศูนย์กลางที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนการจัดลำดับศูนย์กลางของอำนาจ แต่เป็นการเสนอเสียงจากกลุ่มย่อยให้เป็นที่รับรู้ เสียงจากชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ไม่ได้สนใจเพียงแค่การดึงดูดชนกลุ่มน้อยต่างๆให้เข้ามาร่วมกันเพื่อที่จะแสดงตัวให้เป็นที่ปรากฏอย่างจอมปลอมอีกต่อไป แต่พวกเขาได้ร่างโครงสร้างเสียใหม่เพื่อบอกว่าโลกนี้ยังมีที่ๆมีวัฒนธรรมซึ่งมีพลวัตและมีสิ่งที่มีคุณค่าอยู่อีกมากมาย

ประเทศในแถบเอเชียได้ก่อตั้งเครือข่ายทางเศรษฐกิจผ่านการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค อาทิ อาเซียน เอเปค เพื่อการต่อต้านการครองความเป็นเจ้าของกลุ่มประเทศยูโร-อเมริกัน และด้วยการใช้ศิลปะและวัฒนธรรมสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียนพยายามที่จะสร้างค่านิยมแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการส่งเสริมให้มีการจัดมหกรรมเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีและจัดนิทรรศการศิลปะต่างๆขึ้น จุดมุ่งหมายของกิจการทางวัฒนธรรมเหล่านี้ก็คือการสร้างความผูกพันทางการเมือง และส่งเสริมเครือข่ายทางเศรษฐกิจ คุณลักษณะเฉพาะแบบท้องถิ่นได้รับการส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อการรวมตัวกันในภูมิภาคนี้ ภายใต้นโยบายไม่แทรกแซงกันเพื่อรวมเป็นหนึ่งและเพื่อสร้างเอกภาพที่มีความหลากหลาย กลุ่มประเทศอาเซียนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาบางประการได้ อาทิ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และการค้าประเวณีข้ามชาติ เป็นต้น

แนวความคิดบางประการในการกระจายอำนาจในโลกศิลปะนั้นส่งผลให้เกิดกระบวนทัศน์ที่ผันแปรจากการครอบงำของกลุ่มประเทศยูโร-อเมริกันไปสู่ความสนใจเพิ่มขึ้นในเรื่องการจำแนกความต่างและการกระจายศูนย์กลางแบบพหุวัฒนธรรม ผลที่ตามมาก็คือการกระจายศูนย์อำนาจทางศิลปะได้ทำให้เกิดพื้นที่ที่มีความโดดเด่นขึ้นมาเป็นทางเลือกต่อ ที่ซึ่งเป็นเมืองหลวงของศิลปะอย่างนิวยอร์ก ปารีส หรือเบอร์ลิน ตลอดทศวรรษ 1990 การท้าทายต่อการครอบงำและการรวมศูนย์อำนาจในกลุ่มประเทศ ตะวันตกเกิดขึ้นมาพร้อมกับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเอเชีย มันได้ทำให้กิจกรรมทางศิลปะรุ่งโรจน์ขึ้น ณ ศูนย์กลางทางศิลปะแห่งใหม่ที่เมืองโตเกียว กวางจู ฟูกูโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ และสิงคโปร์

ศิลปะร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีส่วนร่วมกันในความรุ่งโรจน์และความตกต่ำระหว่างทศวรรษ 1990 ช่วงเวลาของความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจหมายถึงเมืองอย่างกรุงเทพ มานิลา จาร์การต้า สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์อึกทึกไปด้วยกิจกรรมของศิลปะร่วมสมัย และเงินสดก็ไหลผ่านอย่างอิสระสู่การลงทุนทางศิลปะและการค้าศิลปะด้วยเช่นเดียวกัน

ภายใต้ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ การอุปถัมภ์จากบริษัทธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการประกวดและการว่าจ้างให้สร้างงานศิลปะขึ้น ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างตระหนักถึงความสำคัญของการเสนอเป็นเจ้าภาพในการจัดนิทรรศการ เทศกาล ตลอดจนถึงการประกวดงานศิลปะ พวกเขาต่างมุ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองต่างๆ ในประเทศของพวกเขามีสีสัน และเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจ แต่ภายหลังจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และความวุ่นวายทางการเมืองในบางพื้นที่ ก็ทำให้ศิลปะร่วมสมัยในภาคพื้นนี้ตกต่ำถดถอยไปชั่วขณะ ด้วยการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจอันรวดเร็วนี้เอง ศิลปินในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และใช้ประสบการณ์เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน พวกเขาสะท้อนปัจจัยหลายประการที่ได้ก่อความขัดแย้งและได้สร้างภาวะย้อนแย้งในสายใยของสังคมร่วมสมัยในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น

วัฒนธรรมลูกผสมเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ อาทิ ขบวนการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมขึ้นมาใหม่ในวัฒนธรรมหลังอาณานิคม การข้ามพรมแดนของวัฒนธรรมที่รับเข้ามาจากประเทศอื่น และความลุ่มหลงในวัฒนธรรมบริโภคที่มาจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้สะท้อนองค์ประกอบต่างๆที่หลอมรวมกันอย่างไม่น่าจะเข้ากันได้เลย และมันปรากฏอยู่ในความเคลื่อนไหวของศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคนี้

สื่อแบบดั้งเดิมต่างๆ อาทิ จิตรกรรม ยังคงได้รับการยอมรับอย่างสูงในหมู่ศิลปินจำนวนมาก สำหรับพวกเขาจิตรกรรมยังคงห่างไกลจากความตาย การเลือกสื่อเทคนิคแบบนี้ก็คือปฏิกริยาต่อการไหลบ่าของศิลปะประเภทจัดวาง (installation) และศิลปะที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ( interactive art form) พวกเขาพอใจที่จะให้เรื่องราวบนผืนผ้าใบนั้นเป็นเหมือนพื้นที่แห่งการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ผลงานที่ชนะเลิศในงาน Indonesia Art Awards ซึ่งถูกนำมาแสดงในสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาร์กาต้าในปี 1998 นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่องานจิตรกรรม เราจะพบลักษณะแบบนี้ได้ในการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารกรุงเทพ อย่างไรก็ตามแทนที่ผลงานของศิลปินเหล่านี้จะแสดงถึงความสงบเยือกเย็นผ่านเทคนิคอันยอดเยี่ยมนั้น จิตรกรกลับแสดงให้เห็นถึงอาการคลื่นเหียนสังคมและความทุกข์ทรมานของผู้คน ตัวอย่างเช่น ผลงานของเอฟเฟนดิศิลปินอินโดนีเซีย งานของเขามักเกี่ยวข้องกับการที่ผู้อ่อนแอถูกกดดันจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า หรือชาติชาย ปุยเปีย จิตรกรชาวไทย ผู้เป็นที่รู้จักดีในด้านการเขียนภาพเหมือนตัวเองในลักษณะเสียดสีและบิดเบี้ยวเหมือนคนวิกลจริต ส่วน อัลเฟรโด เอสกิลโล ศิลปินจากประเทศ ฟิลิปปินส์นั้นแสดงให้เห็นถึงความลุ่มหลงในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค กระบวนการกลายให้เป็นอเมริกัน และความทุกข์ยากของปัจเจกชนที่ได้รับผลกระทบที่มาในนามของการพัฒนาและความก้าวหน้า

นิทรรศการศิลปะในพื้นที่เฉพาะอย่างเช่น เชียงใหม่จัดวางสังคม เทศกาลงานศิลปะที่บาเกียว และนิทรรศการที่จัดประจำทุกสองปีที่ยอคยากาตาร์ ได้ชักจูงศิลปินให้ตระหนักเรื่องท้องถิ่นนิยมและความดั้งเดิม วิธีการจัดวางและวัสดุท้องถิ่นเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะรูปแบบทางศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองของท้องถิ่น ความสนใจในการใช้วัสดุท้องถิ่น เช่น ไม้ ดินเผา ขี้ผึ้ง และไม้ไผ่ มักจะพบเห็นได้ในงานของ เฮริ ดอโน , ดาดัง คริสตานโต , โมเอลโยโน , เอส . จันทราศรีกรันต์ , ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ และซานติอาโก โบส นอกจากนี้โครงการศิลปะขนาดใหญ่ที่คาดหวังจะเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นและต้องการสร้างสรรค์สันติภาพเกิดขึ้นเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น ในเดือนธันวาคม 1999 ศิลปินชาวบาหลีได้ทำโครงการที่วิอันตา ซึ่ง โครงการ"ศิลปะและสันติภาพ" ได้รวบรวมผู้คนกว่า 2,000 คน ในการรวมพลังต่อต้านความรุนแรงและการกวาดล้างชนพื้นเมือง

เฮลิคอร์ปเตอร์จากทาบานันสู่ซานูได้นำผืนผ้ายาวหลายกิโลเมตรที่เต็มไปด้วยถ้อยคำ บทกวี และภาพเขียน มาทิ้งลงในมหาสมุทร จากนั้นนักเรียนกว่าร้อยคนในชุดขาวได้คลี่ผืนผ้านี้บนชายหาด และมีพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองไฟโดยสมาชิกของฮารี กฤษณะ ซึ่งได้สวดมนต์และอวยพรให้ผู้ที่ได้มาร่วมงานด้วย

การทำโครงการศิลปะในที่สาธารณะกับชุมชนที่วิอันตาอาจนำมาเปรียบเทียบได้กับโครงการศิลปะที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชมโดยศิลปินไทยอย่างสุรสีห์ กุศลวงศ์ และนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ปฏิกริยาจากวิธีการให้ของขวัญแก่ผู้ชมและการสร้างงานศิลปะแบบเจาะจงพื้นที่ (Site-specific work) โดยศิลปินทั้งสองกระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อหน้าที่และจุดหมายของงานศิลปะ พวกเขาเพิ่มเติมความหมายใหม่ให้สิ่งของธรรมดาๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน แนวคิดของนาวินและสุรสีห์จัดอยู่ในบริบทของงานกึ่งคอนเซ็ปท์ชวล ซึ่งตามแนวโน้มกระแสของศิลปะโลกและเป็นแนวคิดที่นิยมความเป็นสากล ในขณะที่โครงการศิลปะสิ่งแวดล้อมที่วิอันตานั้น ตั้งอยู่บนจิตวิญญาณของความเป็นท้องถิ่นและศาสนาฮินดู

ปลายปี 1990 ศิลปะแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ ( performance) และบอดี้อาร์ต ( body art) เริ่มโดดเด่นขึ้นและเป็นที่สนใจของศิลปินในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเขาคาดหวังจะพัฒนางานศิลปะแนวนี้อย่างจริงจัง ศิลปินมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ความวุ่นวายทางการเมือง และกิจกรรมทางสังคมผ่านศิลปะแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ บนเส้นทางการค้นหาและการแสดงความคิดของศิลปินแนวทางนี้ ศิลปะที่จัดขึ้นในที่สาธารณะและเทศกาลศิลปะเพอร์ฟอร์มานซ์ต่างๆ อย่างเช่น โครงการศิลปะห้วยขวางเมกะซิตี้ และเอเชียโทเปียเป็นงานที่มีความสำคัญสำหรับขบวนการศิลปะร่วมสมัยในทิศทางนี้

ศิลปินแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ที่เอาจริงเอาจังอย่าง อมานดา เฮง , ลี เวน , วสันต์ สิทธิเขตต์ , โจเซฟ อึง , มนตรี เติมสมบัติ ควรได้รับการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข กับงานศิลปะเชิงจัดวางและวิดีทัศน์อันน่าตระหนกที่ตัวเธอเองสนทนากับศพนั้นนับเป็นประสบการณ์อันทรมาน ไมเคิล เชาวนาศัย แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นศิลปินที่มีความสามารถในการแสดงเพอร์ฟอร์มานซ์จากผลงานของเขาเมื่อเร็วๆนี้ชื่อ "23.30" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ตัวตน และประเด็นรักร่วมเพศ

ถึงแม้ว่าจะมีศิลปินที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ก็ตาม แต่เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะละเลยเพิกเฉยต่อการไหลบ่าทางวัฒนธรรมที่ทำให้ศิลปิน งานศิลปะ และนิทรรศการศิลปะถูกมองเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

คณะกรรมการทางวัฒนธรรมที่มีอำนาจ ผู้จัดกิจการทางวัฒนธรรม ภัณฑารักษ์ ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโลกศิลปะระดับนานาชาติ ในที่ซึ่งความซับซ้อนในการสร้างคุณค่าสามารถจะเปลี่ยนให้ศิลปินมีชื่อเสียงขึ้นได้ในเพียงชั่วข้ามคืน

ด้วยวงจรหมุนเวียนของนิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติภายในภูมิภาคนี้ เราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการตัดสินของกรรมการทางวัฒนธรรม และการตัดสินรสนิยมทางศิลปะในสถานที่อย่างประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างรสนิยมและมูลค่าของงานศิลปะ ตัวอย่างเช่น การที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจกับโครงการศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เชื่อมโยงกับการสร้างภาพพจน์ที่ดีในการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการท่องเที่ยว การเฝ้ามองสินค้าทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ของชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาไปอย่างมากเป็นเวลานานหลายปีแล้ว แทนที่ภัณฑารักษ์จากประเทศญี่ปุ่นจะคัดเลือกนำเข้างานศิลปะจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้ชมโดยตรง เมื่อเร็วๆนี้กลับมีกระบวนการคัดเลือกและการตัดสินการแลกเปลี่ยนงานศิลปะซึ่งกันและกันอย่างจริงจัง ดังนั้นศิลปินผู้มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่นจึงได้มาปรากฏตัวในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น ยาสุมาสะ โมริมูระ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกได้จัดแสดงนิทรรศการของเขาขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพและในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมกับประเทศภายนอกเอเชียถูกทำให้ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นด้วยแนวความคิดต่างๆที่ได้กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว อาทิ การทำให้เป็นอื่น แนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม และการครองความเป็นเจ้า มันเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและจะต้องพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนในการสร้างความฟู่ฟ่าให้แก่ศิลปะข้ามชาติในรูปของ การแสดงงานศิลปะระดับนานาชาติ งานนิทรรศการศิลปะต่างๆ และมหกรรมแสดงศิลปะโดยตัวแทนศิลปินเพื่อการขาย ความสนใจที่เพิ่มขึ้นต่อศิลปินร่วมสมัยของเอเชียจึงเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับศิลปินจากภูมิภาคนี้ที่จะแสดงความสามารถพิเศษของพวกเขาออกมา

ในบริบทของศิลปะและวัฒนธรรมที่ถูกคิดขึ้นเพื่อรับใช้ความสนใจเฉพาะของผู้จัดงานและประเทศเจ้าภาพนั้น เราควรจะมีสติต่อความปรารถนาของพวกเขาที่จะแสดงการจัดแบ่งชั้นวรรณะทางสิทธิและอำนาจ ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือปกปิดก็ตาม

งาน Asia-Pacific Triennial ที่เมืองบริสเบน คือกรณีที่ศิลปะร่วมสมัยมีดุลยภาพที่ดีกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ในด้านที่เกี่ยวกับการค้า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกับชนพื้นเมือง เหนือสิ่งอื่นใดผู้จัดงานชาวออสเตรเลียและศิลปินจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างรุ่งเรือง เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศเจ้าภาพอย่างญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรือประเทศที่มีดินแดนเล็กกว่าอย่างสิงคโปร์ พวกเขาพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีสิทธิเหนือสินค้าทางวัฒนธรรมเหล่านี้ แต่มองในด้านดีแล้วศิลปินจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีกำไรอย่างมากในการเข้าไปร่วมโครงการทางวัฒนธรรมเหล่านี้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มวิสิทธิ่งอาร์ท ( Visiting Arts) และ กลุ่มอฟาร์ ( AFAA) กลุ่มอเสิฟ (ASEF) ซึ่งจะมีอิทธิพลมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเคลื่อนไหวทางกิจกรรมวัฒนธรรมที่ข้ามไปมาและเครือข่ายทางศิลปะซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างเข้มข้นนี้ มันเป็นแรงจูงใจและแรงปรารถนาโดยธรรมชาติของศิลปินที่จะผลักดันตัวเองเข้าสู่วงจรของเวทีศิลปะโลก แต่ในเวลาเดียวกันพวกเขาควรระลึกอยู่เสมอว่าขบวนการศิลปะนานาชาติในทิศทางใหม่นี้มีแบบแผนที่จำกัด อคติ และมีการแบ่งชั้นวรรณะอยู่ด้วย

ในที่สุดการตอบสนองต่อความเบี่ยงเบนของแบบแผนใหม่นี้ก็จะสะท้อนกลับมาสู่วาทกรรมที่จะตามมา นั่นก็คือความต้องการพื้นที่ที่รวมศูนย์แห่งเอเชีย แต่อย่างน้อยในทศวรรษหน้า การแข่งขันทางความรู้และข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัยจะสร้างความรื่นเริงมีชีวิตชีวาอย่างมหาศาล มันจะเป็นช่วงเวลาแห่งนาฏกรรมของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะทำให้ศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคนี้รุ่งโรจน์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

จักรพันธ์ วิลาสินีกุล : ผู้แปล
แปลจาก: Apinan Poshyananda. "Art of Change." Bangkok Post. 30 January 2000

http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=58

การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

กระบวนการส่งเสริมสันติวิธีในการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นมีดังนี้

การยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยทำให้โลกใบนี้เล็กลง มิติทางวัฒนธรรม เป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม เป็นการเคลื่อนไหวถ่ายเทแลกเปลี่ยนความรู้และวิถีชีวิตระหว่างกันของมวลมนุษยชาติ ปรากฏการณ์ลักษณะดังกล่าวมีมาเนิ่นนานนับสหัสวรรษและยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ในยุคที่การติดต่อสื่อสารสามารถกระทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ดังเช่นทุกวันนี้ผลกระทบทางวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 3 ประการ (อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว . (2547. 6 กรกฎาคม) โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม. มติชนรายวัน . หน้า 7 ) คือ

1.วัฒนธรรมรวมตัว (Cultrual Homogenization) เนื่องจากโลกาภิวัตน์นำมาซึ่ง "มาตรฐาน" การยอมรับในระดับสากล จนเกิดเป็นการบีบบังคับให้เปลี่ยนตามหรือลอกเลียนด้วยความเต็มใจ เมื่อเป็นดังนี้ วัฒนธรรมท้องถิ่นจึงสูญเสียคุณค่าที่เคยมี ทำให้เกิดการแปรสภาพและเปลี่ยนไปตามกระแสความนิยมของโลก เปรียบเสมือนการหลอมละลาย อ่อนไหวไร้จุดยืนไปตามสถานการณ์ผู้สนับสนุนแนวทางดังกล่าวนี้ มีความหวังว่าการยัดเยียดวัฒนธรรมสามารถกระทำได้ ดังเช่น "รัฐนิยม" ซึ่งเคยมีใช้อยู่ในประเทศไทย ด้วยจุดมุ่งหมายให้วัฒนธรรมย่อย ค่อยๆ ลบเลือนหายไป

2.วัฒนธรรมแตกตัว (Cultural Heterogenization) ในกรณีนี้ โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการแปลกแยกระหว่างวัฒนธรรม จนยากเกินกว่าจะรอมชอมกันได้ ต่างฝ่ายต่างรักษาความบริสุทธิ์หรือวัฒนธรรม "พันธุ์แท้" ของตนเอง จนผลที่เกิดตามมาคือการปะทะถึงขั้นแตกหัก

3.วัฒนธรรมลูกผสม (Cultural Hybridization) หรืออีกนัยหนึ่งคือการผสมผสาน จนยากเกินกว่าจะแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ วัฒนธรรมพันธุ์ทางมักเกิดขึ้นเสมอ หากมีการไปมาหาสู่กันรวมทั้งเมื่อติดต่อสื่อสารแบบรอมชอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย จะว่าไปแล้ว วัฒนธรรมของทุกชาติในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นได้ ด้วยการหยิบยืมแลกเปลี่ยนกันไปมาทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่ภายในพวกกันเองก็ระหว่างกลุ่ม เพราะฉะนั้น ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมพันธุ์ทางน่าจะเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติมากที่สุดหากพิจารณาวัฒนธรรมของชนชาติไทยดู ก็จะรู้ว่ามีที่มาจากแอ่งอารยธรรมมากมายหลายแหล่ง อาทิ วัฒนธรรมโบราณของท้องถิ่นตั้งแต่ ขอม มอญ ละว้า มลายู รวมทั้งจากภายนอกภูมิภาค แม้ระยะทางอยู่ห่างไกลออกไป เช่น จีนและอินเดียยุคสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยชาม "สังคโลก" ว่ากันว่าเกิดจากการนำเข้าช่างฝีมือชาวจีน ซึ่งขณะนั้นการค้าระหว่างจีนกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาก จนเป็นช่องทางให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนรวมทั้งการถ่ายทอดทักษะการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์ จนนำรายได้เข้าสู่รัฐไทยอย่างมากมาย ยุคสมัยอยุธยา ขนมไทยแท้แต่โบราณ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน ขนมไข่เต่า ขนมผิง สังขยาและหม้อแกง ฯลฯ ความเป็นจริง กลับมีต้นกำเนิดมาจากสตรีชาวญี่ปุ่นเชื้อสายโปรตุเกสนามว่ามารี กีมาร์ หรือ "ท้าวทองกีบม้า" ผู้นำเข้ามาเผยแพร่ ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยุคสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องแต่งกายชายชุดประจำชาติไทย คือ "ราชปะแตน" เกิดขึ้นมาจากการประยุกต์ชุดต้นแบบของราชา (Raj Pattern) โดยชนชั้นนำไทยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ

จากตัวอย่างทั้งหมดข้างต้น จะเห็นว่าวัฒนธรรมไทยเกิดจากการเรียนรู้เพื่อ "รับ" และ "แลกเปลี่ยน" กับวัฒนธรรมอื่นมาตั้งแต่ครั้งอดีต เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งเคยแปลกปลอมเหล่านั้นก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ดังที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบันในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมของไทยเองก็ได้เคลื่อนย้ายไหลเวียนออกไปสู่ภูมิภาคอื่นด้วย จนเมื่อกลายเป็นความนิยมและเกิดการยอมรับ จึงถูกขนานนามว่ามีที่มาจากเมืองไทย แฝดสยาม (Siamese Twins) กลายเป็นคำที่ใช้เรียกทารกแฝด ซึ่งเกิดมามีร่างกายติดกันตามธรรมชาติ โดยคำดังกล่าวมีที่มาจากฝาแฝด "อิน-จัน" ชาวแม่กลอง สมุทรสงคราม ผู้อพยพไปยังสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็กและต่อมากลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแสดง จนรู้จักกันไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป แมวสยาม (Siamese Cat) เป็นคำเรียกแมวชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ ภายหลังจากกงสุลอังกฤษในไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำแมวไทยกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอนด้วย จากนั้นได้นำออกแสดง ณ คริสตัล พาเลซ ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงและได้รับความนิยมอย่างมากทั่วยุโรป ในปัจจุบัน "อาหารไทย" เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรม ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศไม่เฉพาะแค่ภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ยังกว้างไกลไปถึงทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย รวมทั้งทวีปแอฟริกาด้วย จนรัฐบาลถึงกับประกาศส่งเสริมให้มีร้านอาหารไทย 10,000 แห่ง ในต่างประเทศภายในปี 2551

นอกจากนี้ ยังมีกีฬา "มวยไทย" ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล และอีกหลายประเทศในยุโรป โดยแต่ละปีมีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ติดตามเข้าชมการแข่งขัน รวมทั้งสนใจศึกษาแม่ไม้มวยไทยตามค่ายมวยต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศในยุคที่คนไทยเกือบ 30 ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือในครอบครอง ขณะเดียวกับที่ผู้ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตก็เพิ่มจำนวนเข้าใกล้ 8 ล้านคนเข้าไปทุกที ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่หลายแขนง ย่อมเติมความเข้มข้นให้กับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์มากยิ่งขึ้นท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายนี้เอง โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งความเป็นพันธุ์ทางอันเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เพื่อโน้มนำไปสู่ประชาสังคมโลก (Global Civil Society) พลวัตภายในสังคม จะเป็นตัวกำหนด "วัฒนธรรมลูกผสม" ของแต่ละสังคมนั้นดังนั้น เมื่อการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ของทุกชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุปัจจัยใด การครอบงำ การบังคับให้แต่ละคน แต่ละชุมชนถึงแม้จะอยู่ประเทศเดียวมีวัฒนธรรมเดียวเท่านั้นจึงเป็นเรื่องยากและนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงในที่สุด

ดังนั้นการบริหารจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด การยอมรับความสำคัญของวัฒนธรรมอื่นที่เป็นชนกลุ่มน้อย พร้อมกันนั้นกลุ่มน้อยก็จะต้องยอมรับความสำคัญของวัฒนธรรมของกลุ่มใหญ่เช่นกัน ในขณะเดียวกันชนกลุ่มน้อยก็ต้องยอมรับสภาพของความเป็นจริง การจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับชนกลุ่มใหญ่ เพื่อจะแยกตัวออกไปต่างหากมักไม่เป็นผล ทางออกได้แก่ทั้งสองฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประวัติศาสตร์บ่งว่าการอยู่ด้วยกันอย่างสันติมิใช่สิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อม มันเกิดขึ้นได้หากทั้งสองฝ่าย หันหน้าเข้าหากันด้วยความจริงใจ สิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง เมื่อสองฝ่ายไม่ยอมหันหน้าเข้าหากัน คือการฉวยโอกาสเข้าแทรกแซงของผู้อื่น

การศึกษาเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรม

หลังจากมีการยอมรับสิ่งสำคัญลำดับต่อมาคือการศึกษาเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ความแตกต่างและหลากทางวัฒนธรรมที่อยู่ในแต่ละประเทศต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ต่างกัน นอกจากจะสร้างความรัก ความผูกผัน ทำความรู้จักต่อกันแล้ว ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนักและพัฒนาความเป็น ชาติ ศาสนา ท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งยังสามารถเกิดการพัฒนาในระดับบุคคล คือ การพัฒนา ความรู้ สติปัญญา ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการหล่อหลอมให้เกิดการใช้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อ "เข้าใจผู้อื่น" เข้าใจความเป็นอยู่ของคนในที่ต่างๆ ทั้งที่อยู่ห่างไกลและอยู่ใกล้ชุมชนรอบตัว รวมทั้งรู้ "วิธีการ" ที่เราจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชน ศาสนิกอื่น มีประโยชน์และกำไรสำหรับผู้ที่รู้ เป็นผู้รู้กาละเทศะ การปรับตัวเพื่อการเข้าใจกัน สามารถลดความขัดแย้ง สร้างสันติสุขในการอยูร่วมกัน นอกจากนั้นการรู้วัฒนธรรม ยังทำให้เรารู้อีกว่า อะไรที่ควรทำหรืออะไรที่ไม่ควรทำ เรื่องใดที่เขายึดถือ เคารพ ห้ามละเมิดและยอมได้หรือยอมไม่ได้ ในบางเรื่องผู้ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมจะเป็นคนบอกเองว่า อะไร ที่เป็นข้อผ่อนปรนได้ อะไรที่ผ่อนปรนไม่ได้ อะไรคือเรื่องหลัก อะไรคือเรื่องรอง

การศึกษาเรียนรู้ (โปรดดูโชคชัย วงษ์ตานี.พื้นฐานวัฒนธรรมมุสลิม. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550 จาก http://midnightuniv.org/midnight2545/document95127.html) "วัฒนธรรม" ที่เขาเชื่อ คิด ปฏิบัติ จะทำให้เข้าใจและรู้ว่าควรปฏิบัติต่อคนที่ต่างจากเราอย่างไร ด้วยความต่างทั้งเรื่อง เพศ วัย ครอบครัว การศึกษา ศาสนา ความเชื่อ ต่างถิ่น ต่างชาติ ว่าเรา (ทั้งในฐานะรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ) จะอยู่ร่วมกับเขา หรือสัมพันธ์กับเขา (ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่) ในลักษณะของ การช่วยเหลือ การวางนโยบายทางการปกครอง การส่งเสริมและแก้ปัญหาความยากจน ส่งเสริมการค้าขาย การให้การศึกษา กับเขาได้อย่างไร ในแบบที่เรียกว่า ตรงกับความต้องการ ตรงกับกาลเทศะ และสอดคล้องกับหลักศรัทธาในศาสนาที่เขาเหล่านั้นยึดถือ ปฏิบัติ

ผู้ที่ศึกษาวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชนอื่นอย่างลึกซึ้งแล้ว จะส่งผลทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจต่อกลุ่มชน ของตนเองมากขึ้น เพราะการที่เราจะเข้าใจ "ตัวตน" ของตนเองได้ จะต้องมองผ่านผู้อื่น สะท้อน "ตัวตนของเรา" ให้เรารู้และให้เราเห็น และเมื่อเข้าใจและรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่นแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า เขาเหล่านั้น จะเลือกใช้วัฒนธรรมในฐานะ "กำแพง" ที่ก่อเพื่อปิดกั้นและอยู่เฉพาะกลุ่มชนตนเอง หรือมุ่งที่จะสร้างเป็น "สะพาน" เพื่อที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการแลกเปลี่ยน สังสรรค์ เป็นที่รู้จักและนำสู่การอยู่ร่วมกันในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างสันติ
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=904

Hybrid Melody Mixed เบิร์ด+จิน โดย จิรพรรณ อัญญะโพธิ์

“ถ้า Hybrid หมายถึงการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ เทปชุดรับแขกที่เรากำลังจะคุยกันต่อไปนี้เป็นชุดที่ชัดเจนที่สุด…” คุณบุษบา ดาวเรือง

….แฟนจ๋า ฉันมาแล้วจ้ะ อยู่นี่แล้วน่ะ เขยิบมาใกล้ๆอ่ะ (อาลาวา) แฟนจ๋าเราเป็นเนื้อคู่ รักจริงไม่อู้ โอ้แม่ยอดชู้อ่ะ(ตาลาลา)….

เดิน…อีนางเอ๊ย อีหยังอ้าย เดินมานานคิดถึงก็เลยต้องมา ดูเวลามาหามาเจอสักที รอมานาน จดหมายไม่เคยจะมี รอเป็นปี ไม่ CHAT มาบอกซักคำ…เลย….มาทำไม ไม่รักก็ไม่ต้องมา เป็นอะไร ไม่รัก ก็คงไม่มา….

2 เพลงนี้ธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด) ร้องคู่กับจินตหรา พูนลาภ (จิน) …เชื่อว่าท่านผู้อ่านยังจำท่วงทำนองอันสนุกสนานของเพลงทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูเหมือนจะมีเพลงชุดรับแขกชุดนี้เป็นชุดแรกของวงการเพลงไทย ที่กล้าหาญในการนำซูเปอร์สตาร์เพลงป๊อปอย่างเบิร์ด มาร้องคู่กับราชินีหมอลำสาวจินตหรา และนัท มีเรีย รวมถึงแคทลียา อิงลิช พร้อมสอดแทรกอารมณ์เพลงด้วยเส้นเสียงทางวัฒนธรรมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย มาผสมผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาตรฐานสากลทางดนตรี

“นี่คือส่วนผสมของงานแบบแฟนจ๋า และเพลงอื่นๆในชุดรับแขก เป็นการทดลองจากสิ่งที่เป็นพื้นบ้านแล้วไปเจอกับวัฒนธรรมทางดนตรีอีกมุมหนึ่งของโลก บ่อยครั้งที่เรามักจะบอกว่า คนฟังได้อรรถรสใหม่ๆ เราจะต้องพยายามทดลองการ Hybrid Music แล้วมันก็จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา”

เมื่อรากของ Hip Hop และ Rap คือการเล่นคำแบบสั้น กระชับ ภาษาท้องถิ่นของไทยจากการแสดงลำตัด แหล่ เพลงยาว ฯลฯ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกันในการใช้สำบัดสำนวน เล่นคำ เล่นภาษา เล่นเสียงสั้น ยาว หนัก เบา

ทั้งหมดนี้น่าจะมาเจอกันแล้วไม่ขัดไม่เขิน และแน่นอนกลายเป็นเพลงพันธุ์ใหม่ ขยายฐานกลุ่มคนฟังอย่างกว้างขวาง แทนที่จะมีเพียงกลุ่มเดียว

1st Step Hybrid Music

ความจริงแล้ว Hybrid Music ได้เกิดตลอดเวลา เฉพาะค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่เองเรื่องนี้ได้ทดลองผสมพันธุ์เมื่อครั้งนำเพลง “คู่กัด” ของเบิร์ด มา Arrange เป็นแร็พ รวมถึงเพลงชุดอื่นๆ แต่ผู้ฟังอาจจะไม่รู้สึกสัมผัสถึงเนื้อหนังเช่นชุดรับแขกที่กล่าวมา ซึ่งโดยข้อเท็จจริงการปฏิสนธิทางดนตรีในประเทศไทย เกิดมานานจนกระทั่งต้องย้อนกลับไปสมัยอยุธยา

เริ่มจากลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสเข้ามาในสมัยอยุธยาแล้วได้ยินทำนองเพลงไทยๆ มีความสนใจในเนื้อหาและทำนองเพลง จึงนำไปเขียนเป็นตัวโน้ตสากลและตัวเขาเองก็ร้องเป็นภาษาของเขา ซึ่งการ Hybrid ดนตรีไทยและสากลครั้งแรกน่าจะเริ่มตั้งแต่เวลานั้น จากนั้นผู้ก่อตั้งวงดุริยางทหารเรือไทย เคยเป็นหัวหน้าวงมารีน แบนด์ซึ่งเป็นวงดุริยางค์ทหารเรืออเมริกาเข้ามาในไทยพร้อมกับเรือเทนเนสซี ก็มาเรียบเรียงเสียงประสานเพลงสายสมรใหม่ใช้ชื่อว่าพระนารายณ์

พ.ศ.2395 นายทหารอังกฤษ 2 คนมาอยู่ที่วังหน้าและวังหลวง นำดนตรีสากลมาฝึกทหารแตร โดยใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ซึ่งเป็นเพลงชาติอังกฤษแล้วใส่เนื้อไทยเข้าไป สิ่งที่เกิดหลังจากนี้จะมองเห็นความผสมผสานของแตรวงที่เล่นเพลงไทยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2410 เมื่อพระเจนดุริยางค์เข้ามาเป็นนักดนตรีดุริยางค์กองทัพบก กองดุริยางค์ต่างๆ จะเล่นแตรวง ส่งผลมาถึงวงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2480 เพลงประกอบภาพยนตร์ยุคนั้นจะเป็นเพลงไทยผสมเพลงสากล คนยุคนั้นเรียกเพลงลูกผสมที่มีทำนองเป็นไทยๆ เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลเหล่านี้ว่า "เพลงไทยสากล" เช่น เพลงพรานบูรณ์ กล้วยไม้ลืมดอย

“เพลงไทยสากลยุคแรกมี 3 แบบ 1. สร้างเพลงขึ้นมาใหม่ เป็นกลิ่นของเพลงไทย ใช้เนื้อร้องที่เป็นปัจจุบันในเวลานั้น 2.เป็นทำนองเพลงไทยใส่เนื้อเต็มที่ไม่มีเอื้อน ใช้ชื่อใหม่ เช่น เพลงจูบเย้ยจันทร์ 3.นำทำนองฝรั่งมาใส่เนื้อไทย เช่น เพลงม่านไทรย้อย เพลงซานตาโลเซีย เพลงกรีนสลีฟ” ร.ศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิพลสังคีต มหาวิทยาลัยมหิดล เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้

ในขณะที่วงดนตรีไทยเริ่มมีออร์แกนเข้ามาเป็นส่วนผสมในการสร้างเสียงแห่งความสุข เช่นเครื่องสายไทยผสมออร์แกน เครื่องสายผสมเปียโน หรือแตรวงผสมเปียโน ส่วนแตรวงของฝรั่งก็นำไปใช้กับประเพณีไทยๆ ใช้แห่นาค แห่ศพ ฯลฯ ทั้งหมดนี้กลายเป็นสำเนียงเสียงประสานใหม่ที่ชาวบ้านยุคนั้นคุ้นเคยมากขึ้น และเป็นยุคแรกๆ ของการ Hybrid ทางด้านดนตรี จากนั้นเรื่องราวของการสร้างพันธุ์ใหม่ทางดนตรีก็เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ต่อด้วยความชัดเจนมากที่สุดในวงการเพลงไทยคือ ยุคของครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งวงสุนทราภรณ์ ในการเล่นเพลงไทยด้วยเครื่องดนตรีสากลเต็มรูปแบบ

“วงสุนทราภรณ์ใช้ทำนองเพลงไทย 80% อย่างเพลงกลิ่นดอกโศก มอญรำดาบ ท่าน้ำ ริมฝั่งน้ำ ส่วน
20 % เป็นเพลงสร้างใหม่ ยุคนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่คนไม่รู้สึกอะไรแล้ว รู้แต่ว่ามันทันสมัย เหมือนคนไทยนุ่งผ้าขาวม้าแล้วมาใส่สูท ไม่รู้สึกเคอะเขินเพราะมันผสมผสานระหว่างไทยและสากล จนกลมกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว ยุคครูเอื้อแยกไม่ออกเลย กลายเป้นการยอมรับแนวเพลงแบบนี้พร้อมความทันสมัย” ร.ศ.ดร.สุกรีอธิบายเพิ่มเติม

พร้อมๆ กับความโด่งดังของครูเอื้อในเวลานั้น จะมีเพลงอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรียกกันว่าเพลงลูกกรุงที่ร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง หรือ สวลี ผกาพันธุ์ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ของตัวโน้ตที่นักแต่งเพลงเป็นผู้กลั่นกรองและถ่ายทอดตามวิธีการแบบตะวันตกที่ได้รับความนิยมขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีเพลงที่คงเหลือทำนองเพลงไทยอยู่บ้างคือ เพลงจูบเย้ยจันทร์ ผลงานครูสมาน กาญจนผลิน

จุดเปลี่ยนของเพลงไทยมาในปี พ.ศ.2515 เป็นยุคเพลงฝรั่งเข้ามาได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นช่วงทหารอเมริกัน หรือเหล่าทหารจีไอ.มารบสงครามเวียดนาม วงดนตรีเมืองไทยขณะนั้น หรือเรียกให้ทันยุคสมัยก็ต้องเรียกว่า สตริง คอมโบ เล่นเฉพาะเพลงฝรั่งเพื่อเอาใจผู้บริโภค ถึงปี พ.ศ.2524 ฝรั่งกลับประเทศ วงสตริง คอมโบเล่นเฉพาะเพลงฝรั่งก็ไม่มีใครฟัง หรือนำทำนองเพลงฝรั่งมาใส่เนื้อไทยก็ไม่มีใครฟัง แต่หากจะฟังเพลงลูกกรุง ลูกทุ่ง ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถสนองตอบความต้องการฟังเพลงสไตล์อื่นในอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง จึงเกิดการ Hybrid ทางดนตรีที่เห็นภาพอย่างชัดเจน ณ ห้วงเวลานั้น เมื่อมีการนำเพลงลูกทุ่งมาผสมสายพันธุ์ลีลาดนตรีฝรั่ง เกิดวงประเภทลูกทุ่งดิสโก้ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากกลุ่มวัยรุ่นในเมืองและต่างจังหวัด

จนกระทั่งเวลาใกล้เคียงกันมากประมาณปี พ.ศ.2526 บจ.แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ ก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับแนวเพลง POP นับจากนั้นเป็นต้นมา การผสมพันธ์ทางดนตรีไทยและต่างประเทศก็มีความกลมกลืนมากกว่าทุกยุคที่กล่าว อีกทั้งเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง 100%

ไม่ว่าจะเป็นการ Hybrid เพลงในประเทศหรือระดับโลกก็ตาม ล้วนแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา ณ ขณะนั้น สำหรับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ อาจจะได้เปรียบค่ายเพลงอื่นๆ เพราะเป็นต้นน้ำที่แท้จริงของวงการเพลง ในการรวบรวมนักร้องทุกประเภท นักคิดเพลงทุกสาขา ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้งานเพลงประเภท Hybrid ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอื่น ที่แต่เดิมมิเคยเป็นแฟนเพลงของนักร้องคนนี้มาก่อนเลย

http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=2381&ModuleID=21&GroupID=840

วันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วัฒนธรรมพันทางของภาพยนตร์ร่วมสมัย




















หายไปนานกลับมาพร้อมกับการผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกปรัชญา(วัฒนธรรมศาสตร์) ไปเรียบร้อยพร้อมกับหัวข้อเรื่อง วัฒนธรรมพันทางของภาพยนตร์ร่วมสมัย: การวิเคราะห์สัมพันธบทและแนวทางการพัฒนาภาพยนตร์หลังสมัยใหม่ของศิลปปินศิลปาธร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจึงจัดสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่focus group แล้วสรุปด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ workshop หลังจากนั้นจึงนำข้อเสนอทั้งหมดที่ได้จากการระดมสมองมาสรุปเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาพยนตร์ร่วมสมัยโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในเบื้องต้นประกอบไปด้วย

กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก นักวิชาการภาพยนตร์ 7 คน นักวิชาการหลังสมัยใหม่ 4 คน นักวิชาการวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมศึกษา 5 คน
กลุ่มผู้ปฏิบัติ ผู้กำกับภาพยนตร์ 7 คน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ 5 คน ผู้สร้างภาพยนตร์ 4 คน
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปนักศึกษาภาพยนตร์ 35 คน ผู้ชมภาพยนตร์ 35 คน

เพื่อทบทวนแนวคิดวัฒนธรรมพันทาง วัฒนธรรมลูกผสม Hybrid Culture พร้อมกับนิยามของภาพยนตร์ร่วมสมัย ภาพยนตร์หลังสมัยใหม่ ภายใต้การควบคุมดูแลของ ผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร อ.ดร กล้า สมตระกูล รศ.ดร.ชำนาญ รอดเหตุภัย อ.ดร.ยิ่ง กิรติบูรณะ ขอขอบพระคุณกรรมการสอบทุกท่านเป็นอย่างสูง

หลังจากนั้นได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติร่วมกับมศว. กระเทาะเปลือกวัฒนธรรม ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ได้กล่าวถึงคำจุดประเด็นในที่ประชุม ถึงวัฒนธรรมลูกผสมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาพยนตร์ร่วมสมัย อาทิ ภาพยนตร์เกาหลีซึ่งเปิดไว้อย่างน่าสนใจอีกเช่นกัน

ฐิรวุฒิ เสนาคำ

Debating Cultural Hybridity: Multi-Cultural Identities and the Politics of Anti-Racism. Edited by Pnina Werbner and Tariq Madood. London and New Jersey: ZED Books, 2000. 296 + vii Pages. Pb. 750 Bath

การผสมผสานทางวัฒนธรรม (cultural hybridity) เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจค่อนข้างสูงจากแวดวงวิชาการ ต่างประเทศในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี Robert E. Young กล่าว ไว้ในหนังสือเรื่อง Postcolonial Desire (1995) ว่าวิวาทะ ในเรื่องดังกล่าวมิใช่ของใหม่ หากแต่เป็นการนำเอาเรื่องเก่า มาพูดใหม่ การโต้เถียงในเรื่องนี้ดำเนินไปอย่างดุเดือด เผ็ดร้อนในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่ง โรจน์ของลัทธิล่าอาณานิคมและ จักรวรรดินิยม โดย Young มอง ว่าลัทธิดังกล่าวมิได้เป็นแค่เพียง การขยายแสนยานุภาพทางทหาร และเทคโนโลยีของตะวันตกสู่ ประเทศที่มิใช่ตะวันตกเท่านั้น หากแต่รวมถึงการนำความใคร่ (desire) เพศ (gender ปกติหรือ โดยส่วนใหญ่คือเพศชาย) และ เพศสัมพันธ์ (sexuality) ของ ตะวันตกสู่ประเทศหรือสังคมนอก ตะวันตก การนำความใคร่ เพศ และเพศสัมพันธ์เข้าไปได้ก่อให้ เกิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่ที่มิใช่ทั้ง คนตะวันตกและคนนอกตะวันตก แต่คือลูกผสมที่มีลักษณะของการ ผสมผสานทาง เชื้อชาติ (racial hybridity) ตามความเห็นของ Young การผสมทางเชื้อชาติได้ นำมาซึ่งการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างไม่อาจจะหลีก เลี่ยงได้ Marry Louise Pratt (1992) กล่าวในทำนองเดียวกัน ว่าการล่าอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ได้ก่อให้เกิด “contact zones” หรือ ปริมณฑลของการปะทะหรือเผชิญ หน้าทางด้านเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรม ผลที่ตามมา ประการหนึ่งก็คือ การเกิดลูกผสม (ทางเชื้อชาติ สังคม และ วัฒนธรรม) การเกิดลูกผสมได้ตั้งคำถามให้กับคนในยุคนั้น ว่าลูกผสมเป็นใคร เป็นตะวันตกหรือไม่ตะวัน มีคุณสมบัติ ที่ทรงคุณค่าหรือด้อยกว่าคนตะวันตก คำถามดังกล่าวก็คือ คำถามที่จุดชนวนการโต้เถียงในเรื่องการผสมผสานทาง วัฒนธรรมนั้นเอง

กระบวนการล่าอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ได้ เกิดขึ้นเคียงคู่กันไปกับการเติบโตของเมืองสมัยใหม่ การเติบโตของเมืองสมัยใหม่ก่อให้เกิดกระแสการอพยพ ของคนชนบทเข้าสู่ตัวเมือง คนชนบทที่อพยพเข้าสู่ตัวเมืองนี้ Robert E. Park เจ้าสำนักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก เรียกว่า “คนชายขอบ” (marginal man) คนชายขอบนี้มิได้ เดินทางเข้าตัวเมืองเพียงร่างกายและกระเป๋าเดินทาง หากแต่ พกพาความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเข้าไปด้วย เมื่อก้าวเข้าประตูเมือง คนชายขอบต้องเผชิญกับสถานที่ ใหม่และวัฒนธรรมใหม่ คนชายขอบจึงเป็นคนนำต่าง วัฒนธรรมเข้าประทะ ภาวะที่จะทิ้งวัฒนธรรมเดิมทั้งหมดก็ ไม่ได้ ปฎิเสธวัฒนธรรมใหม่ทั้งหมดก็ไม่ได้นี้ทำให้คนชายขอบ ต้องอยู่บริเวณชายขอบของทั้ง 2 วัฒนธรรม วัฒนธรรมที่คน ชายขอบยึดถือจึงกลายเป็นวัฒน ธรรมหัวมงกุฎท้ายมังกรหรือวัฒน ธรรมผสมอย่างช่วยไม่ได้ Park เอง ก็สรุปไว้ชัดว่า การผสมผสานทาง วัฒนธรรม คือธรรมชาติของคน ชายขอบ (“cultural hybridity” is “marginal man’s” nature) อย่างไรก็ตาม วิวาทะเรื่องการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมมีฐาน คิดทอดมาจากนักคิดคนสำคัญ ร่วมสมัย 3 ท่าน คือ Mikhail M. Bakhtin, Homi K. Bhabha และ Nestor Garcia Canclini

Mikhail Bakhtin เป็นนัก ปรัชญา/วรรณคดี/ภาษาศาสตร์ ชาวรัสเชียเติบโตทางความคิดใน ยุคที่สตาลินเรือง อำนาจ Bakhtin มีงานเขียนที่ก่อผลสะเทือนต่อวง วิชาการสาขาต่างๆ หลากหลาย เล่ม เช่น Marxism and the Philosophy of Language (1986), Rabelais and His World (1984a), The Dialogic Imagination (1981), และ Problems of Dostoevsky’s Poetics (1984b) เป็นต้น แนวคิด เรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมของ Bakhtin พัฒนาจาก การผสมผสานทางภาษา สู่การผสมผสานของรูปแบบวรรณ ศิลป์และการผสมผสานทางวัฒนธรรม ต่างจากนักคิดร่วม สมัยของเขาหรือนักคิดก่อนหน้านั้น คือ Bakhtin มองว่า ภาษามิใช่สื่อที่เป็นกลาง ที่ส่งผ่านความหมายจากผู้ส่งถึง ผู้รับอย่างไม่บิดเบี้ยว ความหมายของภาษามิได้เกิดจาก การเข้าโครงสร้างหรือไวยากรณ์ที่ถูกต้อง หากแต่เกิดจากการ dialogue ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ระหว่างตัว text กับผู้อ่าน ภายใต้บริบททางสังคมของการอ่านและการฟัง ภาษาจึงมี มิติทางอุดมการณ์และสังคม Bakhtin มองว่า แม้แต่การพูด ออกมาคำเดียวโดด ๆ ก็มีมิติทางอุดมการณ์และสังคม และ เป็นการผสมผสานของภาษาที่เกิดจากการปะทะแย่งชิงของ สกุลและสำนึกทางภาษาที่แตกต่างกัน โดย Bakhtin ให้ ความหมายของการผสมผสานทางภาษาไว้ว่า “ a mixture of two social languages within the limits of a single utterance, an encounter, within the arena of an utterance, between two different linguistic consciousnesses, separated from one another by an epoch, by social differentiation or by some other factor (1981: 358).

แนวคิดเรื่อง การผสมผสานของรูปแบบวรรณศิลป์ ปราฏในงานเขียน 2 ชิ้น คือ The Dialogic Imagination, และ Problems of Dostoevsky’s Poetics หนังสือทั้งสองเล่มพูด ถึงการเกิดและรูปแบบทางวรรณศิลป์ของนวนิยาย โดย Bakhtin มองว่า นวนิยายเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่มีความ หลากหลาย (heteroglossia) ทางสังคมและวัฒนธรรม นวนิยายจึงเป็นวรรณศิลป์ที่สะท้อนความหลากหลายของเสียง (polyphony) ที่ตัดอำนาจเชิงคำสั่งของผู้เขียนออกไป และให้ ตัวละครเล่มเรื่องหรือสะท้อนเสียงของตนเอง ดังเห็นได้ชัด ในนวนิยายของ Dostoecsky หลายเรื่อง ลักษณะเด่นของ นวนิยายก็คือลักษณะการผสมของหลายหลายรูปแบบ วรรณศิลป์ ภาษาและชนชั้นของตัวละคร เช่น ใบบอก จดหมายรัก ความเรียง บทสนทนา ภาษาชนชั้นสูง ภาษาตลาด เป็นต้น

ส่วนแนวคิดเรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้น สะท้อนชัดในงานเขียนเรื่อง Rabelais and His World โดย Bakhtin มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมพบทั่วไปใน วัฒนธรรมของชนชั้นล่าง (ยกตัวอย่างนอกบริบทของงานของ Bakhtin ก็คือ วัฒนธรรมชาวบ้านของไทยเป็นวัฒนธรรมผสม คือ ผี+พุทธ+พราหมณ์) และแสดงออกอย่างชัดเจนในงาน เทศกาลรื่นเริง (carnival) ต่าง ๆ (ดูสารทเดือนสิบของนคร ก็จะพบทั้งวัฒนธรรมของราชกาลและวัฒนธรรมของชาว บ้านผสมผสานกันอยู่)

Homi K. Bhabha เกิดในอินเดีย แต่สอนหนังสือ ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นนักทฤษฎีสำนักหลังอาณา นิคม (postcolonial theorist) มีงานเขียนงานบรรณาธิการ หลายเล่ม งานชิ้นเอกของเขาคือ The Location of Culture (1984) อย่างไรก็ดี Bhabha กล่าวถึงการผสมผสานทาง วัฒนธรรมไว้ในบทความขนาดสั้น 2 ชิ้น คือ “Signs Taken for Wonders: Questions of Ambivalence and Authority under a Tree outside Delhi, May 1817” (1985) และ “Cultures in Between” (1993) ซึ่งเป็นงานที่กล่าวถึงวาทกรรม ของลัทธิอาณานิคม (colonial discourse) Bhabha มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultures in Between) หรือการผสมผสานด้านอื่นๆ เป็นผลลัพธ์ของลัทธิอาณานิคม และเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างอำนาจที่ ไม่เท่าเทียม ลักษณะสำคัญของลูกผสมหรือการผสมผสาน ก็คือ ความกำกวม (ambivalence) และทำนายไม่ได้ การผสม ผสานจึงเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางวัฒนธรรมและอำนาจ อาณานิคมที่ครอบงำ การผสมผสานโดยตัวของมันเองก็คือ การต่อต้านวาทกรรมและอำนาจแห่งการแยกขั้วแบบตัวฉัน (self) กับคนอื่น (others) และต่อต้านแนวคิดเรื่องชาติ กำเนิดและอัตลักษณ์บริสุทธิ์ (ไทยแท้ๆ)

Nestor Garcia Canclini เกิดที่อาเจนตินา แต่ทำงาน ด้านมานุษยวิทยาที่เม็กซิโก งานเขียนที่สำคัญของเขา 2 ชิ้น คือ Transforming Modernity: Popular Cultures in Mexico (1993) และ Hybrid Cultures: Strategies for Entering and Leaving Modernity (1995) โดยเฉพาะงานชิ้นหลังเป็นงาน ที่ไดัรับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงวิชาการด้าน วัฒนธรรมศึกษา อย่างไรก็ดี งานของ Garcia Canclini นี้ ถูกสร้างขึ้นบนบริบทของทุนทางวัฒนธรรมด้านวัฒนธรรม ผสมที่มั่งคั่ง กล่าวคือ ดินแดนลาตินอเมริกานั้นเป็นแหล่งรวม ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการถกเถียงเรื่องการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมมาค่อนข้างยาวนาน โดยนักคิด นักเขียนเด่น ๆ เช่น Antonio Cornejo Polar, Jean Franco, Carlos Monsivais, Angel Roma และ Fernarndo Ortiz เป็นต้น อย่างไรก็ดี การถกเถียงดังกล่าวเป็นการถกเถียงเรื่องการผสม ผสานทางวัฒนธรรมภายใต้มโนทัศน์ (concepts) ต่างๆ เช่น mestizaje, creolization, transculturation, bicolage, anthropophagy และ syncretism คำเหล่านี้มีความหมายใกล้เคียง กับการผสมผสานทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม Garcia Canclini เลือกใช้ cultural hybridity หรือ hybrid cultures เพราะ เห็นว่ามีความหมายที่กว้างกว่าคำอื่น เช่น mestizaje ที่มี ความหมายแคบคือ หมายถึงการผสมผสานทางเชื้อชาติ และ syncretism ที่หมายถึงการผสมผสานของแนวคิดทางศาสนา Garcia Canclini มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็น วิถีทางที่รูปแบบทางวัฒนธรรมเฉพาะอันหนึ่งแยกตัวออกจาก ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่แล้วหลอมรวมใหม่เพื่อให้ เกิดรูปแบบและปฏิบัติการทางวัฒนธรรมใหม่

Garcia Canclini มองว่า การผสมผสานทางวัฒน ธรรมในลาตินอเมริกาในปัจจุบันเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ การหมุนเวียนการผลิตและการบริโภคสินค้าเชิงสัญลักษณ์ (symbolic commodities) แบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้ตรรกะ ของตลาดทุนนิยมยุคโลกานุวัฒน์ทางเศรษฐกิจ และ Garcia Canclini ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปรากฏการณ์การอพยพ ของคนชนบทเข้าสู่เมืองและการเข้าร่วมของเศรษฐกิจชนบท ในรูปของ craftsmanship ในตลาดที่ไม่เป็นทางการ (informal market) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างจากมาร์ก-ซีสต์ดั้งเดิม (classical Marxists) ที่มองว่าระบบทุนนิยมจะ ทำลายระบบเศรษฐกิจอื่น คือ Garcia Canclini มองว่าการ ปะทะหรือการเข้าร่วมของเศรษฐกิจชนบทในตลาดที่ไม่ เป็นทางการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมิได้นำมาซึ่ง การตายไปของเศรษฐกิจชนบท ตรงกันข้ามการเข้าร่วมเป็น การสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจชนบท ผนวกตัวเข้ากับระบบ ตลาดสมัยใหม่ Garcia Canclini เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า cultural reconversion ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่วัฒนธรรม ดั้งเดิมแสดงตัวตนอีกครั้งในรูปแบบใหม่ภายใต้บริบทของ การดำรงอยู่พร้อมกันของระบบสัญลักษณ์ที่หลากหลาย กล่าว อีกนัย ก็คือ Garcia Canclini มองว่าการปะทะระหว่าง วัฒนธรรมดั้งเดิมหรือวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรม สมัยใหม่หรือวิถีการผลิตสมัยใหม่มิได้นำมาซึ่งการสูญไป ของวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม ในทางตรงข้าม ระบบการผลิตและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมสามารถปรับเปลี่ยน ปรับตัวและผนวกกับวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตสมัยใหม่ ก่อรูปเป็นวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตใหม่กลายเป็นวัฒนธรรม ผสมหริอระบบการผลิตที่ผสามผสานกันได้อย่างหลากหลาย

ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า วิวาทะเรื่องการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมมิใช่เรื่องใหม่ แต่การนำมาเล่าใหม่นี้เล่าภาย ใต้สถานการณ์ที่ต่างจากศตวรรษที่ 18 – 19 เพราะในยุค ปัจจุบันเป็นยุคที่นักวิชาการจำนวนหนึ่งเรียกว่ายุคโลกาภิวัติ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไหลเวียนเคลื่อนย้ายมิติทางวัฒนธรรม ด้านต่าง เช่น

1.มิติทางชาติพันธุ์ (ethnoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของผู้คนไปทั่วโลก เช่น นักท่องเที่ยว แรง งานข้ามชาติ ผู้อพยพ ผู้ร้ายข้ามแดน นักธุรกิจ นักเรียน นักวิชาการ เป็นต้น
2.มิติทางเทคโนโลยี (technoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของเครื่องจักรกล โรงงาน บริษัท สินค้า บริการ เป็นต้น
3.มิติทางการเงิน (finanscapes) หรือการไหลเวียน เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของเงินตรา ตลาดหุ้น การลงทุน ข้ามชาติ เป็นต้น
4.มิติทางสื่อสารมวลชนและข่าวสารข้อมูล (mediascapes) หรือการไหลเวียนเคลื่อนย้ายของข่าวสาร ข้อมูล และภาพลักษณ์ต่างๆ ไปทั่วโลก
5.มิติทางอุดมการณ์ (ideoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของอุดมการณ์ แนวคิด ทฤษฎีจากที่หนึ่ง ไปยังที่หนึ่งของโลกอย่างรวดเร็ว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Appadurai 1990)

การไหลเวียนเคลื่อนย้ายดังกล่าวมิได้ก่อให้เกิดความ เหมือนหรือคล้ายคลึงกันของวัฒนธรรมในทุกมุมของโลก หากแต่ก่อให้เกิดความหลากหลายและการผสมผสานของ วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ด้านต่างที่แนวคิดทางสังคมศาสตร์ เดิมไม่อาจอธิบายได้ เหตุนี้จึงส่งผลให้มีการนำแนวคิดเรื่อง การผสมผสานทางวัฒนธรรมกลับมาพูดใหม่อีกครั้ง Debating Cultural Hybridity เป็นหนึ่งในอีกหนังสือและวารสารหลายเล่ม ที่ร่วมในการถกเถียงเรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมเชื้อชาติ และอัตลักษณ์ด้านต่างๆ พร้อมกับประเมินข้อเด่นและข้อจำกัด ของแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม แง่มุมที่ หนังสือเล่มนี้ต่างจากเล่มอื่น ก็คือ การเพิ่มมิติเรื่อง gender เข้าไปในการศึกษาหรือถกเถียงเรื่องอัตลักษณ์หรือความหลาก หลายทางวัฒนธรรม หนังสือประกอบด้วยบทความ 14บท เขียนโดยนักวิชาการชั้นนำอย่าง Zygmunt Bauman, Alberto Melucci, Jonathan Friedman, Peter van der Veer Nina และ Yuval-Davis เป็นต้น

http://board.dserver.org/w/worldcommune/00000060


















ในทางวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินการดังกล่าวเป็นสร้างทางรอดให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านการ Hybrid Culture เพื่อต่อยอดความนิยมไปยัง Traditional Culture ซึ่งหากมีผู้จัดการด้านวัฒนธรรมที่ดีจะตัองเข้าใจกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท่ามกลาง Globalization โดยการจัดระดับวัฒนธรรมของชาติใหม่ เพื่อป้องกันวัฒนธรรมดั้งเดิม สูญหายไปจากการกลืนของวัฒนธรรมที่เหนือกว่า

การจัดระดับวัฒนธรรมของชาติ เริ่มต้นด้วย Purely Original Culture จะต้องยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมชั้นสูง ซึ่งใครที่มีความสามารถในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้น คือเป็นผู้ที่จะต้องได้รับการยกย่องระดับชาติ และที่สำคัญบุคคลนั้นจะต้องมีการรับรู้ในทุกกลุ่มของสังคม สำหรับวัฒนธรรมชั้นสูงที่เกิดขึ้นและมีมูลค่าที่สามารถเข้าถึงจิตใจของคนทั่วไป ได้แก่ วัฒนธรรมการดื่มไวน์ของชาวฝรั่งเศส วัฒนธรรมการดื่มชาตอนบ่ายของอังกฤษ การแต่งกายชุดประจำชาติในงานพิธีสำคัญของชาวญี่ปุ่น

ระดับถัดมาเป็น Hybrid Culture ซึ่งเป็นผลพวงของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากล เพื่อป้องกันการอยู่รอดของวัฒนธรรมหลัก แต่จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการส่งต่อรสนิยมการเสพวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมชั้นสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นไม่รู้สึกเขินอายเมื่อสวมชุดกิโมโนหรือยูกะตะ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เทศกาลสำคัญๆ

อีกระดับคือ Pop Culture หรือ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแล้วหายไปในเวลาที่ไม่นานนัก และส่วนมากจะไม่ยั่งยืน เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมดังเดิม แต่ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรมของไทย กลับเห็นวัฒนธรรมในลักษณะนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมหลักของสังคม ออกมาประนามสิ่งที่วัยรุ่นทำ โดยไม่มีการหันมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจากตั้นตอสู่ผลที่เกิดขึ้น (Cause and Effect) หากว่าทำความเข้าใจแล้ว จะทำให้รู้ถึงวิธีการที่จะเข้าถึงวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวและการนำเอารูปแบบ Hybrid Culture ไปเป็นจุดเชื่อมเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นได้ โดยไม่ต้องออกมาต่อว่าต่อขานว่าเป็นเด็กสายเดี่ยว เด็กแก่แดด เด็กใจแตกบ้าง

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66916

Hybrid cultures: strategies for entering and leaving modernity โดย Néstor García Canclini,Christopher L. Chiappari

When it was originally published, Hybrid Cultures was foundational to Latin American cultural studies. This now-classic work features a new introduction in which Nestor Garcia Canclini calls for a cultural politics to contain the damaging effects of globalization and responds to relevant theoretical developments over the past decade. Garcia Canclini questions whether Latin America can compete in a global marketplace without losing its cultural identity. He moves with ease from the ideas of Gramsci and Foucault to economic analysis, from appraisals of the exchanges between Octavio Paz and Jorge Luis Borges to Chicano film and grafitti. Hybrid Cultures at once clarifies the development of democratic institutions in Latin America and reveals that the most destructive ideological trends are still going strong.

http://books.google.com/books?id=boYXpxO6qNAC&printsec=frontcover&dq=hybrid+culture+postmodern+film&lr=&ei=39hWS5e6GoTUlQS_iuSMDQ&hl=th&cd=8#v=onepage&q=&f=false