หลอน รัก สับสน ในหนังไทย : ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547) / กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน / สำนักพิมพ์ศยาม, พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2552]
งานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยโดยเฉพาะในสายบันเทิงที่อยู่ในกระแสนิยมของสังคมมีไม่มากนัก ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญสาขาหนึ่งในปัจจุบัน จะมีบ้างก็มักจะเป็นการศึกษาย้อนหลังในเชิงประวัติความเป็นมา เมื่อไม่มีการศึกษาอย่างเพียงพอก็จะขาดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาเนื้องานในสายวิชาชีพนั้นๆ ก็จะไม่มีพื้นฐานที่กว้างขวางหยั่งลึกรองรับ ต้องใช้วิธีคาดเดา ลอกเลียน หรือเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อยู่เสมอ
หนังสือวิชาการชื่อยาวๆ “หลอน รัก สับสน ในหนังไทย : ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547) กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่” ของ กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน เป็นผลผลิตจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นการศึกษาภาพยนตร์ แต่ก็ต้องไปอิงอยู่กับโครงการวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรม เพราะในที่นี้หนังก็เป็นเรื่องเล่าประเภทหนึ่ง
ทางผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาในสาย “วัฒนธรรมศึกษา” (Cultural Studies) ซึ่งสนใจมิติในเชิงความหมายที่ประกอบสร้างขึ้นมาในสื่อนั้นๆ จะต่างจากการศึกษาในเชิงคุณค่าทางสุนทรียะหรือคุณค่าทางสังคม ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่หนังที่มีความดีเด่นในด้านศิลปะภาพยนตร์ หรือมีเนื้อหาสะท้อนสภาพสังคม ขณะที่หนังซึ่งให้ความบันเทิงและอยู่ในความนิยมของคนส่วนใหญ่มักจะถูกมองข้าม และไม่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา แต่การวิจัยในสายนี้จะสนใจโครงสร้างความคิดที่แฝงอยู่ในหนังทุกประเภท เพราะแต่ละโครงสร้างล้วนสะท้อนความเป็นจริงในสังคมเช่นกัน
งานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาหนังใน 3 ตระกูลที่แตกต่างกัน คือ หนังผี หนังรัก และหนังแนว เพื่อแสดงให้เห็นโดรงสร้างความหมายที่ประกอบสร้างขึ้นมาในหนังแต่ละประเภท อันสะท้อนความเป็นไปของสังคมอีกชั้นหนึ่ง “หนังแนว” หรือ “หนังทางเลือก” หรือ “หนังยุคหลังสมัยใหม่” อาจเป็นที่สนใจของนักวิจารณ์ นักวิชาการ ตลอดจนได้รางวัลในระดับโลกบ้าง เพราะยังถือความก้าวหน้าในศิลปะภาพยนตร์เป็นสำคัญ แต่หนังผีและหนังรักอาจจะมีการประเมินค่าน้อย และเห็นเป็นแค่ความบันเทิงในเชิงพาณิชย์ศิลป์เท่านั้น แต่การวิจัยในแนวทางนี้กลับมองเห็นคุณค่าของความหมายทางวัฒนธรรม โดยเบื้องต้นเห็นว่า “หนังผีเป็นตัวแทนของอดีต หนังรักเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตปัจจุบัน และหนังยุคหลังสมัยใหม่เป็นตัวแทนของยุคหลังสมัยใหม่”
หนังที่ผู้วิจัยเลือกมาอยู่ใน 3 ทศวรรษ คือระหว่างทศวรรษ 2520-40 และยังสะท้อนถ่ายให้เห็นสภาพแวดล้อมของสังคมไทยในแต่ละช่วงเวลาด้วย ซึ่งหนังก็พัฒนาไปอย่างสอดคล้องกับสังคม ทั้งเฟื่องฟูและฟุบแฟบตามสภาพเศรษฐกิจ และแปรเปลี่ยนตามลักษณะการบริโภคสื่อ เนื้อหาจะออกไปทางฟุ้งฝันหลีกหนีความจริง หรือสะท้อนปัญหา ล้วนเกี่ยวเนื่องกับการเมืองและความขัดแย้งในสังคม
ทางผู้วิจัยชี้แจงว่า การศึกษาตามตระกูลของหนัง (genre) น่าจะเหมาะกับหนังไทย เพราะหนังไทยมีเป้าหมายทางการตลาดมากกว่าการแสดงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สร้างงาน เพราะฉะนั้นแนวทางการศึกษาผลงานโดยรวมของผู้สร้างงาน (Auteur theory) จึงอาจจะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ก็ยังทำให้มองข้ามความสำคัญของผู้ชมและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบด้วย ซึ่งมีส่วนไม่น้อยในการกำหนดทิศทางของหนัง
อย่างเช่นลักษณะของหนังไทยในยุคแรก ยังมีร่องรอยของมหรสพการแสดงที่คนไทยคุ้นเคยอยู่มาก ความไม่สมจริงที่ปรากฏเป็นเพราะคนไทยแต่เก่าก่อนแยกโลกของการแสดงออกจากโลกของความเป็นจริง พระเอกและนางเอกจึงต้องดูดีโดดเด่นอยู่เสมอ เหมือนโขนละครหรือลิเก เพราะที่เห็นนั้นเป็นภาพแทนของความดีงามผ่องพิสุทธิ์ที่อยู่ภายในตน ต่อเมื่อสังคมเริ่มก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ที่ต้องการเหตุผลเป็นบรรทัดฐาน หนังไทยก็ต้องมีความสมจริงมากขึ้น ตามค่านิยมความเชื่อที่เปลี่ยนไป
สายตาดังกล่าวเมื่อมามองหนังผีไทยก็จะสังเกตเห็นคุณค่าที่ไม่มีในที่อื่นว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับ ‘หนังผีเทศ’ ที่มักเน้นไปที่ความสยองขวัญและมีรูปลักษณ์ที่จำกัดไม่กี่ประเภท แต่ ‘หนังผีไทย’ กลับเป็นศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นจากคลังของทุนวัฒนธรรมความเชื่อที่ตกผลึกผ่านกาลเวลามาช้านาน” (หน้า 57)
แต่ความนิยมของหนังผีในสังคมสมัยใหม่ของไทยก็บ่งบอกถึงสภาพความเป็นไปบางด้านเช่นกัน “ความเจริญงอกงามของผีตั้งแต่ในทศวรรษที่ 2530 อาจแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์การที่สังคมไทยกำลังเดินทางไปสู่สังคมแบบทันสมัยก้าวหน้า แต่เต็มไปด้วยความไม่เชื่อมั่น ไม่มั่นใจ ไม่มั่นคง” (หน้า 114)
เช่นเดียวกับหนังรักที่สะท้อนความรู้สึกของผู้คนในสังคมทุนนิยม ขณะที่ระบบเศรษฐกิจทำให้มนุษย์กลายเป็นเพียงเครื่องจักรที่แปลกแยกกับตัวเองและคนอื่น ความรู้สึกถวิลหาความรักอันเป็นตัวแทนของความสุขนิรันดรกลายเป็นสินค้าขายดีในสื่อแทบทุกประเภท ความรักที่ปรากฏในภาพยนตร์จึงเป็นทั้งการหลีกหนีและการขบถต่อชีวิตประจำวันอันจำเจ ทางผู้วิจัยแยกแยะความรักในหนังแต่ละช่วงเวลาไว้ว่า “ยุคแรก หนังรักกับครอบครัว ยุคที่สอง หนังรักในสังคมทันสมัย และยุคที่สาม หนังรักกับการโหยหาอดีตในภาวะหลังเศรษฐกิจล่มสลาย” (หน้า 142)
พอเข้าสู่ทศวรรษ 2540 หลังการพลิกกลับของภาวะ “หนังไทยตายแล้ว” อันเป็นผลจากการเสื่อมถอยของอุตสาหกรรมในระบบเก่า และการปรับเปลี่ยนเพื่อแสวงหาช่องทางตลาด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือมีคนทำหนังคลื่นลูกใหม่มาถึงพร้อมกับความแตกต่างหลากหลาย แปลกประหลาดซับซ้อนไปจนถึงสับสนวนเวียน เช่น หนังของ นนทรีย์ นิมิบุตร, เป็นเอก รัตนเรือง, วิสิษฐ์ ศาสนเที่ยง, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ฯลฯ
จากโครงเรื่องและมิติเวลาที่ซับซ้อนสับสนในหนัง ทางผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า เป็นเพราะวิกฤตในสังคมยุคหลังสมัยใหม่สร้างปัญหาต่อภาวะจิตใจของผู้คนเป็นอันมาก และการเยียวยาเบื้องต้นก็คือการยอกย้อนต่อสิ่งที่กดทับตัวเอง เพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณที่หายไปกลับคืนมา เพราะฉะนั้นหนังแนวจึงพยายามปฏิเสธกรอบเกณฑ์แต่เดิม แล้วพลิกแพลงด้วยส่วนผสมที่แปลกประหลาดหลากหลาย เพื่อควานหาอรรถรสใหม่อยู่เสมอ
แต่ผู้วิจัยก็ยังเห็นว่า “หนังเกือบทุกเรื่องนำเสนอให้เห็นมิติของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งสู่ปัญหาภายในจิตใจของตัวละคร” (หน้า 238)
ท้ายแล้วหนังทั้ง 3 ตระกูลอาจไม่แยกขาดออกจากกัน หรือซ้อนเหลื่อมกันไม่น้อย เพราะผู้วิจัยค้นพบว่า หนังในแต่ละตระกูลมักจะเชื่อมประสานหรือผสมปนเปเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการสืบทอดต่อเนื่อง (convention) และการแตกออกในลักษณะนวัตกรรม (invention) ควบคู่กัน อันบ่งบอกถึงความไม่หยุดนิ่งตายตัว และแน่นอนว่าความหมายก็จะหลากเลื่อนไม่แน่นอนด้วยหากการไม่หยุดนิ่งคือนิยามของชีวิต หนังไทยก็มีชีวิตชีวาในฐานะภาพมายาแทนความฝันของผู้คนเสมอมา.
ที่มา http://www.nokbook.com/book_movie.html
http://socio.tu.ac.th/download/outline/B_outline/2/SO350_2.pdf
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Saksit_Somanat/Chapter2.pdf
http://mansci.tru.ac.th/UserFiles/File/fino_km.pdf
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
วันเสาร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ความดี ความงาม ความรัก
G Em Am D7 G
อาจเป็นเพราะเรา คู่กันมาแต่ชาติไหน
C Bm Am D7 G
จะรัก รักเธอตลอดไป เป็นลมหายใจของกันและกัน
เพลงลมหายใจของกันและกันนี้ได้แรงบันดาลใจจาก ส. อาสนจินดา จาก รายการคู่ทรหด เมื่อสิบกว่าปีก่อนผมตั้งใจขึ้นประโยคแรกของเพลงให้เป็นเรื่องราวของบุพเพสันนิวาสหน่อย คู่กันมาแล้วหลายชาติ เป็นความโรแมนติกแบบไทยๆ เขียนเสร็จท่อนเดียวแล้วก็ไม่รู้จะเขียนอะไรอีก ก็มันหมดแล้ว
มีคนนำเพลงนี้ไปใช้ในงานแต่งงานเยอะมากยุคหนึ่ง จนแทบจะเป็นกลายเป็นเพลงสามัญประจำงานแต่งงานไปเลย แล้วก็มีคนขอร้องให้ผมเขียนให้เพลงยาวกว่านี้จะได้ไปร้องไปเล่นกันได้ หรือเอาไปอัดลงอัลบั้มกันได้ ผมก็บอกไม่รู้จะเขียนอะไรอีก มีแค่นี้ มันจบมันลงตัวแค่นี้
ประภาส ชลศรานนท์
ขอบคุณที่มีเพลงดีๆอย่างนี้ เพลงนี้เป็นเพลงสั้นๆ แต่กลืนกินหัวใจผู้คนมายาวนาน และเป็นความทรงจำดีๆของแม่อ้อกะพ่อเป้มา 13 ปีแล้วนะ
รักน้องป่านกะแม่อ้อ
click
http://www.youtube.com/watch?v=-lSpf88L7Rk
วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
Exploring its Identity Crisis through Popular Culture
Mr Hang Kei HoGeography
As Hong Kong is a former British colony, its hybrid culture from the east and west has created a problematic identity crisis. My research looks at Hong Kong's identity before and after the 1997 handover through cinema, urban consumption as well as other texts, and also presents its citizens with ideas of alternative futures for the city.
http://www.grad.ucl.ac.uk/comp/2007-2008/poster/gallery/index.pht?entryID=95
As Hong Kong is a former British colony, its hybrid culture from the east and west has created a problematic identity crisis. My research looks at Hong Kong's identity before and after the 1997 handover through cinema, urban consumption as well as other texts, and also presents its citizens with ideas of alternative futures for the city.
http://www.grad.ucl.ac.uk/comp/2007-2008/poster/gallery/index.pht?entryID=95
East-West Storytelling
Nadeem Aslam, Nam Le, Fuad Rifka, and Antje Rávic Strubel discuss how hybrid culture has replaced the never-existent mainstream and how the short story has evolved. This panel discussion took place at the 2009 PEN World Voices Festival.
http://www.pen.org/viewmedia.php/prmMID/3694/prmID/1831"Ninja Assassin" John Gaeta on Hybrid Entertainment Merging Film and Games.
(Download this video: MP4, or watch on YouTube)
In today's episode of Boing Boing Video (sponsored by WEPC.com, in partnership with Intel and Asus), Academy Award winning visual effects guru John Gaeta (Matrix, Speed Racer) offers a sneak peek inside his newest project, Ninja Assassin.
In today's episode of Boing Boing Video (sponsored by WEPC.com, in partnership with Intel and Asus), Academy Award winning visual effects guru John Gaeta (Matrix, Speed Racer) offers a sneak peek inside his newest project, Ninja Assassin.
Vampire-hybrid films
BloodViolet: Perfect Evolution (and the Buried Soul)What this year's four vampire-hybrid films have in common is an overcoming of our oldest fear.by Todd SeaveyMetaphilm
And that’s where genetic engineering comes in.
Pop quiz: Which 2006 film depicts a sexy vampire, skilled at swordplay, gunplay, and/or martial arts, stuck in the middle of a war over half-vampire hybrids?
Trick question—four films this year do: in order of their release, BloodRayne, Underworld: Evolution, UltraViolet, and, coming at the end of the year, Perfect Creature.
The vampire novels of Anne Rice and the comic-book-inspired Blade movies were no doubt big motivators for creating the current crop—but the particular emphasis all four of the movies place on hybrids—and the possibility of war over genetic purity—suggests that something more than old-fashioned vampirism makes these films resonate with early-twenty-first-century audiences—or rather with the producers who green-lit the projects.
In a culture increasingly defined by our ability to mix and match at will—blending pirated elements of old songs to create “mash-ups,” blending DNA from different plants and animals, blending elements of various subcultures, eras, and ethnic groups—vampires have clearly ceased to be villains and have become one more exciting style to adopt. Sure, dressing like a vampire is fun for the goths, and rooting for vampires (they kill people, but they have such lovely angst) is a blast for Rice fans—but a true mix-and-match era should hold out the promise of actually being a vampire.
And that’s where genetic engineering comes in.
Each of these four films deals with the possibility of mixing vampire and human DNA, usually placing a partly-vampire heroine or hero at the center, with the result that the vampire villains in the films are engaged not so much in their traditional business of trying to kill lots of humans by sucking their blood but in the newer business of trying to maintain the genetic purity of the vampire race against intermingling with humans. Before our eyes, the default mission of vampires in popular lore is changing: instead of cannibals, they are now, in essence, white supremacists.
BALTIMORE--MICA, Maryland Film Festival and William & Irene Weinberg Family Baltimore Jewish Film Festival present a free series of Israeli films with Dan Geva--an Israeli documentary film director, cinematographer, producer, editor and academic scholar--during Contemporary Israeli Films: Curated by Dan and Noit Geva, Thursday Feb. 4, 11 and 18, 7:30 p.m. in MICA's Falvey Hall, Brown Center (1301 W. Mount Royal Ave.).
http://www.mica.edu/
http://www.mica.edu/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)