วันเสาร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

วันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์ shows.voicetv.co.th

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา อาทิตย์ 31 ก.ค. 54 ชวนคิดเล่นเห็นต่างกันในเรื่​่อง วัฒนธรรมไทย กับ ดีไซน์คัลเจอร์ จะสามารถอยู่ร่วมกันได้หรืออไม่​ อย่างไร Produced by VoiceTV
http://shows.voicetv.co.th/kid-len-hen-tang/15223.html

ชาตินี้' หรือ 'ชาติไหน' ที่วัฒนธรรมแบบไทยจะผงาดสู่เวทีโลก

http://shows.voicetv.co.th/kid-len-hen-tang/5454.html?page=3



คิดเล่น คิดต่าง กับ ความสำเร็จของกระแส 'เค ป๊อบ' แดนกิมจิ สู่ความเป็นไปได้ที่ 'ที ป๊อบ' 'วัฒนธรรมแบบไทย' จะก้าวไกลสู่เวทีโลก

จากความแรงของเทรนด์กิมจิ สู่คำถามมากมายในสังคมไทย เช่น เพราะเหตุใด วัฒนธรรมแบบไทย หรือ 'ที ป๊อบ' จึงหลุดโผ ไม่ติดรายชื่อกระแสวัฒนธรรมส่งออก ทำไมเมื่อนึกถึงเมืองไทย ต่างชาติจะคิดถึงแต่วัด? ทำไมผู้ใหญ่ไม่พอใจ เมื่อเด็กไทยคลั่งวัฒนธรรมข้ามชาติ, และเป็นไปได้หรือไม่ ที่วัฒนธรรมแบบไทย จะก้าวไกลในระดับสากล


เหตุผลหลักที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างวัฒนธรรม 'ที ป๊อบ' ของเยาวชน การไม่เปิดให้สร้างอัตลักษณ์หรือเวทีใหม่ของความเป็นไทยสำหรับวัยรุ่น - ห้ามใส่สายเดี่ยว, นุ่งสั้น, กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถของเยาวชนมีน้อย, การเลี้ยงลูกแบบพะเน้าพะนอ ยกตัวอย่าง การทำงานหนักของแม่ ในการส่งเสริมการศึกษาให้กับลูก การลงทุนเพื่อการศึกษาของลูก ไม่มีมิติการเรียนรู้เรื่องชีวิต และสังคม เด็กขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีวิญญาณกบฏ

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคด้านการยึดติดกับความเป็นไทยแบบดั้งเดิมที่ “ถูกสร้าง” ขึ้นมา อาทิ การร่ายรำ-กรมศิลป์ ที่ก็ไม่ได้เป็นของเก่าจริงแต่เป็นสิ่งที่เพิ่ง “ทำ” กันขึ้นมา ชุดไทยเก้ารัชกาลก็ออกแบบโดย ปิแอร์ บัลแมง ชุดแอร์โฮสเตสไทยก็ปิแอร์ บัลแมง ออกแบบ ไม่เห็นมีใครโวยว่าไปเอาคนฝรั่งเศสมาออกแบบชุดไทย? สวมลุมฯ ของเราออกแบบโดย แลนสเคปชาวอิตาลี

ความเป็นไทย ไม่ได้อยู่ที่ชุดไทย โจงกระเบน ไม่ได้อยู่ที่คุณเขียนเลขไทยเป็นหรือเปล่า ไม่ได้อยู่ที่คุณร้องเพลงหนักแผ่นดินบ่อยแค่ไหน ไม่ได้อยู่ที่การปลาบปลื้มว่าบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณปกป้องบ้านเมืองมาให้ เรา เราต้องหวงแหน

ปัญหาของคนไทยกับความเป็นไทย ในปัจจุบันคือกปํญหาของคนที่ไม่รู้จัก “อดีต” ของตนเอง และไม่เคยรับรู้ว่า “อดีต” ย่อมมีหลายเวอร์ชั่น แต่คนไทยมักจะเลือกเชื่อเวอร์ชั่นของ “ราชการ” หรือเอา Concept ปัจจุบันไป ทำความเข้าใจอดีต เช่น กรณีเรื่อง อดีต ว่าด้วยการเสียดินแดน สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยที่เจ็บปวดเรื่องการเสียดินแดน ไม่เคยเข้าใจว่าแนวคิดว่าด้วยอธิปไตยเหนือดินแดนเป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นใน สมัยศตวรรษที่ 19 ดังนั้น ก่อนหน้านี้ไม่มีความคิดเรื่อง “เสียดินแดน” ดังนั้นประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเสียดินแดนเป็นประวัติศาสตร์ที่คนปัจจุบัน เอาแนวคิดของโลกปัจจุบันไปทำความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีต

ผลของการไม่รู้จักอดีต ก็คือการไม่รู้จักตนเองในปัจจุบัน คนไทยมีการรับรู้ที่ผิดๆเกี่ยวกับตนเองตลอดเวลา และไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับโลกทั้งใบได้ว่า เกี่ยวข้องกันอย่างไร? สัมพันธ์กับคนอื่นในโลกใบนี้อย่างไร?

ดังนั้น สิ่งสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า “ชาติ” เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างและสมมุติขึ้นมา เพราะฉะนั้น ชาติ รวมไปถึงอัตลักษณ์ของชาติก็ย่อมปรับเปลี่ยนได้เสมอ ทำไมความเป็นไทยต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ เด็กแว๊น เด็กสก๊อย ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยหรอกหรือ ถ้าเราไม่เห็นเห็นเด็กสก๊อย เป็นส่วนความเป็นไทย เราก็จะไม่สมารถทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น หนัง เพลง ที่จะทำให้เราเห็น ความเป็นไทยอย่างที่มันเป็น เพราะเราเฝ้าแต่จะเห็นความเป็นไทยในแบบที่เราอยากให้เป็น

สรุปประเด็นสั้นๆ คือ
1. คนไทยขายป็อปปูล่าร์ culture ไม่ได้ พัฒนาไม่ได้ ไม่สามารถ สร้างผลงานศิลปะที่เป็นสากล เพราะการยึดติดกับความเป็นไทยที่ตายตัว
2. คนไทยไม่มีสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่เป็นวิชาการมากพอ ยังศึกษาปวศ. ในฐานะที่เป็นเครื่องมือปลุกเร้าความรักชาติ
3. คนไทยขาดความรู้เกี่ยวกับ “คนอื่นๆ” ในโลกนี้ และไม่เห็นความเชื่อมโยง และการไหลเวียนของวัฒนธรรมในโลก มีแนวคิดต่อต้านทุนและโลกาภิวัตน์ หลงความเป็นไทย และความเป็นพุทธแบบผิดๆ
แล้วเมื่อไหร... วัฒนธรรมแบบไทย จะผงาดสู่เวทีโลก?

วันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

Oh My God Movie (2009) by Peter Rodger

You don’t take a photograph, you quietly borrow it…”

Peter Rodger grew up looking through a camera lens. As a teenager, the award-winning British director honed his skills by assisting his father, George Rodger, the renowned photo-journalist and co-founder of Magnum Photos.

After completing his education at England’s Maidstone College of Art, his skill with the lens made him one of the most sought-after talents in the European and United States Advertising Industry, shooting numerous car, clothing and cosmetics companies’ print and commercial campaigns in over forty different countries. He has shot for such diverse clients as Mercedes, Save the Children Fund, City National Bank, Coca Cola, Toyota, Microsoft, Infiniti, Lexus, Buick, Acura, Honda, Volvo, Land Rover, Fendi, Xavier Laurent Perfume, Apple Computers, University of Houston, Kodak, Freixenet Champagne, General Electric, Audi and Canon Cameras.

Peter has exhibited his fine art work all over the world and has won numerous awards for his filmed work. He has penned seven screenplays — including “Comfort of the Storm” (2009), “Bystander” and “Publication Day” — in development.

After three years of filming across 23 countries, Peter has just completed producing and directing the epic non-fiction film entitled “Oh My God” — which explores people’s diverse opinions and perceptions of God which was theatrically released in the United States on November 13, 2009.

Official Movie Site and Trailer - Oh My God Movie (2009) by Peter Rodger

Official Movie Site and Trailer - Oh My God Movie (2009) by Peter Rodger

Official Movie Site and Trailer - Oh My God Movie (2009) by Peter Rodger

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔

การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ "ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์"

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ระดับชาติและ นานาชาติ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์”

วันที่ 25-27 มกราคม 2555 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

http://www.surf.su.ac.th/project

Download proceeding การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 1-4 ที่ผ่านมา

วันจันทร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

อีกด้านหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

”เวลากล่าวถึง “ความรู้สึกโหยหาอดีต” ของชนชั้นกลางไทยปัจจุบัน เราจะพบว่าเป็นความรู้สึกโหยหา “ความเก่าแก่ของความเป็นไทยในชีวิตประจำวัน” เพราะพวกเขาสื่อสารไม่ได้กับความเก่าแก่ของความเป็นไทยกระแสหลักที่มักจะเน้นกันอยู่ที่วัดและวัง”

การสร้าง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” จึงไม่ใช่แค่การคิดเชิงบริหารธุรกิจ หรือการคิดว่าการจัดประชุมเพื่อยกตัวอย่างสินค้าให้คนมาดูแล้วจะสามารถสร้างการผลิตที่สร้างสรรค์ได้ หากแต่เป็นการทำให้ผู้ประกอบการทั้งหมดเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ลึกซึ้งมากที่สุด หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้สร้างสรรค์สามารถจับชีพจรความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้นั้นเอง ดังนั้น หากจะฝันถึงการสร้างภาคการผลิตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ต้องหันกลับมาสู่การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทุกมิติของสังคมไทย ซึ่งก็คือ ต้องกลับมาศึกษา “ประวัติศาสตร์” กันอย่างจริงจังมากขึ้น


อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The concept of intertextuality has proven of inestimable value in recent attempts to understand the nature of literature and its relation to other systems of cultural meaning. In The Memory of Tiresias, Mikhail Iamposlki presents the first sustained attempt to develop a theory of cinematic intertextuality.Building on the insights of semiotics and contemporary film theory, Iampolski defines cinema as a chain of transparent, mimetic fragments intermixed with quotations he calls "textual anomalies." These challenge the normalization of meaning and seek to open reading out onto the unlimited field of cultural history, which is understood in texts as a semiotically active extract, already inscribed.Quotations obstruct mimesis and are consequently transformed in the process of semiosis, an operation that Iampolski defines as reading in an aura of enigma. In a series of brilliant analyses of films by D.W. Griffith, Sergei Eisenstein, and Luis Buñuel, he presents different strategies of intertextual reading in their work. His book suggests the continuing centrality of semiotic analysis and is certain to interest film historians and theorists, as well as readers in cultural and literary studies.