วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา เทศกาลศาสนา ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมธิเบต

“วันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่เผชิญหน้า กับความเสี่ยงต่อการล่มสลายอยู่ในตอนนี้ เราจึงต้องการช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติ เพื่อปกป้องวัฒนธรรมขอเรา วัฒนธรรมที่เป็นดั่งมรดกโลก การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่ จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”
“องค์ทะไลลามะ”

เพื่อแสดงความนบนอบเคารพต่อศรัทธาที่มีกับองค์ทะไลลามะ และด้วยเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของธิเบตที่ยังทรงคุณค่า มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จึงจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมธิเบตให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยและ สังคมโลก และร่วมสร้างความเป็นธรรมให้กับคนธิเบตที่พลัดถิ่นในอินเดีย โดยจัดกิจกรรมเทศกาลศาสนา ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมธิเบต ในหัวข้อ “จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม 2553 ณ กรุงเทพมหานคร และเชียงราย

การจัดงานในครั้งนี้ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เป็นองค์หลักในการระดมทุนและจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงแต่รายรับยังไม่ครอบ คลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการจัดงาน จึงบอกกล่าวมายังกัลยาณมิตรทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย เพื่อสืบทอดคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและสร้างเสริมสิ่งที่ดีงามสู่สังคม

ดังที่องค์ทะไลลามะประมุขแห่งธิเบต ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมธิเบตไว้ว่า “วันนี้ เรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงต่อการล่มสลาย เราจึงต้องการความช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติเพื่อปกป้อง วัฒนธรรมของเราที่เป็นดั่งมรดกโลก การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”


Himalaya
ประเภท : ภาพยนตร์ ความยาว 1.45 ซม.ผู้กำกับ อีริค วัลลี

ณ หมู่บ้านกว้างใหญ่แห่งเมืองดอลโป บนเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูงห้าพันเมตร ตินเล-หัวหน้าเผ่าชราที่เพิ่งสูญเสียลูกชายคนโตไป ไม่อนุญาตให้เด็กหนุ่ม-การ์มาเป็นผู้นำขบวนกองคาราวานจามรี
...
ก่อนถึงวันเดินทางจริงที่กำหนดไว้โดยผู้นำทางศาสนา การ์มาก็นำขบวนคาราวานออกจากหมู่บ้านอย่างไม่แยแสต่อความโกรธเคืองของเหล่า ผู้อาวุโสและตินเล โดยมีคนรุ่นหนุ่ม ๆ ติดตามเขาไป และเมื่อถึงวันที่กำหนดไว้ ตินเลก็ตัดสินใจออกเดินทางโดยไม่สนใจเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับลูกขบวน อันได้แก่ นอร์บู-ลูกชายคนรอง ลามะที่เป็นหลานและเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ของตินเล แล้วการต่อสู้ที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษระหว่างมนุษย์กับภูเขาก็เริ่มต้นขึ้น

Kundun
ประเภท : ภาพยนตร์ ความยาว 128 นาทีบทภาพยนตร์ โดย เมลิสสา มาธิสันผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี่ ปีที่ผลิต 1997
“คุนดุน” หมายถึง “การดำรงอยู่เพื่อทุกคน” (Presence) ภาพยนตร์เรื่องคุนดุนคือเรื่องราวของสมเด็จพระเท็นซิน กยัตโส หรือองค์ทะไลลามะที่ 14 ที่ได้รับการบอกเล่าผ่านสายพระเนตรในวัยเยาว์ขององค์ทะไลลามะเอง พระลามะชั้นสูงค้นหาพระองค์ซึ่งเป็นองค์ทะไลลามะที่ 13 กลับชาติมาเกิด ที่ชุมชนชาวนาในธิเบตเหนือเมื่อปี 1935 พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนในเมืองลาซา
...
ภาพยนตร์ถ่ายทอดภาพการเติบโตอย่างพิเศษของพระองค์ จากเด็กชายซุกซนอายุสองขวบครึ่งที่กลายเป็นบุคคลสำคัญผู้ช่วยยกระดับความ เข้าใจของโลกต่อสังคมชาวพุทธ ด้วยจิตวิญญาณแห่งคำปฏิญาณของพระองค์ต่อธิเบตจนกระทั่งเกิดการรุกรานของจีน คอมมิวนิสต์ในปี 1950 และความเจ็บปวดที่ราษฎรของพระองค์ต้องแบกรับ ไปจนถึงตอนที่พระองค์หลบหนีเข้าสู่อินเดียในเก้าปีต่อมา ภาพยนตร์แสดงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตของพระองค์ในพระราชวังโปตาลาอย่างตรงไปตรงมาและมีชีวิตชีวา ไม่ว่าจะเป็นความหลงใหลของทะไลลามะในวัยเด็กที่มีต่อเครื่องยนต์กลไก หรือความสงสัยต่อประเพณีทางศาสนาที่มีมากมาย “คุนดุน” ซึ่งถ่ายทำในประเทศโมร็อคโค เป็นเหมือนภาพจำลองเหตุการณ์ที่จะทำให้ผู้ชมทุกคนลุกออกไปพร้อมกับความเศร้า เสียดายต่อสิ่งมีค่าที่ถูกฝังไว้ในธิเบต


วันพุธที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

บทความภาพยนตร์และมานุษยวิทยา

บทความภาพยนตร์และมานุษยวิทยา

1.กำเนิดปฏิบัติการภาพยนตร์ ชาติพันธุ์: การเดินทางจากอดีตสู่เส้นทาง ในอนาคต
2. พรรณนาความชาติพันธุ์ ว่าด้วยภาพ
3. การผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ช่วงหลังสงครามในเยอรมนีเปเตอร์ ฟูชส์ (Peter Fuchs) สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ (IWF) และสารานุกรมภาพยนตร์ (Encyclopaedia Cinematographica)
4. วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 1)
5. วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 2)

ที่มา http://www.sac.or.th/web2007/article/index.php?p=film

บทสนทนาสั้นๆ ถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ศิลปะคืออะไร เราเป็นประเทศโบราณก็จริงหากแต่ก็ต้องการเกิดใหม่เป็นสังคมที่คนมีการศึกษา เพราะฉะนั้น การสื่อความหมายเรื่องของชีวิต เรื่องความเป็นอยู่ เรื่องความคิดความอ่าน เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมันผ่านมาทางสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ เช่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วรรณกรรม และดนตรี

สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าสื่อกลางที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมายทีนี้ ถ้าศิลปะทำให้ชีวิตเรามีความหมายก็ต้องมีการส่งเสริม เราเองต้องการให้หอศิลป์ฯแห่งนี้เป็นพื้นที่ในการสร้างสิ่งเหล่านั้นให้แก่สังคม

เรื่องเหล่านี้ต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ 500 ปีก่อน อย่างอังกฤษก็มีเชคเสปียร์ คนพากันไปดูละคร ถึงปัจจุบันมีเล่นกันเป็นร้อยรอบ หลายร้อยโปรดักชั่น แต่เขาก็ยังเล่นเชคเสปียร์ได้ ของเรากว่าจะเริ่มเขียนนวนิยายก็สมัยคุณปู่ เรามีนวนิยายกี่เรื่อง มีงานศิลปะบนผืนผ้าใบนี่กี่ชิ้น เพราะฉะนั้น ที่นี่น่าจะเป็นที่สร้างภูมิปัญญาขึ้นมาสำหรับคนสมัยนี้ ซึ่งเราต้องทำให้มันพอกพูนขึ้นไป เรามีเวลาสร้างอีกเป็นร้อยปี ปัญหาคือ บางทีเราชอบไปเอาของฝรั่งมา ไปลอกเขา ซึ่งมันไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ เราควรมาช่วยกันสร้างเนื้อหาของเราขึ้นมาเอง มันจะได้มีความหมาย นอกจากนี้ สมัยก่อน คนทำพอทำเสร็จก็ดูกันเอง แต่เราบอกว่าคนทั่วไปควรได้ดูด้วย เพราะมันจะเป็นงานวัฒนธรรมไม่ได้เลยถ้าทำเพื่อคนส่วนน้อย เราต้องการให้ศิลปะอยู่ในครรลองของสังคม นั่นคือเหตุผลที่เราตั้งอยู่ตรงนี้ ตรงใจกลางเมือง
http://www.onopen.com/coffee-open/09-12-01/5163