วันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วัฒนธรรมพันทางของภาพยนตร์ร่วมสมัย
หายไปนานกลับมาพร้อมกับการผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกปรัชญา(วัฒนธรรมศาสตร์) ไปเรียบร้อยพร้อมกับหัวข้อเรื่อง วัฒนธรรมพันทางของภาพยนตร์ร่วมสมัย: การวิเคราะห์สัมพันธบทและแนวทางการพัฒนาภาพยนตร์หลังสมัยใหม่ของศิลปปินศิลปาธร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจึงจัดสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่focus group แล้วสรุปด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ workshop หลังจากนั้นจึงนำข้อเสนอทั้งหมดที่ได้จากการระดมสมองมาสรุปเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาพยนตร์ร่วมสมัยโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในเบื้องต้นประกอบไปด้วย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก นักวิชาการภาพยนตร์ 7 คน นักวิชาการหลังสมัยใหม่ 4 คน นักวิชาการวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมศึกษา 5 คน
กลุ่มผู้ปฏิบัติ ผู้กำกับภาพยนตร์ 7 คน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ 5 คน ผู้สร้างภาพยนตร์ 4 คน
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปนักศึกษาภาพยนตร์ 35 คน ผู้ชมภาพยนตร์ 35 คน
เพื่อทบทวนแนวคิดวัฒนธรรมพันทาง วัฒนธรรมลูกผสม Hybrid Culture พร้อมกับนิยามของภาพยนตร์ร่วมสมัย ภาพยนตร์หลังสมัยใหม่ ภายใต้การควบคุมดูแลของ ผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร อ.ดร กล้า สมตระกูล รศ.ดร.ชำนาญ รอดเหตุภัย อ.ดร.ยิ่ง กิรติบูรณะ ขอขอบพระคุณกรรมการสอบทุกท่านเป็นอย่างสูง
หลังจากนั้นได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติร่วมกับมศว. กระเทาะเปลือกวัฒนธรรม ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ได้กล่าวถึงคำจุดประเด็นในที่ประชุม ถึงวัฒนธรรมลูกผสมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาพยนตร์ร่วมสมัย อาทิ ภาพยนตร์เกาหลีซึ่งเปิดไว้อย่างน่าสนใจอีกเช่นกัน
ฐิรวุฒิ เสนาคำ
Debating Cultural Hybridity: Multi-Cultural Identities and the Politics of Anti-Racism. Edited by Pnina Werbner and Tariq Madood. London and New Jersey: ZED Books, 2000. 296 + vii Pages. Pb. 750 Bath
การผสมผสานทางวัฒนธรรม (cultural hybridity) เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจค่อนข้างสูงจากแวดวงวิชาการ ต่างประเทศในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี Robert E. Young กล่าว ไว้ในหนังสือเรื่อง Postcolonial Desire (1995) ว่าวิวาทะ ในเรื่องดังกล่าวมิใช่ของใหม่ หากแต่เป็นการนำเอาเรื่องเก่า มาพูดใหม่ การโต้เถียงในเรื่องนี้ดำเนินไปอย่างดุเดือด เผ็ดร้อนในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่ง โรจน์ของลัทธิล่าอาณานิคมและ จักรวรรดินิยม โดย Young มอง ว่าลัทธิดังกล่าวมิได้เป็นแค่เพียง การขยายแสนยานุภาพทางทหาร และเทคโนโลยีของตะวันตกสู่ ประเทศที่มิใช่ตะวันตกเท่านั้น หากแต่รวมถึงการนำความใคร่ (desire) เพศ (gender ปกติหรือ โดยส่วนใหญ่คือเพศชาย) และ เพศสัมพันธ์ (sexuality) ของ ตะวันตกสู่ประเทศหรือสังคมนอก ตะวันตก การนำความใคร่ เพศ และเพศสัมพันธ์เข้าไปได้ก่อให้ เกิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่ที่มิใช่ทั้ง คนตะวันตกและคนนอกตะวันตก แต่คือลูกผสมที่มีลักษณะของการ ผสมผสานทาง เชื้อชาติ (racial hybridity) ตามความเห็นของ Young การผสมทางเชื้อชาติได้ นำมาซึ่งการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างไม่อาจจะหลีก เลี่ยงได้ Marry Louise Pratt (1992) กล่าวในทำนองเดียวกัน ว่าการล่าอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ได้ก่อให้เกิด “contact zones” หรือ ปริมณฑลของการปะทะหรือเผชิญ หน้าทางด้านเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรม ผลที่ตามมา ประการหนึ่งก็คือ การเกิดลูกผสม (ทางเชื้อชาติ สังคม และ วัฒนธรรม) การเกิดลูกผสมได้ตั้งคำถามให้กับคนในยุคนั้น ว่าลูกผสมเป็นใคร เป็นตะวันตกหรือไม่ตะวัน มีคุณสมบัติ ที่ทรงคุณค่าหรือด้อยกว่าคนตะวันตก คำถามดังกล่าวก็คือ คำถามที่จุดชนวนการโต้เถียงในเรื่องการผสมผสานทาง วัฒนธรรมนั้นเอง
กระบวนการล่าอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ได้ เกิดขึ้นเคียงคู่กันไปกับการเติบโตของเมืองสมัยใหม่ การเติบโตของเมืองสมัยใหม่ก่อให้เกิดกระแสการอพยพ ของคนชนบทเข้าสู่ตัวเมือง คนชนบทที่อพยพเข้าสู่ตัวเมืองนี้ Robert E. Park เจ้าสำนักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก เรียกว่า “คนชายขอบ” (marginal man) คนชายขอบนี้มิได้ เดินทางเข้าตัวเมืองเพียงร่างกายและกระเป๋าเดินทาง หากแต่ พกพาความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเข้าไปด้วย เมื่อก้าวเข้าประตูเมือง คนชายขอบต้องเผชิญกับสถานที่ ใหม่และวัฒนธรรมใหม่ คนชายขอบจึงเป็นคนนำต่าง วัฒนธรรมเข้าประทะ ภาวะที่จะทิ้งวัฒนธรรมเดิมทั้งหมดก็ ไม่ได้ ปฎิเสธวัฒนธรรมใหม่ทั้งหมดก็ไม่ได้นี้ทำให้คนชายขอบ ต้องอยู่บริเวณชายขอบของทั้ง 2 วัฒนธรรม วัฒนธรรมที่คน ชายขอบยึดถือจึงกลายเป็นวัฒน ธรรมหัวมงกุฎท้ายมังกรหรือวัฒน ธรรมผสมอย่างช่วยไม่ได้ Park เอง ก็สรุปไว้ชัดว่า การผสมผสานทาง วัฒนธรรม คือธรรมชาติของคน ชายขอบ (“cultural hybridity” is “marginal man’s” nature) อย่างไรก็ตาม วิวาทะเรื่องการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมมีฐาน คิดทอดมาจากนักคิดคนสำคัญ ร่วมสมัย 3 ท่าน คือ Mikhail M. Bakhtin, Homi K. Bhabha และ Nestor Garcia Canclini
Mikhail Bakhtin เป็นนัก ปรัชญา/วรรณคดี/ภาษาศาสตร์ ชาวรัสเชียเติบโตทางความคิดใน ยุคที่สตาลินเรือง อำนาจ Bakhtin มีงานเขียนที่ก่อผลสะเทือนต่อวง วิชาการสาขาต่างๆ หลากหลาย เล่ม เช่น Marxism and the Philosophy of Language (1986), Rabelais and His World (1984a), The Dialogic Imagination (1981), และ Problems of Dostoevsky’s Poetics (1984b) เป็นต้น แนวคิด เรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมของ Bakhtin พัฒนาจาก การผสมผสานทางภาษา สู่การผสมผสานของรูปแบบวรรณ ศิลป์และการผสมผสานทางวัฒนธรรม ต่างจากนักคิดร่วม สมัยของเขาหรือนักคิดก่อนหน้านั้น คือ Bakhtin มองว่า ภาษามิใช่สื่อที่เป็นกลาง ที่ส่งผ่านความหมายจากผู้ส่งถึง ผู้รับอย่างไม่บิดเบี้ยว ความหมายของภาษามิได้เกิดจาก การเข้าโครงสร้างหรือไวยากรณ์ที่ถูกต้อง หากแต่เกิดจากการ dialogue ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ระหว่างตัว text กับผู้อ่าน ภายใต้บริบททางสังคมของการอ่านและการฟัง ภาษาจึงมี มิติทางอุดมการณ์และสังคม Bakhtin มองว่า แม้แต่การพูด ออกมาคำเดียวโดด ๆ ก็มีมิติทางอุดมการณ์และสังคม และ เป็นการผสมผสานของภาษาที่เกิดจากการปะทะแย่งชิงของ สกุลและสำนึกทางภาษาที่แตกต่างกัน โดย Bakhtin ให้ ความหมายของการผสมผสานทางภาษาไว้ว่า “ a mixture of two social languages within the limits of a single utterance, an encounter, within the arena of an utterance, between two different linguistic consciousnesses, separated from one another by an epoch, by social differentiation or by some other factor (1981: 358).
แนวคิดเรื่อง การผสมผสานของรูปแบบวรรณศิลป์ ปราฏในงานเขียน 2 ชิ้น คือ The Dialogic Imagination, และ Problems of Dostoevsky’s Poetics หนังสือทั้งสองเล่มพูด ถึงการเกิดและรูปแบบทางวรรณศิลป์ของนวนิยาย โดย Bakhtin มองว่า นวนิยายเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่มีความ หลากหลาย (heteroglossia) ทางสังคมและวัฒนธรรม นวนิยายจึงเป็นวรรณศิลป์ที่สะท้อนความหลากหลายของเสียง (polyphony) ที่ตัดอำนาจเชิงคำสั่งของผู้เขียนออกไป และให้ ตัวละครเล่มเรื่องหรือสะท้อนเสียงของตนเอง ดังเห็นได้ชัด ในนวนิยายของ Dostoecsky หลายเรื่อง ลักษณะเด่นของ นวนิยายก็คือลักษณะการผสมของหลายหลายรูปแบบ วรรณศิลป์ ภาษาและชนชั้นของตัวละคร เช่น ใบบอก จดหมายรัก ความเรียง บทสนทนา ภาษาชนชั้นสูง ภาษาตลาด เป็นต้น
ส่วนแนวคิดเรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้น สะท้อนชัดในงานเขียนเรื่อง Rabelais and His World โดย Bakhtin มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมพบทั่วไปใน วัฒนธรรมของชนชั้นล่าง (ยกตัวอย่างนอกบริบทของงานของ Bakhtin ก็คือ วัฒนธรรมชาวบ้านของไทยเป็นวัฒนธรรมผสม คือ ผี+พุทธ+พราหมณ์) และแสดงออกอย่างชัดเจนในงาน เทศกาลรื่นเริง (carnival) ต่าง ๆ (ดูสารทเดือนสิบของนคร ก็จะพบทั้งวัฒนธรรมของราชกาลและวัฒนธรรมของชาว บ้านผสมผสานกันอยู่)
Homi K. Bhabha เกิดในอินเดีย แต่สอนหนังสือ ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นนักทฤษฎีสำนักหลังอาณา นิคม (postcolonial theorist) มีงานเขียนงานบรรณาธิการ หลายเล่ม งานชิ้นเอกของเขาคือ The Location of Culture (1984) อย่างไรก็ดี Bhabha กล่าวถึงการผสมผสานทาง วัฒนธรรมไว้ในบทความขนาดสั้น 2 ชิ้น คือ “Signs Taken for Wonders: Questions of Ambivalence and Authority under a Tree outside Delhi, May 1817” (1985) และ “Cultures in Between” (1993) ซึ่งเป็นงานที่กล่าวถึงวาทกรรม ของลัทธิอาณานิคม (colonial discourse) Bhabha มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultures in Between) หรือการผสมผสานด้านอื่นๆ เป็นผลลัพธ์ของลัทธิอาณานิคม และเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างอำนาจที่ ไม่เท่าเทียม ลักษณะสำคัญของลูกผสมหรือการผสมผสาน ก็คือ ความกำกวม (ambivalence) และทำนายไม่ได้ การผสม ผสานจึงเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางวัฒนธรรมและอำนาจ อาณานิคมที่ครอบงำ การผสมผสานโดยตัวของมันเองก็คือ การต่อต้านวาทกรรมและอำนาจแห่งการแยกขั้วแบบตัวฉัน (self) กับคนอื่น (others) และต่อต้านแนวคิดเรื่องชาติ กำเนิดและอัตลักษณ์บริสุทธิ์ (ไทยแท้ๆ)
Nestor Garcia Canclini เกิดที่อาเจนตินา แต่ทำงาน ด้านมานุษยวิทยาที่เม็กซิโก งานเขียนที่สำคัญของเขา 2 ชิ้น คือ Transforming Modernity: Popular Cultures in Mexico (1993) และ Hybrid Cultures: Strategies for Entering and Leaving Modernity (1995) โดยเฉพาะงานชิ้นหลังเป็นงาน ที่ไดัรับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงวิชาการด้าน วัฒนธรรมศึกษา อย่างไรก็ดี งานของ Garcia Canclini นี้ ถูกสร้างขึ้นบนบริบทของทุนทางวัฒนธรรมด้านวัฒนธรรม ผสมที่มั่งคั่ง กล่าวคือ ดินแดนลาตินอเมริกานั้นเป็นแหล่งรวม ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการถกเถียงเรื่องการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมมาค่อนข้างยาวนาน โดยนักคิด นักเขียนเด่น ๆ เช่น Antonio Cornejo Polar, Jean Franco, Carlos Monsivais, Angel Roma และ Fernarndo Ortiz เป็นต้น อย่างไรก็ดี การถกเถียงดังกล่าวเป็นการถกเถียงเรื่องการผสม ผสานทางวัฒนธรรมภายใต้มโนทัศน์ (concepts) ต่างๆ เช่น mestizaje, creolization, transculturation, bicolage, anthropophagy และ syncretism คำเหล่านี้มีความหมายใกล้เคียง กับการผสมผสานทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม Garcia Canclini เลือกใช้ cultural hybridity หรือ hybrid cultures เพราะ เห็นว่ามีความหมายที่กว้างกว่าคำอื่น เช่น mestizaje ที่มี ความหมายแคบคือ หมายถึงการผสมผสานทางเชื้อชาติ และ syncretism ที่หมายถึงการผสมผสานของแนวคิดทางศาสนา Garcia Canclini มองว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็น วิถีทางที่รูปแบบทางวัฒนธรรมเฉพาะอันหนึ่งแยกตัวออกจาก ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่แล้วหลอมรวมใหม่เพื่อให้ เกิดรูปแบบและปฏิบัติการทางวัฒนธรรมใหม่
Garcia Canclini มองว่า การผสมผสานทางวัฒน ธรรมในลาตินอเมริกาในปัจจุบันเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ การหมุนเวียนการผลิตและการบริโภคสินค้าเชิงสัญลักษณ์ (symbolic commodities) แบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้ตรรกะ ของตลาดทุนนิยมยุคโลกานุวัฒน์ทางเศรษฐกิจ และ Garcia Canclini ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปรากฏการณ์การอพยพ ของคนชนบทเข้าสู่เมืองและการเข้าร่วมของเศรษฐกิจชนบท ในรูปของ craftsmanship ในตลาดที่ไม่เป็นทางการ (informal market) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างจากมาร์ก-ซีสต์ดั้งเดิม (classical Marxists) ที่มองว่าระบบทุนนิยมจะ ทำลายระบบเศรษฐกิจอื่น คือ Garcia Canclini มองว่าการ ปะทะหรือการเข้าร่วมของเศรษฐกิจชนบทในตลาดที่ไม่ เป็นทางการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมิได้นำมาซึ่ง การตายไปของเศรษฐกิจชนบท ตรงกันข้ามการเข้าร่วมเป็น การสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจชนบท ผนวกตัวเข้ากับระบบ ตลาดสมัยใหม่ Garcia Canclini เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า cultural reconversion ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่วัฒนธรรม ดั้งเดิมแสดงตัวตนอีกครั้งในรูปแบบใหม่ภายใต้บริบทของ การดำรงอยู่พร้อมกันของระบบสัญลักษณ์ที่หลากหลาย กล่าว อีกนัย ก็คือ Garcia Canclini มองว่าการปะทะระหว่าง วัฒนธรรมดั้งเดิมหรือวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรม สมัยใหม่หรือวิถีการผลิตสมัยใหม่มิได้นำมาซึ่งการสูญไป ของวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม ในทางตรงข้าม ระบบการผลิตและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมสามารถปรับเปลี่ยน ปรับตัวและผนวกกับวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตสมัยใหม่ ก่อรูปเป็นวัฒนธรรมหรือวิถีการผลิตใหม่กลายเป็นวัฒนธรรม ผสมหริอระบบการผลิตที่ผสามผสานกันได้อย่างหลากหลาย
ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า วิวาทะเรื่องการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมมิใช่เรื่องใหม่ แต่การนำมาเล่าใหม่นี้เล่าภาย ใต้สถานการณ์ที่ต่างจากศตวรรษที่ 18 – 19 เพราะในยุค ปัจจุบันเป็นยุคที่นักวิชาการจำนวนหนึ่งเรียกว่ายุคโลกาภิวัติ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไหลเวียนเคลื่อนย้ายมิติทางวัฒนธรรม ด้านต่าง เช่น
1.มิติทางชาติพันธุ์ (ethnoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของผู้คนไปทั่วโลก เช่น นักท่องเที่ยว แรง งานข้ามชาติ ผู้อพยพ ผู้ร้ายข้ามแดน นักธุรกิจ นักเรียน นักวิชาการ เป็นต้น
2.มิติทางเทคโนโลยี (technoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของเครื่องจักรกล โรงงาน บริษัท สินค้า บริการ เป็นต้น
3.มิติทางการเงิน (finanscapes) หรือการไหลเวียน เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของเงินตรา ตลาดหุ้น การลงทุน ข้ามชาติ เป็นต้น
4.มิติทางสื่อสารมวลชนและข่าวสารข้อมูล (mediascapes) หรือการไหลเวียนเคลื่อนย้ายของข่าวสาร ข้อมูล และภาพลักษณ์ต่างๆ ไปทั่วโลก
5.มิติทางอุดมการณ์ (ideoscapes) หรือการไหล เวียนเคลื่อนย้ายของอุดมการณ์ แนวคิด ทฤษฎีจากที่หนึ่ง ไปยังที่หนึ่งของโลกอย่างรวดเร็ว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Appadurai 1990)
การไหลเวียนเคลื่อนย้ายดังกล่าวมิได้ก่อให้เกิดความ เหมือนหรือคล้ายคลึงกันของวัฒนธรรมในทุกมุมของโลก หากแต่ก่อให้เกิดความหลากหลายและการผสมผสานของ วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ด้านต่างที่แนวคิดทางสังคมศาสตร์ เดิมไม่อาจอธิบายได้ เหตุนี้จึงส่งผลให้มีการนำแนวคิดเรื่อง การผสมผสานทางวัฒนธรรมกลับมาพูดใหม่อีกครั้ง Debating Cultural Hybridity เป็นหนึ่งในอีกหนังสือและวารสารหลายเล่ม ที่ร่วมในการถกเถียงเรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรมเชื้อชาติ และอัตลักษณ์ด้านต่างๆ พร้อมกับประเมินข้อเด่นและข้อจำกัด ของแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม แง่มุมที่ หนังสือเล่มนี้ต่างจากเล่มอื่น ก็คือ การเพิ่มมิติเรื่อง gender เข้าไปในการศึกษาหรือถกเถียงเรื่องอัตลักษณ์หรือความหลาก หลายทางวัฒนธรรม หนังสือประกอบด้วยบทความ 14บท เขียนโดยนักวิชาการชั้นนำอย่าง Zygmunt Bauman, Alberto Melucci, Jonathan Friedman, Peter van der Veer Nina และ Yuval-Davis เป็นต้น
http://board.dserver.org/w/worldcommune/00000060
ในทางวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินการดังกล่าวเป็นสร้างทางรอดให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านการ Hybrid Culture เพื่อต่อยอดความนิยมไปยัง Traditional Culture ซึ่งหากมีผู้จัดการด้านวัฒนธรรมที่ดีจะตัองเข้าใจกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท่ามกลาง Globalization โดยการจัดระดับวัฒนธรรมของชาติใหม่ เพื่อป้องกันวัฒนธรรมดั้งเดิม สูญหายไปจากการกลืนของวัฒนธรรมที่เหนือกว่า
การจัดระดับวัฒนธรรมของชาติ เริ่มต้นด้วย Purely Original Culture จะต้องยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมชั้นสูง ซึ่งใครที่มีความสามารถในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้น คือเป็นผู้ที่จะต้องได้รับการยกย่องระดับชาติ และที่สำคัญบุคคลนั้นจะต้องมีการรับรู้ในทุกกลุ่มของสังคม สำหรับวัฒนธรรมชั้นสูงที่เกิดขึ้นและมีมูลค่าที่สามารถเข้าถึงจิตใจของคนทั่วไป ได้แก่ วัฒนธรรมการดื่มไวน์ของชาวฝรั่งเศส วัฒนธรรมการดื่มชาตอนบ่ายของอังกฤษ การแต่งกายชุดประจำชาติในงานพิธีสำคัญของชาวญี่ปุ่น
ระดับถัดมาเป็น Hybrid Culture ซึ่งเป็นผลพวงของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากล เพื่อป้องกันการอยู่รอดของวัฒนธรรมหลัก แต่จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการส่งต่อรสนิยมการเสพวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมชั้นสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นไม่รู้สึกเขินอายเมื่อสวมชุดกิโมโนหรือยูกะตะ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เทศกาลสำคัญๆ
อีกระดับคือ Pop Culture หรือ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแล้วหายไปในเวลาที่ไม่นานนัก และส่วนมากจะไม่ยั่งยืน เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมดังเดิม แต่ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรมของไทย กลับเห็นวัฒนธรรมในลักษณะนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมหลักของสังคม ออกมาประนามสิ่งที่วัยรุ่นทำ โดยไม่มีการหันมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจากตั้นตอสู่ผลที่เกิดขึ้น (Cause and Effect) หากว่าทำความเข้าใจแล้ว จะทำให้รู้ถึงวิธีการที่จะเข้าถึงวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวและการนำเอารูปแบบ Hybrid Culture ไปเป็นจุดเชื่อมเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นได้ โดยไม่ต้องออกมาต่อว่าต่อขานว่าเป็นเด็กสายเดี่ยว เด็กแก่แดด เด็กใจแตกบ้าง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66916
Hybrid cultures: strategies for entering and leaving modernity โดย Néstor García Canclini,Christopher L. Chiappari
When it was originally published, Hybrid Cultures was foundational to Latin American cultural studies. This now-classic work features a new introduction in which Nestor Garcia Canclini calls for a cultural politics to contain the damaging effects of globalization and responds to relevant theoretical developments over the past decade. Garcia Canclini questions whether Latin America can compete in a global marketplace without losing its cultural identity. He moves with ease from the ideas of Gramsci and Foucault to economic analysis, from appraisals of the exchanges between Octavio Paz and Jorge Luis Borges to Chicano film and grafitti. Hybrid Cultures at once clarifies the development of democratic institutions in Latin America and reveals that the most destructive ideological trends are still going strong.
http://books.google.com/books?id=boYXpxO6qNAC&printsec=frontcover&dq=hybrid+culture+postmodern+film&lr=&ei=39hWS5e6GoTUlQS_iuSMDQ&hl=th&cd=8#v=onepage&q=&f=false
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น