วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

National Anthropological Archives and Human Studies Film Archives



The NAA and HSFA collect and preserve historical and contemporaryanthropological materials that document the world's culturesand the history of anthropology



Many of the Smithsonian winter counts are copies that their keepers made specifically at the request of people studying Indian culture; they are particularly valuable because of the explanations that the keepers provided about the events that they record. This extensive information is included here in the 'View the Winter Counts' section of the web site. The winter count keeper's notes are the foundation for interpreting the many counts now in museums that were acquired without any explanation, such as the Rosebud count and the buffalo hide copy of the Lone Dog count that are shown here.
http://wintercounts.si.edu/index.html

Archiving Culture in the Digital Age

Archiving Culture in the Digital Age : การประชุมนานาชาติ จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล
June 17th, 2009

“จดหมายเหตุมานุษยวิทยา” (Anthropological Archive) เป็นเอกสารอันเกิดจากการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาที่บันทึกเรื่องราวสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คน เอกสารเหล่านี้จึงเปรียบเป็น “จดหมายเหตุวัฒนธรรม” ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม ข้อมูลเหล่านี้หากได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการเก็บเอกสารจดหมายเหตุและเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ศึกษาค้นคว้า จะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้เอกสารเก่าเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น
...
โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตระหนักว่าวัสดุและเอกสารเก่าที่ได้จากการทำงานวิจัยภาคสนาม ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าและมีประโยชน์เสมอไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด จึงได้ทำการรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารงานวิจัยภาคสนามของนักมานุษยวิทยาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาทำงานวิจัยในประเทศไทย สร้างเป็นคลังข้อมูลทางมานุษยวิทยาและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและต่อยอดความรู้ในการสร้างผลงานทางวิชาการที่หลากหลายขึ้นมาใหม่
...
การประชุมนานาชาติ “จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล” ( Archiving Culture in the Digital Age)ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุในประเทศไทย รวมทั้งผู้ที่มีเอกสารเก่าไว้ในความดูแล ได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในเนื้อหาและคุณค่าของ “จดหมายเหตุวัฒนธรรม” รวมถึงเรียนรู้กระบวนการจัดการเอกสารจดหมายเหตุในยุคดิจิทัลจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และนักจดหมายเหตุที่มากประสบการณ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นการระดมความคิดเพื่อแสวงหาแนวทางในการเก็บรักษา และเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุให้เหมาะสมตามหลักกฎหมาย จริยธรรม และเคารพในสิทธิของเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรื่องราวของพวกเขาปรากฏในเอกสาร
...
ในโอกาสนี้ ยังเป็นการแนะนำโครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทยของศูนย์ฯ ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันที่จัดทำจดหมายเหตุดิจิทัลในประเทศไทยอีกด้วย
...
กำหนดการ 6 สิงหาคม 2552
08:00-09:00
ลงทะเบียนบริเวณชั้น 2
...
09:00-09:15
เปิดการประชุม โดย ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
...
09:15-10:00
“จากภาคสนามสู่ประวัติศาสตร์: ภาพสะท้อนจากงานวิจัยของนักมานุษยวิทยาในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน”
โดย ดร.ชาร์ลส์ เอฟ คายส์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
...
10:00-10:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
10:15-11:00
“ข้อมูลทางโบราณคดีในงานจดหมายเหตุ”
โดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
...
11:00-12:15
“คุณค่าของเอกสารงานวิจัยภาคสนามต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ และพัฒนาการของการเก็บข้อมูลภาคสนาม”
โดย ดร.ชาร์ล เอฟ คายส์ และ ดร.นิโคลัส ธีเบอร์เกอร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช
...
12:15-13:30
พักรับประทานอาหารกลางวัน
...
13:30-14:15
“ข้อกังขาต่อการนำบันทึกภาคสนามเผยแพร่ออนไลน์”
โดย ดร.โรเบิร์ต ลีโอโปลด์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุมานุษยวิทยาแห่งชาติ
สถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา
...
14:15 – 15:00
“การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในงานจดหมายเหตุมานุษยวิทยา: ข้อควรตระหนักด้านกฎหมายและจริยธรรม”
โดย บริจิตต์ เวซินา ที่ปรึกษาองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก สวิตเซอร์แลนด์
...
15:00-15:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
15:15-16:00
“เมื่อภาพคืนสู่ที่มา – กรณีการผลิตภาพยนตร์สารคดีในภาคเหนือของประเทศไทย เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมและการนำไปใช้ที่หลากหลาย”
โดย ดร.รอล์ฟ ฮุสมานน์ สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ เยอรมนี,
ดร.คารินา ซัว สตราเซน และสมชาย จะย่อ
...
16:00-16:30
พิธีส่งมอบสำเนาภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์จากสถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการให้แก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พร้อมชมนิทรรศการ- Tibet in 1938-1939: Photographs from the Ernst Schäfer Expedition- Picturing Culture: Fieldnotes, Still Photos and Motion Pictures- Foreigners in Siam: หลากหลาย~รำลึก กับ “จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา”
...
กำหนดการ 7 สิงหาคม 2552
9:00-10:00
“ข้อขัดแย้ง หรือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้?—หอจดหมายเหตุรัฐและกฎระเบียบโดยเจ้าของวัฒนธรรม
ในยุคดิจิทัล”
โดย ดร.คิมเบอร์ลี คริสเช่น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
...
10:00-10:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
10:15-11:15
“การรวบรวม ดูแล และเชื่อมต่อ: โครงการดิจิทัลฮิมาลายาและการเข้าถึงความรู้ทางวัฒนธรรม” http://www.digitalhimalaya.com/
โดย ดร.มาร์ค ทูริน ภาควิชามานุษยวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
...
11:15-12:15
“การจัดทำจดหมายเหตุดิจิทัลส่วนบุคคล”
โดย ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ
ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
...
12:15-13:15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
...
13:15-13:45
“โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย”
โดย ธันวดี สุขประเสริฐ และสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
นักวิชาการเอกสารสนเทศศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
13:45-15:45
ห้อง 207 “ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญากับจดหมายเหตุวัฒนธรรม”
โดย บริจิตต์ เวซินา ที่ปรึกษาองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก สวิตเซอร์แลนด์
และ ชิตพงษ์ กิตตินราดร ครีเอทีฟคอมมอนส์ ประเทศไทย
...
ห้อง 307 “การจัดการเอกสารจดหมายเหตุและการเผยแพร่ต่อสาธารณชน”
โดย ดร.มาร์ค ทูริน และ ดร.อิสรุน เองเกลฮาร์ด บรรณาธิการหนังสือเรื่อง ทิเบต 1938-1939: ภาพถ่ายจากการเดินทางในทิเบตของเอิร์นส์ ชาฟเฟอร์
ดำเนินรายการโดย ธงชัย สุวิกะปกรณ์กุล สำนักพิมพ์สิรินเดีย
...
ห้องมัลติมิเดีย (ชั้น2) “การใช้ประโยชน์จากเอกสารจดหมายเหตุ”
โดย แคลร์ โยว หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์
และ ดร.ปีเตอร์ สต๊อกคิงเกอร์ ผู้อำนวยการหน่วยศึกษาและจัดการจดหมายเหตุโสตทัศน์เพื่อการวิจัย ฝรั่งเศสhttp://www.archivesaudiovisuelles.fr/EN/
ดำเนินรายการโดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
ห้อง 407 “โครงการจดหมายเหตุดิจิทัลงานวิจัยในประเทศไทย – Digital Archives of Research on Thailand (DART)”
โดย ดร.ชาร์ลส์ เอฟ คายส์, ดร.จูดิธ เฮนชี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
และ ผศ. ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินรายการโดย ดร.อเล็กซานดรา เดเนส ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
15:45-16:30
สรุปเนื้อหาการประชุม เปิดเวทีอภิปราย
...
16:30-17:00
ปิดการประชุม
...
ชมนิทรรศการ- Tibet in 1938-1939: Photographs from the Ernst Schäfer Expedition- Picturing Culture: Fieldnotes, Still Photos and Motion Pictures- Foreigners in Siam: หลากหลาย ~รำลึก กับ “จารึกโคลงภาพต่างคนต่างภาษา”

หมายเหตุ - มีบริการแปล ภาษาอังกฤษ-ไทย ตลอดการประชุม
- กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

Colours Magazine

Where Her Soul Lives Jul 29th, 2009
Category: Photo of The Day

Ridchard Avedon Exhibition:Milan

Chase Jarvis RAW:Kung FU Production

ประชุมวิชาการและวิจัยศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1















...
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มอบหมายให้กลุ่มเสวนา Art and Culture Forum จัดการประชุมทางวิชาการและวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
...
ปาฐกถานำ เรื่อง “ ศิลปวัฒนธรรมกับคุณภาพชีวิตไทย” โดย ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
ประธานกลุ่มศิลปวัฒนธรรมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
...
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “แนวนโยบายการวิจัยศิลปวัฒนธรรมในสังคมร่วมสมัย”
โดย ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
...
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “แนวทางการทำผลงานวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม”
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ร่วมเสวนาโดย ศ.ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข
“Mural Painting Study” By Dr.Gerhard Jaiser

รายละเอียดด้านล่าง
http://cac.kku.ac.th/
























...

ปลายปี ราวเดือนพฤศจิกายน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดงาน การประชุมวิชาการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 5
...
การนำเสนอหัวข้อวิจัย บทความวิจัย เสวนาวิชาการ อัตลักษณ์ที่สลายอัตลักษณ์ (ข้า ฆ่า ข้า) มนุษยศาสตร์กับการสร้าง/รื้อสร้างอัตลักษณ์ “อัตลักษณ์” เพศภาวะ เพศวิถี วัย ชาติพันธุ์ ชนชั้น ความพิการ ฯลฯ “ความรุนแรงทางวัฒนธรรม: Foot-binding and Women in Chinese History
มนุษยศาสตร์กับคุณค่ายุคหลังสมัยใหม่ –วงการมนุษยศาสตร์ติดอยู่กับคุณค่าชุดเก่าๆ อะไรบ้าง เพราะเหตุใด และเราต้องการคุณค่าใหม่ๆ อะไรบ้าง
“ชาติ” ยุคหลังอาณานิคม – ประเด็นเรื่อง “ตัวตน” กับ “ผู้อื่น” (The Other) และ “ชาติ” กับ subject
...

วิทยากร อาทิ มารค ตามไท ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ฯลฯ
รายละเอียดด้านล่าง
http://www.thaihumanities.com/index.php/2009-02-03-13-54-06

วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒