วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

Archiving Culture in the Digital Age

Archiving Culture in the Digital Age : การประชุมนานาชาติ จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล
June 17th, 2009

“จดหมายเหตุมานุษยวิทยา” (Anthropological Archive) เป็นเอกสารอันเกิดจากการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาที่บันทึกเรื่องราวสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คน เอกสารเหล่านี้จึงเปรียบเป็น “จดหมายเหตุวัฒนธรรม” ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม ข้อมูลเหล่านี้หากได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการเก็บเอกสารจดหมายเหตุและเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ศึกษาค้นคว้า จะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้เอกสารเก่าเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น
...
โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตระหนักว่าวัสดุและเอกสารเก่าที่ได้จากการทำงานวิจัยภาคสนาม ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าและมีประโยชน์เสมอไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด จึงได้ทำการรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารงานวิจัยภาคสนามของนักมานุษยวิทยาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาทำงานวิจัยในประเทศไทย สร้างเป็นคลังข้อมูลทางมานุษยวิทยาและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและต่อยอดความรู้ในการสร้างผลงานทางวิชาการที่หลากหลายขึ้นมาใหม่
...
การประชุมนานาชาติ “จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล” ( Archiving Culture in the Digital Age)ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุในประเทศไทย รวมทั้งผู้ที่มีเอกสารเก่าไว้ในความดูแล ได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในเนื้อหาและคุณค่าของ “จดหมายเหตุวัฒนธรรม” รวมถึงเรียนรู้กระบวนการจัดการเอกสารจดหมายเหตุในยุคดิจิทัลจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และนักจดหมายเหตุที่มากประสบการณ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นการระดมความคิดเพื่อแสวงหาแนวทางในการเก็บรักษา และเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุให้เหมาะสมตามหลักกฎหมาย จริยธรรม และเคารพในสิทธิของเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรื่องราวของพวกเขาปรากฏในเอกสาร
...
ในโอกาสนี้ ยังเป็นการแนะนำโครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทยของศูนย์ฯ ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันที่จัดทำจดหมายเหตุดิจิทัลในประเทศไทยอีกด้วย
...
กำหนดการ 6 สิงหาคม 2552
08:00-09:00
ลงทะเบียนบริเวณชั้น 2
...
09:00-09:15
เปิดการประชุม โดย ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
...
09:15-10:00
“จากภาคสนามสู่ประวัติศาสตร์: ภาพสะท้อนจากงานวิจัยของนักมานุษยวิทยาในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน”
โดย ดร.ชาร์ลส์ เอฟ คายส์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
...
10:00-10:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
10:15-11:00
“ข้อมูลทางโบราณคดีในงานจดหมายเหตุ”
โดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
...
11:00-12:15
“คุณค่าของเอกสารงานวิจัยภาคสนามต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ และพัฒนาการของการเก็บข้อมูลภาคสนาม”
โดย ดร.ชาร์ล เอฟ คายส์ และ ดร.นิโคลัส ธีเบอร์เกอร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช
...
12:15-13:30
พักรับประทานอาหารกลางวัน
...
13:30-14:15
“ข้อกังขาต่อการนำบันทึกภาคสนามเผยแพร่ออนไลน์”
โดย ดร.โรเบิร์ต ลีโอโปลด์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุมานุษยวิทยาแห่งชาติ
สถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา
...
14:15 – 15:00
“การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในงานจดหมายเหตุมานุษยวิทยา: ข้อควรตระหนักด้านกฎหมายและจริยธรรม”
โดย บริจิตต์ เวซินา ที่ปรึกษาองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก สวิตเซอร์แลนด์
...
15:00-15:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
15:15-16:00
“เมื่อภาพคืนสู่ที่มา – กรณีการผลิตภาพยนตร์สารคดีในภาคเหนือของประเทศไทย เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมและการนำไปใช้ที่หลากหลาย”
โดย ดร.รอล์ฟ ฮุสมานน์ สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ เยอรมนี,
ดร.คารินา ซัว สตราเซน และสมชาย จะย่อ
...
16:00-16:30
พิธีส่งมอบสำเนาภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์จากสถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการให้แก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พร้อมชมนิทรรศการ- Tibet in 1938-1939: Photographs from the Ernst Schäfer Expedition- Picturing Culture: Fieldnotes, Still Photos and Motion Pictures- Foreigners in Siam: หลากหลาย~รำลึก กับ “จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา”
...
กำหนดการ 7 สิงหาคม 2552
9:00-10:00
“ข้อขัดแย้ง หรือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้?—หอจดหมายเหตุรัฐและกฎระเบียบโดยเจ้าของวัฒนธรรม
ในยุคดิจิทัล”
โดย ดร.คิมเบอร์ลี คริสเช่น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
...
10:00-10:15
พักรับประทานอาหารว่าง
...
10:15-11:15
“การรวบรวม ดูแล และเชื่อมต่อ: โครงการดิจิทัลฮิมาลายาและการเข้าถึงความรู้ทางวัฒนธรรม” http://www.digitalhimalaya.com/
โดย ดร.มาร์ค ทูริน ภาควิชามานุษยวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
...
11:15-12:15
“การจัดทำจดหมายเหตุดิจิทัลส่วนบุคคล”
โดย ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ
ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
...
12:15-13:15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
...
13:15-13:45
“โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย”
โดย ธันวดี สุขประเสริฐ และสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
นักวิชาการเอกสารสนเทศศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
13:45-15:45
ห้อง 207 “ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญากับจดหมายเหตุวัฒนธรรม”
โดย บริจิตต์ เวซินา ที่ปรึกษาองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก สวิตเซอร์แลนด์
และ ชิตพงษ์ กิตตินราดร ครีเอทีฟคอมมอนส์ ประเทศไทย
...
ห้อง 307 “การจัดการเอกสารจดหมายเหตุและการเผยแพร่ต่อสาธารณชน”
โดย ดร.มาร์ค ทูริน และ ดร.อิสรุน เองเกลฮาร์ด บรรณาธิการหนังสือเรื่อง ทิเบต 1938-1939: ภาพถ่ายจากการเดินทางในทิเบตของเอิร์นส์ ชาฟเฟอร์
ดำเนินรายการโดย ธงชัย สุวิกะปกรณ์กุล สำนักพิมพ์สิรินเดีย
...
ห้องมัลติมิเดีย (ชั้น2) “การใช้ประโยชน์จากเอกสารจดหมายเหตุ”
โดย แคลร์ โยว หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์
และ ดร.ปีเตอร์ สต๊อกคิงเกอร์ ผู้อำนวยการหน่วยศึกษาและจัดการจดหมายเหตุโสตทัศน์เพื่อการวิจัย ฝรั่งเศสhttp://www.archivesaudiovisuelles.fr/EN/
ดำเนินรายการโดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
ห้อง 407 “โครงการจดหมายเหตุดิจิทัลงานวิจัยในประเทศไทย – Digital Archives of Research on Thailand (DART)”
โดย ดร.ชาร์ลส์ เอฟ คายส์, ดร.จูดิธ เฮนชี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
และ ผศ. ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินรายการโดย ดร.อเล็กซานดรา เดเนส ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
...
15:45-16:30
สรุปเนื้อหาการประชุม เปิดเวทีอภิปราย
...
16:30-17:00
ปิดการประชุม
...
ชมนิทรรศการ- Tibet in 1938-1939: Photographs from the Ernst Schäfer Expedition- Picturing Culture: Fieldnotes, Still Photos and Motion Pictures- Foreigners in Siam: หลากหลาย ~รำลึก กับ “จารึกโคลงภาพต่างคนต่างภาษา”

หมายเหตุ - มีบริการแปล ภาษาอังกฤษ-ไทย ตลอดการประชุม
- กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น