วันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

เรื่องน่าอ่าน กับหนังสือ อ่าน เล่มล่าสุด

แขนที่สาม หมาบ้า ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง: อาการหลัง 919 ในภาพยนตร์ไทยจากมุมมองของนกกระจอก
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick อ่านภาพ

สี่ปีที่แล้วเราทำอะไรอยู่ในคืนวันที่ 19 ต่อเช้าวันที่ 20 กันยายน หลายคนออกมาร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลายคนอยู่่บ้านเกาะขอบจอทีวี หลายคนกินดื่มใช้ชีวิตไปตามปกติ**

จะชอบหรือชัง ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐประหาร 19 กันยาเกิดขึ้นท่ามกลางความยินดีปรีดาของผู้คน ถ้าความจำไม่สั้นจนเกินไป ใครจะลืมภาพผู้คนมากมายเอาดอกไม้มาแจกทหาร เอาโคโยตี้มาเต้นให้ทหารดูฟรี หอบลูกจูงหลานมาถ่ายรูปกับรถถัง ไม่ว่าจะชอบหรือชัง คนไทยหลายส่วนชื่นมื่นราวเป็นเจ้าของชัยชนะ ดีใจที่ทหารเข้ามาปลดล็อคทางการเมือง ทว่าผ่านมาแล้วสี่ปี ล็อคนั้นกลับแน่นหนาราวถูกย้ำตะปูหรือโบกปูนทับ รัฐประหารอันชื่นมื่นนั้นกลับเป็นรัฐประหารที่รุนแรงที่สุด ในแง่ที่มันกระชากความฝันเรื่องระบอบประชาธิปไตยให้ล่มไปจมกองฝุ่นเริ่มต้นจากศูนย์อีกครั้ง**


ผู้เขียนคิดคำเรียกช่วงเวลาสี่ปีที่ผ่านมาอย่างง่ายๆ ว่า โพสต์ – ทักษิณ แต่ถ้าจะให้เหมาะสมกว่า เราอาจเรียกมันว่า Post 919 และบรรยากาศของช่วงเวลาดังกล่าวก็ส่งผลแทรกซ้อนซ่อนนัยในเนื้อหาของภาพยนตร์อยู่จำนวนไม่น้อย กระทั่งในภาพยนตร์กระแสหลัก (หากก็เป็นเช่นเดียวกับเราทุกคนที่ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ แม้จะค่อยๆ สูญเสียสิทธิเสรีภาพไปทีละเล็กละน้อยอย่างละมุนละม่อม ด้วยข้อหาไม่รักชาติไม่รักสถาบันที่ถูกนำมาอ้างอย่างสนุกปาก) ภาพยนตร์หลายเรื่องได้่บันทึกช่วงเวลาดังกล่าวเอาไว้ ต่อให้มันคือภาพยนตร์น้ำเน่าตีหัวเข้าบ้านก็ตาม เพราะไม่ว่าจะเชื่อหรือไม่ ภาพยนตร์คือจดหมายเหตุทางสังคมโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง ถึงอย่างไรทัศนคติประจำยุคสมัยก็ล้วนลื่นไหลอยู่ในนั้น เช่นกันกับทัศนะทางการเมืองที่ปรากฏตำแหน่งแห่งที่ของมันอยู่ต่างๆ กันไปในแต่ละเรื่องเล่าที่เสมือนไม่เชื่อมโยงเหล่านั้น**


บทความนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรมากไปกว่าเป็นจดหมายเหตุรวบรวมข้อสังเกตจากหนังไทยในช่วงเวลาเหล่านี้มาประมวลผลใหม่ กล่าวตามสัตย์ นี่ที่แท้อาจเป็นเพียงความเพ้อเจ้อส่วนบุคคลของผู้เขียนเองก็ได้ ที่นำหนังไทยไปสวมบริบททางการเมืองด้วยเสื้อคลุมผิดฝาผิดตัว ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงอาการท้องอืดท้องเฟ้อของนักดูหนังหน่ายรัฐประหารคนหนึ่ง หนังไทยนั้นไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าความบันเทิงราคาถูกไร้รสนิยม เป็นเพียงปลักตมของเรื่องไร้สาระ หากปลักตมไม่ได้ผุดขึ้นมาเอง มันย่อมมีที่มาที่ไป และหากจะเรียกหนังไทยว่าปลักตม (ซึ่งผู้เขียนไม่มีวันเห็นด้วย) เราก็จะของมลงไปในปลักนั้น เพื่อดูว่ามีอะไรที่เรามองไม่เห็น (หรือจงใจไม่เห็น) ซ่อนอยู่หรือไม่*******

อ่านบทความฉบับเต็มได้จากวารสาร อ่าน http://www.readjournal.org/read-journal/2010-01-vol-7-2/post919/
มวล(ปัญญา)ชน
“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ศึกแห่งชนชั้นที่เดิมพันด้วยชีวิต
ประชาธิปไตยที่ตีนเขา (พระสุเมรุ)
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา
อวตาร: มารการเมือง
Facebook VS MySpace สงครามชั้นชนบนอินเตอร์เน็ต
ฮิวเมอริสต์แบบไม่ขำ
อ่านพระลอ: สงสัยปู่เจ้าสมิงพรายเป็นใคร?
ดำรงประเทศ
พระและเจ้า ในโลกคอมมิวนิสต์
เสือเผือก : ไม่ฆ่านาย ไม่หายจน
แม่ และโสเภณี ในเรื่องสั้น “แม่ก้อนไขมัน”
สวยลากไส้ : ปีศาจทุนนิยมในสังคมสินค้าและวิชาชีพ
ฮะเร บอลลีวู้ด, บอลลีวู้ด ฮะเร ฮะเร
แขนที่สาม หมาบ้า ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง: อาการหลัง 919 ในภาพยนตร์ไทยจากมุมมองของนกกระจอก
Photorthographie (2)
รังไหมแห่งความลับของ “บาลดาบิอู”
ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่่ ?
เจ.ดี. ซาลิงเจอร์: ศาสดาแห่ง “ตำราขบถ”
เดวิด เลอวีน “ศิลปิน” หรือนักวาดการ์ตูนการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น