วันอังคารที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒

ดูเรา ดูเขา ดูเรา การดิ้นรนเพื่อเป็น “สากล” ของหนังไทย*

Somewhere over the rainbow: รุ้งหลากสี หนังไทยหลายจินตนาการ*
เรเชล แฮร์ริสัน เรื่องจากปก
* บทความนี้เป็นการเรียบเรียงและสรุปความเป็นภาษาไทยโดย วริศา กิตติคุณเสรี จากบทความชื่อ “ ‘Somewhere over the rainbow’: global projections/local allusions in Tears of the Black Tiger/Fa thalai jone” โดย เรเชล แฮร์ริสัน

ฟ้าทะลายโจร หรือชื่อในพากย์อังกฤษ Tears of the Black Tiger (กำกับโดยวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง – 2543) สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการหนังไทยด้วยการเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้ออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2001 นักวิจารณ์หลายคนในเทศกาลคราวนั้นมองว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังโพสต์โมเดิร์นที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวและยังส่อแววของความเป็นหนัง “คัลท์” อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความชื่นชมดังกล่าวตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับกระแสตอบรับของผู้ชมในเมืองไทย ซึ่งต้องถือว่า ฟ้าทะลายโจร ล้มเหลวในเชิงพาณิชย์เพราะแทบจะไม่สามารถทำรายได้คืนทุนในการทำให้หนังเรื่องนี้สามารถมีที่ทาง น่าดึงดูด และเป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้ชมต่างประเทศนั้น ผู้กำกับวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เดินตามกระแสที่มุ่งสู่ตลาดโลกเช่นเดียวกับหนังไทยสมัยใหม่เรื่องอื่นๆ ก่อนหน้าของบรรดาผู้ที่ได้รับการขนานนามให้เป็นผู้กำกับอะวองต์การ์ดของไทยแห่งปลายศตวรรษที่ 20/ต้นศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็น นนทรีย์ นิมิบุตร, เป็นเอก รัตนเรือง, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน และยุทธเลิศ สิปปภาค
...
“เราเป็นสากลแล้ว เราไม่ใช่คนแปลกหน้าอีกต่อไป”เทศกาลเมืองคานส์อาจจะเป็นเพียงหนึ่งในเทศกาลหนังนานาชาติอีกจำนวนมาก แต่การที่ Tears of the Black Tiger เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลนี้ ย่อมถือว่ามีนัยยะสำคัญเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทยซึ่งปรารถนาจะยกระดับชื่อเสียงทางวัฒนธรรมของตัวเองสู่โลกสากล ใช่แต่เพียงเท่านั้น หนังเรื่องนี้ยังได้รับการชื่นชมและต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนักวิจารณ์ทั้งหลาย ปีเตอร์ แบรดชอว์ ถึงกับเขียนวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษว่า “หนังคัลท์ฮิตของเทศกาลเมืองคานส์ปีนี้ย่อมได้แก่ Tears of the Black Tiger ที่แสนประหลาดอัศจรรย์และสำราญใจอย่างพิสดารยิ่ง” (Bradshaw 2001:1) ปฏิกิริยาตอบรับของแบรดชอว์ต่อหนังเรื่องนี้ เป็นไปในทางเดียวกับของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ในเทศกาลเมืองคานส์ครั้งนั้น และส่งผลให้บริษัทมิราแมกซ์ของอเมริการีบคว้าลิขสิทธิ์ Tears of the Black Tiger มาจัดจำหน่าย อีกทั้งในปีเดียวกัน Tears of the Black Tiger ยังกลายเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้เข้าฉายในโรงหนังทั่วเกาะอังกฤษและออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์ช่อง 4 และช่องดิจิตอล BBC 4 ของอังกฤษด้วย
...

ไนเจล แอนดรูว์ ผู้สื่อข่าวของ Financial Times ถึงกับยกย่องว่าวิศิษฏ์เป็นผู้ปักหมุด “ประเทศใหม่ลงในแผนที่โลกของภาพยนตร์” (Andrews 2001: 18) ทั้งยังย้ำถึงความสามารถของหนังในการทำให้ชื่อเสียงของประเทศแม่ปรากฏต่อนานาชาติ อันเป็นการสถาปนาสถานะของประเทศไทยให้เป็นชาติสมัยใหม่ (และ/หรือหลังสมัยใหม่) ในเวทีโลก ดังที่วิศิษฏ์เองได้แสดงความยินดีไว้ในบทสัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ Nation ว่า “เราเป็นสากลแล้ว เราไม่ใช่คนแปลกหน้าอีกต่อไป” (The Nation/AsiaNews Network, 18 May 2001)
...

สายธารประวัติศาสตร์ว่าด้วยการตลาดของความเป็นชาติและการสังวาสกับตะวันตก
ทัศนะต่อเส้นทางและศักยภาพของหนังไทยสมัยใหม่ที่จะก้าวไปสู่เวทีสากลดังกล่าวของวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ซึ่งนำเสนอออกมาขณะที่หนังของเขากำลังประสบความสำเร็จในโลกตะวันตก สะท้อนถึงการที่เขาเอาตัวเองเข้าไปผูกกับวาระแห่งชาติทางการเมือง-วัฒนธรรมในระดับที่กว้างกว่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่อาดาดล อิงคะวณิช และริชาร์ด แมคโดนัลด์ เคยวิเคราะห์ถึงแบบแผนที่คล้ายคลึงกันนี้ในกรณีกระแสตอบรับของผู้ชมอังกฤษต่อหนังไทยเรื่อง สตรีเหล็ก ว่า
...

..หลายประเทศที่เพิ่งจะนำหนังเข้าสู่ตลาดสากล มีสถานะที่ตกเป็นรองในระบบโลก นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เกิดขึ้นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังรวมถึงด้านวัฒนธรรมด้วย ชาติที่อยู่ขอบนอกของศูนย์กลางอำนาจ มีช่องทางน้อยมากสำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์ตัวเอง (self-representation) ในสื่อระดับโลก ภาพลักษณ์ของประเทศเหล่านี้จึงมักจะถูกลดทอนเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ผู้กำกับรายที่ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์สากล จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแบกภาระการเป็นตัวแทนของชาติ ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐมักเข้ามาอ้างความสำเร็จของหนังเหล่านี้ว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการที่ชาตินั้นๆ สามารถมีตำแหน่งแห่งที่ของตนในท่ามกลางประชาคมโลกในฐานะชาติสมัยใหม่ โดยไม่นำพาว่าผู้กำกับส่วนใหญ่มักลังเลกระอักกระอ่วนใจที่จะชูธงแห่งความเป็นชาติเช่นนั้น การที่คนทำหนังคือคนที่ทำงานกับสื่อซึ่งมีความแนบแน่นกับสภาวะความเป็นสมัยใหม่ คือเป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีตลอดเวลา จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไวต่อการต้องรับบทผู้นำเสนอการเทียบเคียงชาติของตนกับชาติอื่นๆ ที่ทรงอำนาจกว่าในเวทีโลก อ่านบทความฉบับเต็มได้จากวารสาร อ่าน
http://www.readjournal.org/read-journal/2009-01-vol-4/sakon/

“Somewhere Over the Rainbow”: Global Projections/Local Allusions in ‘Tears of the Black Tiger’/Fa thalai jone
Harrison, Rachel (2007) '“Somewhere Over the Rainbow”: Global Projections/Local Allusions in ‘Tears of the Black Tiger’/Fa thalai jone.' Inter-Asia Cultural Studies, 8 (2). pp. 194-210.
Full text not available from this repository.

Abstract
When director Wisit Sasanatieng's retro cowboy flick Fa thalai jone (2000) became the first Thai film to be screened at the Cannes Film Festival in May 2001, under the English-language title Tears of the Black Tiger, Thai cinema seemed to have truly 'gone international'. This paper examines the striking disparity, however, in the reception of the film by local and global audiences, to the extent that Fa thalai jone and Tears of the Black Tiger might arguably be understood as two discrete and divergent cinematic texts at the level of viewer signification. For Western critics, 'Tears…' is unquestionably a piece of postmodern filmmaking, awash with surface aesthetic appeal, intertextual richness and an apparently unrelenting obsession with style that is seemingly devoid of an original reference point. Fa thalai jone, by contrast connotes distinct meanings for Thai audiences, who are more fully attuned to the original references the film pursues and able to read the aesthetic appeal it has to offer in a framework beyond that of the dominant 'force field' of interpretation that postmodernism has come to be in the West. Instead Fa thalai jone offers a homage to Thailand's cinematic past, posing as a 'genuine Thai film' (phaphayon thai thae) and comprehended in terms of an alternative dominant force field of meaning, that of traditionalism and reverence for the past. This paper examines the ways in which Tears of the Black Tiger/Fa thalai jone straddles two alternative interpretive positions in an accomplished move on the part of the director to pursue the globally focused aspirations of modern Thai cinema while remaining idiosyncratically faithful to local sensibilities.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น