วันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ภาพยนตร์สื่อสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมและสังคมไทย โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

หากมีการจัดอันดับหรือทำการวัดคุณภาพของภาพยนตร์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายปีนี้วงการภาพยนตร์ไทยได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากต่างประเทศที่มีบทบาทอย่างมาก

การนำเสนอสาระ การสื่อความหมายของภาพยนตร์ที่มีไปยังผู้ชมต้องอาศัยเทคนิคของศิลปการสื่อสาร การสื่อความที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน ภาพยนตร์จึงถือเป็นสื่อมวลชนอีกหนึ่งแขนงที่เนื้อหาสาระการสื่อความ อาจมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสารจะนำไปใช้ให้เกิดผลในทางใดและถือว่าเป็นอีกสื่อหนึ่งในการเป็นเครื่องบ่งชี้บริบทของสังคมได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่ผู้สร้างถูกสังคมจ้องมองว่าได้นำเสนอสาระของการนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์มากน้อย มีหรือไม่มีหรือไม่อย่างไร ผู้สร้างต้องทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมากในการลงทุนการสร้าง การลงทุนทางการตลาด การสื่อสารทั้งปวงเพื่อให้ธุรกิจของตนประสบความสำเร็จผู้รับสารที่เป็นผู้บริโภคเลือกการรับสารนั้นๆ ด้วยความสนใจจริงๆ ความบันเทิง ความชอบส่วนตัวหรือเครื่องมือทางการตลาด

ผู้รับสารได้เลือกบริโภค ภาพยนตร์เป็นผลมาจากเหตุผลใด ได้ตระหนักในคุณค่าสาระอันเป็นแก่นสารของภาพยนตร์นั้นๆ หรือไม่

ภาครัฐยังคงวางเฉยต่อสื่อสารมวลชนที่เรียกว่า ภาพยนตร์เช่นนี้ต่อไป การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยใช้สื่อนี้มีมากน้อยเพียงใด บทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่เว้นแม้แต่ผู้ชมภาพยนตร์ก็เป็นสิ่งสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมแห่งสังคมไทยทั้งสิ้น

บทความ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 1)Roxana Waterson: เขียน ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ : แปล
วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 2)Roxana Waterson: เขียน,ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ : แปล
การผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ช่วงหลังสงครามในเยอรมนี เปเตอร์ ฟูชส์ (Peter Fuchs) สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ (IWF) และสารานุกรมภาพยนตร์ (Encyclopaedia Cinematographica)
พรรณนาความชาติพันธุ์ ว่าด้วยภาพ
กำเนิดปฏิบัติการภาพยนตร์ ชาติพันธุ์: การเดินทางจากอดีตสู่เส้นทาง ในอนาคต
มานุษวิทยาโพสต์มอเดิร์นแปลและเรียบเรียงโดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ


วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ความหมายของภูมิทัศน์วัฒนธรรม

Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention 2005 ขององค์การยูเนสโก ( UNESCO)

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงการผสมผสานเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เป็นพัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานผ่านกาลเวลาภายใต้อิทธิพลของข้อจำกัดทางกายภาพ และ/หรือ เป็นสิ่งที่เห็นได้จากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมที่สืบเนื่องกันมา ใน World Heritage Convention ได้กำหนดมรดกโลกประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรม เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์อย่างตั้งใจโดยมนุษย์ (Landscape designed and created intentionally by man )

2. ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และความเชื่อ ( Organically evolved landscape ) ได้แก่ พื้นที่ปรากฏร่องรอยของภูมิทัศน์โบราณ ( A relic or fossil landscape ) และภูมิทัศน์ที่ยังคงมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง ( A continuing landscape )

3. ภูมิทัศน์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในพื้นที่ เช่น ศาสนา ลัทธิความเชื่อ ( Associative cultural
)

http://asiamuseum.co.th/upload/forum/cultural_landscape.pdf

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Afterpostmodern culture

this conference is free and open to the public.
The conference asks what culture means today and examines ways it is challenged by new discourses on ecology, the animal, sexuality, materialism, anthropology, the trans-state, and new media, among others. It also asks how methods for investigating culture have changed over the last two decades

particpants
Dwayne Dixon, DukeAnne-Lise Francois, UC BerkeleyJudith Goldman, University of ChicagoLisa Iwamoto, UC BerkeleyArlene Keizer, UC IrvineJan Mieszkowski, ReedArkady Plotnitsky, PurdueRei Terada, UC IrvineHong-An Truong, Brooklyn, New York

http://afterpostmodernculture.net/

แนวทางในการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านศิลปะและงานสร้างสรรค์

http://www.surdi.su.ac.th/paper_public/events.pdf
http://www.surdi.su.ac.th/paper_public/sum_seminar_7_8_51.pdf
http://www.surdi.su.ac.th/index1.html
http://www.surdi.su.ac.th/opdc/opdc.html

http://www.web.msu.ac.th/adminnews/fileup/20100708173330.pdf
http://finearts.pn.psu.ac.th/article/article_2548/visual_arts2.pdf

การวิจัยทางศิลปะ Research in Arts (พิมพ์ครั้งที่ 2)

การสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นการวิจัยหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผลงานศิลปะเป็นผลงานวิจัยหรือไม่ และมีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไรนั้น เป็นปัญหาที่ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในวงการการศึกษาศิลปะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากศิลปะเป็นเรื่องอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด และมีหลายประเภท รูปแบบ และวิธีการ ทั้งที่มีกระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและขั้นตอนชัดเจนคล้ายกับงานวิจัย และที่ไม่ยึดติดหรือหลีกเลี่ยงระบบ / ขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจน และที่ไม่ยอมรับหรือต่อต้านระบบ / ขั้นตอนตามแบบแผน

หนังสือ “การวิจัยทางศิลปะ” เป็นตำราเล่มแรกในวงการศิลปะในประเทศไทยที่ผู้เขียนพยายามจัดระบบ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยและการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอรูปแบบ กระบวนการ และระเบียบวิธีการวิจัยทางศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านศิลปกรรม

วันเสาร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Overview of Postmodern Movies

Like television, postmodern movies and films are a mainstay of mass-market American culture. The range of independent films to big budget Hollywood blockbusters all exhibit (and build off of) many of the Postmodern motifs shared by other art forms. Below you will find a description of the most significant themes and examples of related moves.

http://www.onpostmodernism.com/movies/default.aspx
http://www.onpostmodernism.com/links/default.aspx

อาลัยรศ.สมเกียรติ ตั้งนโม

รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเช้าวันนี้ (6 ก.ค. 53) ด้วยวัย 52 ปี โดยก่อนหน้านี้ รศ.สมเกียรติ เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (รพ.สวนดอก)

รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม เป็นนักวิชาการด้านศิลปร่วมสมัยและสุนทรียศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากรเมื่อปี 2522 ต่อมาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี 2528 และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2533 เริ่มเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในตำแหน่งอาจารย์ประจำ ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี 2535
ต่อมาในปี 2543-2544 เป็นหัวหน้าสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ ในปี 2547 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ และเป็นคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ในปี 2540 รศ.สมเกียรติ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายทางวิชาการที่ชื่อ "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ http://www.midnightuniv.org/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน

สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ
เรื่อง : อุทิศ อติมานะ

ชีวิตนั้นไร้สาระ ว่างเปล่า ผ่านมาแล้วก็ผ่านมา ที่เหลืออยู่เป็นเพียง “ความทรงจำ” เกี่ยวกับการกระทำที่ผ่านมาเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ สมเกียรติ ตั้งนโม อีกชีวิตหนึ่งที่จากไป แต่ก็ยังอยู่ใน “ความทรงจำสาธารณะ” ที่สำคัญอีกบทหนึ่งของสังคมไทย เป็นความทรงจำสาธารณะถึงชีวิตหนึ่งที่มีอุดมการณ์เพื่อ “ผลประโยชน์สาธารณะ” มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท มีวินัยอย่างคงเส้นคงวาตลอดชีวิตที่ผ่านมา ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ความไม่ยุติธรรม ความไม่ชอบธรรม ฯลฯ ในสังคมไทยและโลก ดูเหมือนว่าพันธกิจนี้จะยังคงเป็น “งานที่ไม่เสร็จ”

ความเป็นสมเกียรติ ตั้งนโม เริ่มต้นจากความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ในวงการศิลปะ จากปัญหาดังกล่าวผลักดันเขาให้สร้างสรรค์ผลงานแปล เรียบเรียง และบทความ เกี่ยวกับความรู้ขั้นสูงร่วมสมัยในศาสตร์ศิลปะและสาขาที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างมากมาย ด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า ความคิดเชิงวิจารณ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม ชอบธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงปราศจากความรอบรู้ในศาสตร์ขั้นสูงสาขาต่างๆ ซึ่งความรู้เหล่านั้นส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ถูกฝึกฝนมาให้เป็นนักแปลมืออาชีพก็ตาม หรือแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้รับค่าจ้างแปลใดๆ ตลอดช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เขาสามารถผลิตผลงานแปลและเรียบเรียง หนังสือวิชาการขั้นสูงในสาขาต่างๆ มากมายกว่าร้อยเล่มอย่างต่อเนื่อง เขาเริ่มจากการแปลและเรียบเรียงตำราวงการศิลปะ ค่อยๆก้าวมาสู่การเขียน การแปล และเรียบเรียงตำราในวงการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์