วันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ภาพยนตร์สื่อสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมและสังคมไทย โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

หากมีการจัดอันดับหรือทำการวัดคุณภาพของภาพยนตร์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายปีนี้วงการภาพยนตร์ไทยได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากต่างประเทศที่มีบทบาทอย่างมาก

การนำเสนอสาระ การสื่อความหมายของภาพยนตร์ที่มีไปยังผู้ชมต้องอาศัยเทคนิคของศิลปการสื่อสาร การสื่อความที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน ภาพยนตร์จึงถือเป็นสื่อมวลชนอีกหนึ่งแขนงที่เนื้อหาสาระการสื่อความ อาจมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสารจะนำไปใช้ให้เกิดผลในทางใดและถือว่าเป็นอีกสื่อหนึ่งในการเป็นเครื่องบ่งชี้บริบทของสังคมได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่ผู้สร้างถูกสังคมจ้องมองว่าได้นำเสนอสาระของการนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์มากน้อย มีหรือไม่มีหรือไม่อย่างไร ผู้สร้างต้องทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมากในการลงทุนการสร้าง การลงทุนทางการตลาด การสื่อสารทั้งปวงเพื่อให้ธุรกิจของตนประสบความสำเร็จผู้รับสารที่เป็นผู้บริโภคเลือกการรับสารนั้นๆ ด้วยความสนใจจริงๆ ความบันเทิง ความชอบส่วนตัวหรือเครื่องมือทางการตลาด

ผู้รับสารได้เลือกบริโภค ภาพยนตร์เป็นผลมาจากเหตุผลใด ได้ตระหนักในคุณค่าสาระอันเป็นแก่นสารของภาพยนตร์นั้นๆ หรือไม่

ภาครัฐยังคงวางเฉยต่อสื่อสารมวลชนที่เรียกว่า ภาพยนตร์เช่นนี้ต่อไป การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยใช้สื่อนี้มีมากน้อยเพียงใด บทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่เว้นแม้แต่ผู้ชมภาพยนตร์ก็เป็นสิ่งสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมแห่งสังคมไทยทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น