ภาพยนตร์เป็นศิลปะด้านสุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ซึ่งเป็นศิละแขนงที่ 7 ที่รวมเอาศิลปะแขนงอื่นๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นสื่อที่มีพลังและอิทธิมากที่สุดในการโน้มน้าวใจผู้ดู ดังนั้นธุรกิจภาพยนตร์จึงยังคงมีชีวิตอยู่รอดได้ในวงจรสื่อสารมวลชน และพัฒนาขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรม และธุรกิจข้ามชาติไปแล้ว ในการวิเคราะห์บทบาทและสถานการณ์ของภาพยนตร์ทั้งต่างประเทศและภาพยนตร์ไทย อาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง (Polotical Economy Analysis) มาเป็นกรอบอธิบาย เพื่อหาคำตอบว่า ภาพยนตร์มีบทบาทอย่างไรต่อบุคคล สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
แนวคิดพื้นฐานของ Political Economy Analysis
(1) Materialism: วัตถุนิยม
เป็นเอกลักษณ์ในการมองโลกอย่างเป็นพื้นฐาน โดยได้อธิบายความหมายของ “วัตถุ” ออกเป็นนัย คือ
วัตถุนิยม หมายถึง "ความชื่นชมนิยมในวัตถุ" เชื่อว่า "โลกและสังคมที่ดำรงอยู่นั้น" (Exist) มิได้เกิดจากเจตน์จำนงของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง แต่พัฒนาการไปตามระบบความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมนั้น
วัตถุนิยม หมายถึง "จิตสำนึกของบุคคล" (Social Consciousness) เกิดจากการดำรงอยู่จริงของบุคคล (Social Being) เป็นปัจจัยกำหนดความหมายและความเป็นจริงของวัตถุ หมายความว่าจุดศูนย์กลางทางความคิดมิได้อยู่ที่บุคคล แต่ที่อยู่วัตถุเป็นตัวกำหนดความคิดความพอใจ เช่น มีผู้มาบริการนมสด 1 แก้ว แต่มีคนมาแอบดื่ม เหลือเพียง 1/5 แก้ว บุคคลจะมีมุมมองวัตถุ (นมในแก้ว) ที่ต่างกันก็ได้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกที่มีจริง เป็นจริง (Being) ของบุคคลคนนั้น คนหนึ่งอาจโกรธพร้อมอุทาน “ใครนะมาลักดื่มนมเกือบหมดเลย ?” แต่อีกคนหนึ่งอาจคิดว่า “อ้อ! โชคดีที่ยังเหลือนมไว้ให้บ้าง”
ทำให้เกิดประเด็นคำถามที่ต้องแสวงหาองค์ความรู้ต่อไปว่า
-ใครเป็นเจ้าของสื่อภาพยนตร์ และธุรกิจภาพยนตร์ ทั้งโดยพฤตินัย และนิตินัย
-สื่อมวลชน มีบทบาทอะไรต่อการสร้างสรรค์จิตสำนึกของประชาชน และวัฒนธรรมของประชาชน (Popular Culture) ในการนำเสนอผ่านภาพยนตร์
-เนื้อหา สาระ ค่านิยม ที่จะบรรจุลงไปในภาพยนตร์มีขอบเขตเพียงไร เพื่อใคร ผลที่เกิดขึ้นมีผลต่อสังคมอย่างไร
-ธุรกิจภาพยนตร์ในระดับล่าง (คนทำหนังแผ่น) และระดับบน (ภาพยนตร์ไทยทั้งหนังฉายโรง และส่งออก) รวมทั้งระดับชาติ (ภาพยนตร์ต่างประเทศ) ใครเป็นผู้กำหนดโครงสร้าง และควบคุม ที่แท้จริง
(2) False Consciousness / Ideology: จิตสำนึกที่ผิดพลาด / อุดมการณ์
แนวคิดนี้ เชื่อว่า
-ความรู้ความคิด มาจากประสบการณ์โดยตรง (Direct Experience) และประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากผู้อื่น (Mass Mediated Experience)
-ความรู้ความคิดที่ได้รับ มีจุดผิดพลาดได้ เรียกว่า "จิตสำนึกที่ผิดพลาด" (False Consciousness) และเรียกกระบวนการนำความคิดที่ผิดพลาดนั้นมาติดตั้งให้แก่คนในสังคม ว่า "การครอบงำทางความคิด" (Manipulation)
-อภิสิทธิ์ชนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตวัตถุในสังคม จะใช้วิธีการครอบงำทางความคิด ผ่านสื่อต่างๆ จนทำให้เกิด "จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" (Cultural Imperialism) (H. Schiller: 1976) นำโดยสหรัฐ ซึ่งควบคุมสื่อสารมวลชนในระดับโลก กลายเป็นธุรกรรมข้ามชาติ ไปในที่สุด โดยเฉพาะ Hollywood กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ดึงดูดโลกทางความคิดของผู้คนทุกประเทศไว้ในมิติของมายา และเกิดการครอบงำ กลายเป็นระบบทาสใหม่ (New Root) ซึ่งดึงดูดจากทิศทางสู่จุดศูนย์กลาง โดยมี Hollywood เป็นนิวเคลียส
-การเมือง คือความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power Relation) และอำนาจที่มาจากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่งผลให้นักการเมือง และนักธุรกิจการ กลายเป็นเจ้าของสื่อ แม้แต่ภาพยนตร์ ทั้งผลิตและเผยแพร่ความรู้ ความคิด ค่านิยม วัฒนธรรมต่างๆ ให้แก่คนในสังคม ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
ดังนั้น ในทุกกิจกรรมทางสังคม ย่อมมีการเมือง และการสื่อสารทางการเมืองแทรกซึมอยู่ด้วยเสมอ ภาพยนตร์ กำลังเป็นจุดสนใจของทั้งนักธุรกิจการค้า และธุรกิจการเมือง เพราะภาพยนตร์เป็นสื่อที่ทรงพลังในการโน้มน้าวใจสูงสุด ภาพยนตร์ได้กลายเป็นธุรกิจข้ามไปเพราะอำนาจทางการเมืองเข้าครอบงำทั้งในระดับโครงสร้างและความคิด อุดมการณ์ ซึ่งส่งผลให้การกำหนดเนื้อหาสาระ การตลาด วัฒนธรรม เป็นไปตามความพึงพอใจของผู้ใช้อำนาจเหล่านั้น โดยประชาชนผู้บริโภคไม่มีสิทธ์เลือก
นักเศรษฐศาสตร์การเมือง มองว่า โครงสร้างและรูปแบบของ Mass Communication คือการส่งสารจากผู้ส่งสารจำนวนน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทาง ไปยังผู้รับสารซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ ที่แทบจะไม่ได้รับการฝึกอบรมในการรับสารแต่อย่างใด (รับเละ) ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนอิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาทำธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย โดยผ่านนักธุรกิจคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมือง
(3) Hegemony:
3.1 แนวคิดมาจาก Gramsci: แบ่งออกเป็น มุมมองจากผู้ปกครองว่า
"การครอบครองความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์" (Hegemony) ทำให้เชื่อว่า "เศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง" นั่นคือปฏิเสธความคิดความเชื่อทางจารีตประเพณีอย่างสิ้นเชิง "เรื่องของอุดมการณ์และจิตสำนึกนั้นสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระในบางกรณี" (Relative Autonomy)
แนวคิดนี้สนใจในกระบวนการทำงานของกลไกทางอุดมการณ์ของสังคม (Ideological Apparatus) คือ ชนชั้นปกครอง (Ruling Class) จะใช้กลไกการปราบปราม (Repressive Apparatus) และกลไกอุดมการณ์ (Ideological Apparatus) มาเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนใต้ปกครอง เพื่อให้ผู้ใต้ปกครองยอมรับ (Consent) ในความคิดและอำนาจ
ดังนั้น ภาพยนตร์ จึงเป็นธุรกรรม-ธุรกิจที่นักการเมือง ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะการนำสื่อภาพยนตร์ไปใช้เป็นกลไกทางอุดมการณ์ เช่นการสร้าง Agenda Setting ผ่านสื่อภาพยนตร์ จะให้ผลในการโน้มน้าวใจสูงกว่า ผสมผสานไปกับการแตกตัวของระบบบริโภคนิยม (Consumptionism) ที่มุ่งหมายการเสพทางวัตถุเป็นปัจจัยสูงสุดในชีวิต
3.2 มุมมองจากผู้ใต้ปกครอง
Hegemony คือ กระบวนการที่คนกลุ่มน้อย สามารถทำให้ความคิดและวัฒนธรรมของตนกลายเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มใหญ่ ทำให้เกิดกระบวนการแย่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมของสังคม และพื้นที่ทางความคิดของประชาชน เพื่อที่ว่ากลุ่มใดจะชนะ (เกิด Hegemonize) ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติการของคนกลุ่มนั้นๆ ความเชื่อนี้ เป็นที่มาของเวทีต่อสู้ระหว่าง NGO (องค์กรเอกชน) กับรัฐบาล แต่ NGO ไม่มีอำนาจในการครอบครองสื่อ หรือมีแต่น้อยมาก ก็เสียเปรียบอำนาจรัฐอยู่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดวาระของสื่อ Agenda Setting ระหว่างสื่อมวลชนเอง พอเป็นคู่แข่งระดับรัฐได้ เพราะความได้เปรียบความเป็นสื่อมวลชน ย่อมสร้างความเกรงกลัวให้กับอำนาจรัฐได้บ้าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว สื่อภาพยนตร์ยังมองไม่เห็นบทนี้ชัดเจน
(4) Class Conflict: ความขัดแย้งทางชนชั้น
แนวคิดนี้เชื่อว่า ความขัดแย้ง Conflict เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของสังคม ดังนั้น จงแสวงหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งนั้น เพื่อพัฒนาสังคมให้ผาสุก กลุ่มคนที่ข้ดแย้งกันจะพยายามใช้กลไกความรุนแรงและอุดมการณ์เป็นเครื่องมือต่อสู้กัน สื่อมวลชนจะทำหน้าที่ซ่อนเร้นความขัดแย้งทางชนชั้น หรือเสนอภาพลวงตามแบบเพ้อฝันเพื่อลดปัญหาบทบาทของสื่อที่มีต่อความข้ดแย้ง ด้วยการทำหน้าที่รักษาสภาพการณ์ให้คงเดิม (Status Quo) ไว้ให้มากที่สุด เช่น การนำเสนออุดมการณ์กระแสหลักของบทบาทสื่อ (Mainstream Ideology) ทำหน้าที่เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่สังคม (Alternative Ideology) ทำหน้าที่เสนออุดมการณ์ที่ต่อต้านสังคม (Opposition Ideology)
ภาพยนตร์ถูกนำไปใช้สร้างความสมานฉันทน์ระหว่างกลุ่มคนได้ พอๆ กับ สร้างความเกลียดชังกันได้ระหว่างเชื้อชาติ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง King And Anna สร้างความบาดหมางทางสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาลน่าจะสร้างภาพยนตร์ เพื่อสร้างความสมานฉันท์ระหว่างคนในสามจังหวัดภาคใต้ โดยระดมทุน ความคิด จากผู้เกี่ยวข้องเพื่องานอันใหญ่หลวงนี้
(5) Alienation: ความแปลกแยก
ความแปลกแยก เป็นสภาวะของมุนษย์ที่มีชีวิตอยู่ในระบบทุนนิยมที่ถูกตัดสายสัมพันธ์จากสรรพสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนทำให้เกิดอาการแปลกแยกทางจิตใจ ได้แก่ ความแปลกในวิถีชีวิตการงาน และครอบครัว ภาพยนตร์กลายเป็นส่วนส่งเสริมให้เกิดสภาวะนี้ไปโดยปริยาย อันเนื่องมาจาก ถูกนำไปใช้เพื่อโฆษณาการบริโภคสินค้าอย่างไม่มีบันยะบันยัง
(6) Consumption Society: สังคมบริโภค
ในศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาสามารถพัฒนาพลังการผลิต แก้ปัญหาเรื่องผลิต จนผลิตได้เกินความต้องการของบุคคล ทำให้เกิดปัญหาใหม่ของระบบทุนนิยมว่า ทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นและเร่งให้มีการบริโภคให้มากและให้เร็วที่สุด โดยใช้ Advertising เป็นเครื่องมือ
-Advertising จะเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์ยอมทำงานหนัก เพื่อแลกเงินนำไปซื้อสิ่งบริโภค
-ทำให้คนหลบหนี Escapist ปัญหาที่แท้จริง ไม่ใส่ใจในการวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา ดังนั้น สื่อทำหน้าที่บรรเทาปัญหาให้หายเป็นพักๆ
-มนุษย์ปัจจุบันถูกสร้างภาพลวงตาว่าชีวิตเป็นอิสระในการเลือกบริโภค ซึ่งความจริงแล้วถูกบังคับให้บริโภคตามที่สื่อเสนอ (Enzenberge: 1974)
แนวคิดที่ (6) จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดว่าทำไม สื่อภาพยนตร์จึงตกอยู่ภายในอำนาจทางการเมือง กลายเป็นเครื่องมือของธุรกิจการเมือง และการค้าทุกระดับ โครงสร้างทางความคิดอุดมการณ์ การบริหารจัดการ การตลาด การโฆษณษประชาสัมพันธ์ การเงิน-บัญชี ล้วนถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจทั้งสิ้น ทำให้เกิดการแข่งขันการผลิตสื่อ ธุรกิจหนังแผ่น กำลังรุ่งเรือง ขนานไปกับ การละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเสรีภาพทางการค้าที่สังคมไทยเคยชินได้เปิดช่องไว้ จนกลายเป็นประเพณีไปเสียแล้ว โดยมีห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เป็นศูนย์กลางอำนาจที่ใหญ่สุดในการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นแหล่งผลิต-ขาย สื่ออนาจารมากที่สุด และเสรีอย่างไร้ขีดจำกัด
http://www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/truexpert/@information/cm4302/file01.doc
วันพุธที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น