วันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ภาพยนตร์สื่อสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมและสังคมไทย โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

หากมีการจัดอันดับหรือทำการวัดคุณภาพของภาพยนตร์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายปีนี้วงการภาพยนตร์ไทยได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากต่างประเทศที่มีบทบาทอย่างมาก

การนำเสนอสาระ การสื่อความหมายของภาพยนตร์ที่มีไปยังผู้ชมต้องอาศัยเทคนิคของศิลปการสื่อสาร การสื่อความที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน ภาพยนตร์จึงถือเป็นสื่อมวลชนอีกหนึ่งแขนงที่เนื้อหาสาระการสื่อความ อาจมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสารจะนำไปใช้ให้เกิดผลในทางใดและถือว่าเป็นอีกสื่อหนึ่งในการเป็นเครื่องบ่งชี้บริบทของสังคมได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่ผู้สร้างถูกสังคมจ้องมองว่าได้นำเสนอสาระของการนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์มากน้อย มีหรือไม่มีหรือไม่อย่างไร ผู้สร้างต้องทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมากในการลงทุนการสร้าง การลงทุนทางการตลาด การสื่อสารทั้งปวงเพื่อให้ธุรกิจของตนประสบความสำเร็จผู้รับสารที่เป็นผู้บริโภคเลือกการรับสารนั้นๆ ด้วยความสนใจจริงๆ ความบันเทิง ความชอบส่วนตัวหรือเครื่องมือทางการตลาด

ผู้รับสารได้เลือกบริโภค ภาพยนตร์เป็นผลมาจากเหตุผลใด ได้ตระหนักในคุณค่าสาระอันเป็นแก่นสารของภาพยนตร์นั้นๆ หรือไม่

ภาครัฐยังคงวางเฉยต่อสื่อสารมวลชนที่เรียกว่า ภาพยนตร์เช่นนี้ต่อไป การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยใช้สื่อนี้มีมากน้อยเพียงใด บทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่เว้นแม้แต่ผู้ชมภาพยนตร์ก็เป็นสิ่งสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมแห่งสังคมไทยทั้งสิ้น

บทความ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 1)Roxana Waterson: เขียน ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ : แปล
วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 2)Roxana Waterson: เขียน,ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ : แปล
การผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ช่วงหลังสงครามในเยอรมนี เปเตอร์ ฟูชส์ (Peter Fuchs) สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ (IWF) และสารานุกรมภาพยนตร์ (Encyclopaedia Cinematographica)
พรรณนาความชาติพันธุ์ ว่าด้วยภาพ
กำเนิดปฏิบัติการภาพยนตร์ ชาติพันธุ์: การเดินทางจากอดีตสู่เส้นทาง ในอนาคต
มานุษวิทยาโพสต์มอเดิร์นแปลและเรียบเรียงโดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ


วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ความหมายของภูมิทัศน์วัฒนธรรม

Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention 2005 ขององค์การยูเนสโก ( UNESCO)

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงการผสมผสานเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เป็นพัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานผ่านกาลเวลาภายใต้อิทธิพลของข้อจำกัดทางกายภาพ และ/หรือ เป็นสิ่งที่เห็นได้จากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมที่สืบเนื่องกันมา ใน World Heritage Convention ได้กำหนดมรดกโลกประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรม เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์อย่างตั้งใจโดยมนุษย์ (Landscape designed and created intentionally by man )

2. ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และความเชื่อ ( Organically evolved landscape ) ได้แก่ พื้นที่ปรากฏร่องรอยของภูมิทัศน์โบราณ ( A relic or fossil landscape ) และภูมิทัศน์ที่ยังคงมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง ( A continuing landscape )

3. ภูมิทัศน์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในพื้นที่ เช่น ศาสนา ลัทธิความเชื่อ ( Associative cultural
)

http://asiamuseum.co.th/upload/forum/cultural_landscape.pdf

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Afterpostmodern culture

this conference is free and open to the public.
The conference asks what culture means today and examines ways it is challenged by new discourses on ecology, the animal, sexuality, materialism, anthropology, the trans-state, and new media, among others. It also asks how methods for investigating culture have changed over the last two decades

particpants
Dwayne Dixon, DukeAnne-Lise Francois, UC BerkeleyJudith Goldman, University of ChicagoLisa Iwamoto, UC BerkeleyArlene Keizer, UC IrvineJan Mieszkowski, ReedArkady Plotnitsky, PurdueRei Terada, UC IrvineHong-An Truong, Brooklyn, New York

http://afterpostmodernculture.net/

แนวทางในการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านศิลปะและงานสร้างสรรค์

http://www.surdi.su.ac.th/paper_public/events.pdf
http://www.surdi.su.ac.th/paper_public/sum_seminar_7_8_51.pdf
http://www.surdi.su.ac.th/index1.html
http://www.surdi.su.ac.th/opdc/opdc.html

http://www.web.msu.ac.th/adminnews/fileup/20100708173330.pdf
http://finearts.pn.psu.ac.th/article/article_2548/visual_arts2.pdf

การวิจัยทางศิลปะ Research in Arts (พิมพ์ครั้งที่ 2)

การสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นการวิจัยหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผลงานศิลปะเป็นผลงานวิจัยหรือไม่ และมีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไรนั้น เป็นปัญหาที่ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในวงการการศึกษาศิลปะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากศิลปะเป็นเรื่องอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด และมีหลายประเภท รูปแบบ และวิธีการ ทั้งที่มีกระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและขั้นตอนชัดเจนคล้ายกับงานวิจัย และที่ไม่ยึดติดหรือหลีกเลี่ยงระบบ / ขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจน และที่ไม่ยอมรับหรือต่อต้านระบบ / ขั้นตอนตามแบบแผน

หนังสือ “การวิจัยทางศิลปะ” เป็นตำราเล่มแรกในวงการศิลปะในประเทศไทยที่ผู้เขียนพยายามจัดระบบ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยและการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอรูปแบบ กระบวนการ และระเบียบวิธีการวิจัยทางศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านศิลปกรรม

วันเสาร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Overview of Postmodern Movies

Like television, postmodern movies and films are a mainstay of mass-market American culture. The range of independent films to big budget Hollywood blockbusters all exhibit (and build off of) many of the Postmodern motifs shared by other art forms. Below you will find a description of the most significant themes and examples of related moves.

http://www.onpostmodernism.com/movies/default.aspx
http://www.onpostmodernism.com/links/default.aspx

อาลัยรศ.สมเกียรติ ตั้งนโม

รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเช้าวันนี้ (6 ก.ค. 53) ด้วยวัย 52 ปี โดยก่อนหน้านี้ รศ.สมเกียรติ เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (รพ.สวนดอก)

รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม เป็นนักวิชาการด้านศิลปร่วมสมัยและสุนทรียศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากรเมื่อปี 2522 ต่อมาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี 2528 และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2533 เริ่มเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในตำแหน่งอาจารย์ประจำ ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี 2535
ต่อมาในปี 2543-2544 เป็นหัวหน้าสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ ในปี 2547 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ และเป็นคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ในปี 2540 รศ.สมเกียรติ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายทางวิชาการที่ชื่อ "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ http://www.midnightuniv.org/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน

สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ
เรื่อง : อุทิศ อติมานะ

ชีวิตนั้นไร้สาระ ว่างเปล่า ผ่านมาแล้วก็ผ่านมา ที่เหลืออยู่เป็นเพียง “ความทรงจำ” เกี่ยวกับการกระทำที่ผ่านมาเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ สมเกียรติ ตั้งนโม อีกชีวิตหนึ่งที่จากไป แต่ก็ยังอยู่ใน “ความทรงจำสาธารณะ” ที่สำคัญอีกบทหนึ่งของสังคมไทย เป็นความทรงจำสาธารณะถึงชีวิตหนึ่งที่มีอุดมการณ์เพื่อ “ผลประโยชน์สาธารณะ” มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท มีวินัยอย่างคงเส้นคงวาตลอดชีวิตที่ผ่านมา ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ความไม่ยุติธรรม ความไม่ชอบธรรม ฯลฯ ในสังคมไทยและโลก ดูเหมือนว่าพันธกิจนี้จะยังคงเป็น “งานที่ไม่เสร็จ”

ความเป็นสมเกียรติ ตั้งนโม เริ่มต้นจากความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ในวงการศิลปะ จากปัญหาดังกล่าวผลักดันเขาให้สร้างสรรค์ผลงานแปล เรียบเรียง และบทความ เกี่ยวกับความรู้ขั้นสูงร่วมสมัยในศาสตร์ศิลปะและสาขาที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างมากมาย ด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า ความคิดเชิงวิจารณ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม ชอบธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงปราศจากความรอบรู้ในศาสตร์ขั้นสูงสาขาต่างๆ ซึ่งความรู้เหล่านั้นส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ถูกฝึกฝนมาให้เป็นนักแปลมืออาชีพก็ตาม หรือแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้รับค่าจ้างแปลใดๆ ตลอดช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เขาสามารถผลิตผลงานแปลและเรียบเรียง หนังสือวิชาการขั้นสูงในสาขาต่างๆ มากมายกว่าร้อยเล่มอย่างต่อเนื่อง เขาเริ่มจากการแปลและเรียบเรียงตำราวงการศิลปะ ค่อยๆก้าวมาสู่การเขียน การแปล และเรียบเรียงตำราในวงการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

เรื่องน่าอ่าน กับหนังสือ อ่าน เล่มล่าสุด

แขนที่สาม หมาบ้า ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง: อาการหลัง 919 ในภาพยนตร์ไทยจากมุมมองของนกกระจอก
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick อ่านภาพ

สี่ปีที่แล้วเราทำอะไรอยู่ในคืนวันที่ 19 ต่อเช้าวันที่ 20 กันยายน หลายคนออกมาร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลายคนอยู่่บ้านเกาะขอบจอทีวี หลายคนกินดื่มใช้ชีวิตไปตามปกติ**

จะชอบหรือชัง ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐประหาร 19 กันยาเกิดขึ้นท่ามกลางความยินดีปรีดาของผู้คน ถ้าความจำไม่สั้นจนเกินไป ใครจะลืมภาพผู้คนมากมายเอาดอกไม้มาแจกทหาร เอาโคโยตี้มาเต้นให้ทหารดูฟรี หอบลูกจูงหลานมาถ่ายรูปกับรถถัง ไม่ว่าจะชอบหรือชัง คนไทยหลายส่วนชื่นมื่นราวเป็นเจ้าของชัยชนะ ดีใจที่ทหารเข้ามาปลดล็อคทางการเมือง ทว่าผ่านมาแล้วสี่ปี ล็อคนั้นกลับแน่นหนาราวถูกย้ำตะปูหรือโบกปูนทับ รัฐประหารอันชื่นมื่นนั้นกลับเป็นรัฐประหารที่รุนแรงที่สุด ในแง่ที่มันกระชากความฝันเรื่องระบอบประชาธิปไตยให้ล่มไปจมกองฝุ่นเริ่มต้นจากศูนย์อีกครั้ง**


ผู้เขียนคิดคำเรียกช่วงเวลาสี่ปีที่ผ่านมาอย่างง่ายๆ ว่า โพสต์ – ทักษิณ แต่ถ้าจะให้เหมาะสมกว่า เราอาจเรียกมันว่า Post 919 และบรรยากาศของช่วงเวลาดังกล่าวก็ส่งผลแทรกซ้อนซ่อนนัยในเนื้อหาของภาพยนตร์อยู่จำนวนไม่น้อย กระทั่งในภาพยนตร์กระแสหลัก (หากก็เป็นเช่นเดียวกับเราทุกคนที่ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ แม้จะค่อยๆ สูญเสียสิทธิเสรีภาพไปทีละเล็กละน้อยอย่างละมุนละม่อม ด้วยข้อหาไม่รักชาติไม่รักสถาบันที่ถูกนำมาอ้างอย่างสนุกปาก) ภาพยนตร์หลายเรื่องได้่บันทึกช่วงเวลาดังกล่าวเอาไว้ ต่อให้มันคือภาพยนตร์น้ำเน่าตีหัวเข้าบ้านก็ตาม เพราะไม่ว่าจะเชื่อหรือไม่ ภาพยนตร์คือจดหมายเหตุทางสังคมโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง ถึงอย่างไรทัศนคติประจำยุคสมัยก็ล้วนลื่นไหลอยู่ในนั้น เช่นกันกับทัศนะทางการเมืองที่ปรากฏตำแหน่งแห่งที่ของมันอยู่ต่างๆ กันไปในแต่ละเรื่องเล่าที่เสมือนไม่เชื่อมโยงเหล่านั้น**


บทความนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรมากไปกว่าเป็นจดหมายเหตุรวบรวมข้อสังเกตจากหนังไทยในช่วงเวลาเหล่านี้มาประมวลผลใหม่ กล่าวตามสัตย์ นี่ที่แท้อาจเป็นเพียงความเพ้อเจ้อส่วนบุคคลของผู้เขียนเองก็ได้ ที่นำหนังไทยไปสวมบริบททางการเมืองด้วยเสื้อคลุมผิดฝาผิดตัว ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงอาการท้องอืดท้องเฟ้อของนักดูหนังหน่ายรัฐประหารคนหนึ่ง หนังไทยนั้นไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าความบันเทิงราคาถูกไร้รสนิยม เป็นเพียงปลักตมของเรื่องไร้สาระ หากปลักตมไม่ได้ผุดขึ้นมาเอง มันย่อมมีที่มาที่ไป และหากจะเรียกหนังไทยว่าปลักตม (ซึ่งผู้เขียนไม่มีวันเห็นด้วย) เราก็จะของมลงไปในปลักนั้น เพื่อดูว่ามีอะไรที่เรามองไม่เห็น (หรือจงใจไม่เห็น) ซ่อนอยู่หรือไม่*******

อ่านบทความฉบับเต็มได้จากวารสาร อ่าน http://www.readjournal.org/read-journal/2010-01-vol-7-2/post919/
มวล(ปัญญา)ชน
“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ศึกแห่งชนชั้นที่เดิมพันด้วยชีวิต
ประชาธิปไตยที่ตีนเขา (พระสุเมรุ)
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา
อวตาร: มารการเมือง
Facebook VS MySpace สงครามชั้นชนบนอินเตอร์เน็ต
ฮิวเมอริสต์แบบไม่ขำ
อ่านพระลอ: สงสัยปู่เจ้าสมิงพรายเป็นใคร?
ดำรงประเทศ
พระและเจ้า ในโลกคอมมิวนิสต์
เสือเผือก : ไม่ฆ่านาย ไม่หายจน
แม่ และโสเภณี ในเรื่องสั้น “แม่ก้อนไขมัน”
สวยลากไส้ : ปีศาจทุนนิยมในสังคมสินค้าและวิชาชีพ
ฮะเร บอลลีวู้ด, บอลลีวู้ด ฮะเร ฮะเร
แขนที่สาม หมาบ้า ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง: อาการหลัง 919 ในภาพยนตร์ไทยจากมุมมองของนกกระจอก
Photorthographie (2)
รังไหมแห่งความลับของ “บาลดาบิอู”
ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่่ ?
เจ.ดี. ซาลิงเจอร์: ศาสดาแห่ง “ตำราขบถ”
เดวิด เลอวีน “ศิลปิน” หรือนักวาดการ์ตูนการเมือง

วันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

The official synopsis of Ong Bak 3 has been unveiled at the American Film Market:Ong Bak 3 plot:"The legend of Ong Bak 3 begins after Tien (Tony Jaa) has lost his fighting skills and his beloved step-father at the Garuda's Wing cliff from the raid led by Jom Rachan (Saranyu Wonggrajang). Tien is brought back to life with the help from Pim (Primrata Dechudom) as well as Mhen (Petchai Wongkamlao) and the Kana Khone villagers. Deep into the meditation taught by Phra Bua (Nirutti Sirijanya), Tien finally is able to achieve 'Nathayut'. His talents are put to the test again when his rivals including the Golden-Armored King’s Guard (Supakorn 'Tok' Kijusuwan), the mysterious killers in black, and Bhuti Sangkha (Dan Chupong) return for the final massive showdown."

http://thaifilmjournal.blogspot.com/2008/12/sia-jiang-there-will-be-ong-bak-3.html
http://ongbak3.movie-trailer.com/

เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity)

ปัจจุบันคำที่ใช้กันมากและอาจสร้างความสงสัยให้ผู้คนได้ไม่น้อยก็คือคำว่า Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้

เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่รู้จักใช้คอนเซ็ปท์ Creative Economy (CE) ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง การส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลกในรูปของภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง นักร้อง แฟชั่น การท่องเที่ยว ศิลปะการแสดง อาหาร ฯลฯ ซึ่งสร้างการจ้างงานและรายได้อย่างมหาศาลเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชม

ความหมายอย่างง่ายของ CE ซึ่งให้โดย John Hawkins (ในหนังสือชื่อ The Creative Economy : How People Make Money From Ideas ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC) ก็คือ "การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์" สาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่ CE จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries หรือ CI) ซึ่งหมายถึงกลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ

UNCTAD แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ......
1) ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และสภาพสังคม เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional Cultural Expression) เช่น ศิลปะและงานฝีมือ เทศกาลงานและงานฉลอง เป็นต้น และกลุ่มที่ตั้งทางวัฒนธรรม (Cultural Sites) เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และการแสดงนิทรรศการ เป็นต้น
2) ประเภทศิลปะ (Arts) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะ และวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 กุล่ม คือ งานศิลปะ (Visual Arts) เช่น ภาพวาด รูปปั้น ภาพถ่าย และวัตถุโบราณ เป็นต้น รวมทั้งศิลปะการแสดง (Performing Arts) เช่น การแสดงดนตรี การแสดงละคร การเต้นรำ โอเปร่า ละครสัตว์ และการเชิดหุ่นกระบอก เป็นต้น
3) ประเภทสื่อ (Media) เป็นกลุ่มสื่อผลิตงานสร้างสรรค์ที่สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ งานสื่อสิ่งพิมพ์ (Publishing and Printed Media) เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ เป็นต้น และงานโสตทัศน์ (Audiovisual) เช่น ภาพยนตร์โทรทัศน์ วิทยุ และการออกอากาศอื่นๆ เป็นต้น
4) ประเภท (Functional Creation) เป็นกลุ่มของสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มการออกแบบ (Design) เช่น การออกแบบภายใน กราฟิค แฟชั่น อัญมณี และของเด็กเล่น เป็นต้น ส่วนกลุ่ม New Media ได้แก่ ซอฟต์แวร์ วิดีโอเกม และเนื้อหาดิจิตอล เป็นต้น และกลุ่มบริการทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative Services) ได้แก่ บริการทางสถาปัตยกรรม โฆษณา วัฒนธรรมและนันทนาการ งานวิจัยและพัฒนา และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น......."

ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดขอบเขตของ CE หรือ CI อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ได้พยายามจัดกลุ่มของ CI ตามลักษณะของบัญชีรายได้ประชาชาติ โดยแบ่งออกเป็น 9 กลุ่มได้แก่
1) งานฝีมือและหัตถกรรม (Crafts) 2) งานออกแบบ (Design) 3) แฟชั่น (Fashion) 4) ภาพยนตร์และวิดีโอ (Film & Video) 5) การกระจายเสียง (Broadcasting) 6) ศิลปะการแสดง (Performing Arts) 7) ธุรกิจโฆษณา (Advertising) 8) ธุรกิจการพิมพ์ (Publishing) 9) สถาปัตยกรรม (Architecture)
ข้อมูลของสำนักบัญชีประชาชาติปี 2549 ระบุว่ามูลค่าของ CI ของทั้ง 9 กลุ่มข้างต้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.4 ของ GDP โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 848,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกในปี 2549 ประมาณ 289,000 ล้านบาท

ประเทศไทยมีวัตถุดิบที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็นสินทรัพย์สร้างสรรค์ (Creative Assets) อยู่มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นในด้านรูปธรรมหรือนามธรรม ซึ่งสามารถนำไปสร้างเสริม CE ได้เป็นอย่างดี

ในด้านรูปธรรม เรามีพระบรมมหาราชวัง พระแก้วมรกต พระพุทธรูปงดงามพระราชวัง วัดวาอาราม เรือสุพรรณหงส์ อาหารไทย รำไทย นวดไทย ข้าวไทย ผลไม้ไทย ผ้าไหมไทย สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยว เช่น อยุธยา สุโขทัย เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา เยาวราช สำเพ็ง เขาพระวิหาร เมืองโบราณ ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ

ในด้านนามธรรม เรามีเรื่องราวของ Siamese Twins อิน-จัน (คำว่า Siamese สามารถช่วยสร้าง CE ได้เป็นอย่างดีเพราะฝรั่งรู้จัก Siamese Twins/ Siamese Cats แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าประเทศไทยกับสยามคือประเทศเดียวกัน บ้างก็นึกว่า Thailand คือ Taiwan) สะพานข้ามแม่น้ำแคว เขาตะปู (ในตอนหนึ่งของภาพยนตร์ 007 James Bond) ฯลฯ

วัตถุดิบเหล่านี้กำลังรอคอยการพัฒนาขึ้นเป็น Creative Assets เพื่อเป็นปัจจัยในการสร้าง Creative Industries

หัวใจสำคัญของการพัฒนาก็คือความคิดสร้างสรรค์ (Creative Ideas) ซึ่งมิได้ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด หากเกิดขึ้นจากการมีทักษะในการคิด (Thinking Skills) และการมีความคิดริเริ่ม (Originality) ซึ่งต้องมีการเรียนการสอน ฝึกฝนกันในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง

ในแผนงานกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 (2553-2555) ของรัฐบาลชุดนายกฯ อภิสิทธิ์นี้ งานสร้าง CE ได้รับเงินจัดสรรรวม 17,585 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่การส่งเสริมและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา การส่งเสริมเอกลักษณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมช่างฝีมือไทย การส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงและซอฟต์แวร์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมรวมออกแบบและสินค้าเชิงสร้างสรรค์ และการขับเคลื่อนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

หากประเทศของเราจะอยู่ได้ดีในหลายทศวรรษหน้า ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศเราจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับต่ำสุด คือ เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยปัจจัยการผลิต (Factor-driven Economy คือ การใช้การผลิตด้วยต้นทุนต่ำเป็นปัจจัยสำคัญ) เพื่อเข้าสู่ระดับความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นลำดับคือ เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ (Efficiency-driven Economy)
และเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) ในที่สุด

แหล่งที่มา โดย วรากรณ์ สามโกเศศ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11422

Presentation click เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับประเทศไทย
Presentation เรื่อง “จากพลังความคิดสู่....เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Transforming Thai Society with Creativity) บรรยายโดย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
Presentation เรื่อง “การชี้แจงแนวทางการระดมความเห็นกลุ่มย่อย จากพลังความคิด...สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” บรรยายโดย รองเลขาธิการ สศช. (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)

Presentation การระดมความเห็นกลุ่มย่อย
กลุ่มที่ 1:“วัฒนธรรมสร้างค่า ภูมิปัญญาสร้างไทย” (ด้านมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม)
กลุ่มที่ 2:“ออกแบบนำคุณค่า พัฒนางานฝีมือไทย” (ด้านอุตสาหกรรมช่างฝีมือ สินค้าเชิงสร้างสรรค์และออกแบบ)
กลุ่มที่ 3:“ผสานสื่อ สาระและบันเทิง เบิกทางเศรษฐกิจใหม่” (ด้านอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง และซอฟท์แวร์)

http://www.unctad.org/en/docs/ditc20082cer_en.pdf

แหล่งความรู้













จินตนาการสู่ปี 2000 : นวกรรมเชิงกระบวนทัศน์ด้านไทยศึกษา? ประชาธิปไตยไทยหลังสมัยใหม่ "ท่อง" ไปในแดนโพสต์โมเดิร์น: ความเหมือน/อัตลักษณ์และความแตกต่างในการเมือง สภาวะสมัยใหม่ของวัฒนธรรมการอ่าน : ห้องสมุดกับการเผชิญหน้ากันของ ตา และ หู ความรู้ต้อง(ไม่)ห้าม: จักรญาณนิยม การรวมศูนย์ศิลปะของการกระจายตัวของศิลปะและการเมือง

http://toshokanreview.blogspot.com/2010/01/pdf.html
http://thaneswongyannawa.blogspot.com/2010/01/blog-post_02.html

วันศุกร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

ระหว่าง “ตลาด” กับ “ศิลปะ”

[หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย / ธนา วงศ์ญาณณาเวช / Unfinished Project Publishing, พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2551]

หนังสือเล่มบางๆ นี้ตบตาคนอ่าน แอบแฝงมาอยู่ในชั้นหนังสือเกี่ยวกับหนัง ทำท่าเหมือนจะอธิบายความเป็นหนังศิลปะว่าไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่ประกอบขึ้นมาจากปัจจัยมากมาย ทว่าคนรักหนังอ่านแล้วอาจจะหงายหลังล้มตึง เพราะองค์ประกอบต่างๆ ที่หนังสือเล่มนี้ยกมานั้น เป็นไปเพื่อถอดรื้อมายาคติเกี่ยวกับความเป็นศิลปะของหนังต่างหาก

พูดง่ายๆ ว่าหนังไม่ได้เป็นศิลปะในตัวเอง แต่ความเป็นศิลปะของหนังประกอบสร้างขึ้นมาจากกรอบความคิดและสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความจริงแล้วหนังสือเล่มนี้เป็นงานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ ศึกษาวัฒนธรรมเพื่ออธิบายวาทกรรมในการประกอบสร้างแนวคิดนั้นๆ ขึ้นมา เพียงแต่เขียนในรูปแบบที่ลำลองหน่อยเท่านั้น

ธนา วงศ์ญาณณาเวช เป็นนามแฝงของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับ “เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น” คนหนึ่งของเมืองไทย ฉายานี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่มาจากความรู้ที่ล้วงลึกเข้าไปในรากเหง้าของวัฒนธรรมตะวันตกอันเป็นต้นกำเนิดของปรัชญาสมัยใหม่ทั้งหลาย จนเห็นที่มาของกระสวนความคิดซึ่งสัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์ของชาวตะวันตกอย่างแยกไม่ออก ซึ่งหากจะเข้าใจให้ถ่องแท้ก็ต้องรู้ซึ้งถึงที่มานั้นด้วย

แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ หรือ Postmodernism ส่วนใหญ่จะเป็นการถอดรื้อปรัชญาสมัยใหม่ลงในหลายด้าน แต่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องเข้าใจความเป็นสมัยใหม่อย่างถ่องแท้เสียก่อน นักวิชาการผู้นี้เสนอผลงานศึกษาเรื่องยากๆ ยุ่งๆ เหล่านี้ออกมาอย่างจริงจังและต่อเนื่องกว่าใคร มิเพียงเท่านั้นลีลาของเขายังเป็นแบบโพสต์โมเดิร์นโดยเนื้อแท้ ขณะที่นักวิชาการท่านอื่นอาจจะพยายามเรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับ “หลังสมัยใหม่” ด้วยระเบียบวิธีที่ชัดเจนแบบ “สมัยใหม่” แต่ “ธนา” ยังคงทิ้งร่องรอยวกวนแตกกระจายไม่รู้จบในสัมพันธบทของความหมาย อันเป็นภาวะพื้นฐานอย่างหนึ่งของความเป็นหลังสมัยใหม่

ดังจะเห็นว่า ด้วยความที่เป็นคนรู้เยอะ การเล่าเรื่องของเขามักจะมีการอธิบายขยายความซ้อนการอธิบายขยายความต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนยากที่จะจับเค้าโครง หรืออาจจะไม่มีเค้าโครงเลย นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยของประเด็นที่กำลังกล่าวถึง เพราะฉะนั้นหนึ่งประโยคของเขาอาจจะขยายยาวได้หลายหน้ากระดาษ นอกจากนี้ประเด็นที่เขาหยิบยกขึ้นมาบ่อยครั้งก็ออกไปทางแผลงๆ แต่ละลานตาไปด้วยความรู้สารพันอย่างคาดไม่ถึง

ด้วยหน้าที่การงานแล้ว “ธนา” เป็นอาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ แต่เขาก็มีผลงานครอบคลุมหลายศาสตร์ โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์ความคิดและวัฒนธรรมศึกษา ธนา วงศ์ญาณณาเวช เป็นนามที่เขาใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับหนัง ดนตรี หรือมหรสพอื่นๆ เป็นประจำ สวนใหญ่จะเป็นมหรสพชั้นสูงของตะวันตกที่ต้องใช้ความรอบรู้เป็นพิเศษ หรือแม้จะเขียนถึงหนังธรรมดา เขาก็จะตีความประเด็นที่สนใจเสียจนล้ำลึก

หนังสือ “หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย” ไม่ได้เขียนถึงตัวหนังโดยตรง แต่เขียนถึงกระบวนการของการสร้างคุณค่าในเชิงศิลปะให้กับหนัง เพื่ออธิบายเชื่อมโยงถึงสภาพการณ์บางอย่างในสังคม กรณีศึกษาที่เขายกมาเป็นตุ๊กตาในครั้งนี้คือสถานะของภาพยนตร์ในสังคมอเมริกันและยุโรปในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มวางรากฐานบางอย่างที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ธนาเริ่มด้วยการชี้ให้เห็นว่าเดิมทีภาพยนตร์ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “ศิลปะ” เพราะเห็นว่าเป็นผลผลิตของ “ยนตร์” หรือ “เครื่องจักร” มิใช่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ทั้งหมดเหมือนภาพวาด ดนตรี หรือศิลปะแขนงอื่นๆ

สำนึกถึงคุณค่าในเชิงศิลปะของชาวยุโรปเข้มข้นขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีบทบาทในการผลิตแทนมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ของที่ผลิตโดยฝีมือมนุษย์จึงถูกยกระดับให้มีความพิเศษกว่า เพราะผลิตได้น้อยกว่า และไม่ซ้ำกันเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม แต่กระนั้นก็เป็นค่านิยมที่มีขอบเขตจำกัดเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำในสังคมเท่านั้น ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปใช้ข้าวของจากโรงงานอุตสาหกรรมในชีวิตประจำวันกันหมดแล้ว

สังคมอุตสาหกรรมยังนำมาซึ่งมวลชน (Mass) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน และขาดลักษณะจำเพาะตนแบบปัจเจกชนที่มีวิจารณญาณของตัวเอง นั่นเองที่ปัญญาชนเห็นว่าเสียงข้างมากอาจทำลายอุดมคติของประชาธิปไตยลงได้ในวันหนึ่ง หากเป็นมวลชนที่มีแต่ปริมาณ แต่ขาดประสิทธิภาพในการใช้เหตุผล ดังเช่นกรณีของฮิตเลอร์และพรรคนาซีเยอรมันในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

หรือตัวอย่างของรสนิยมมวลชน ซึ่งมักจะเป็นที่ทนไม่ได้ของปัญญาชน แม้พวกเขาจะอ้างว่ายืนเคียงประชาชนส่วนใหญ่เพียงใดก็ตาม หนังที่ปัญญาชนยกย่องว่าดีอาจไม่มีใครดูเลย ขณะที่หนังซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบดูอาจเป็นไปในทางที่ปัญญาชนต้องส่ายหน้า

ธนาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างสังคมยุโรปกับสังคมอเมริกันผ่านทางสภานะของภาพยนตร์ สังคมยุโรปยังมีสำนึกเรื่องชนชั้น แรกเริ่มก็มองว่าหนังเป็นความบันเทิงชั้นต่ำราคาถูก ไม่ได้มีความเป็นศิลปะ ต่อมาเมื่อต้องต่อสู้กับรสนิยมสาธารณ์ของหนังอเมริกัน ก็หันมายกย่องความเป็นศิลปะของหนังไว้เสียจนเลิศลอยห่างไกลจากตลาด ขณะที่สังคมอเมริกันเองก็มีแต่สำนึกเรื่องการค้าขาย เพราะฉะนั้นหนังฮอลลีวู้ดจึงไม่เคยสนใจว่ามันจะเป็นศิลปะหรือไม่เป็นศิลปะ นอกจากว่าจะขายได้มากหรือน้อยเท่านั้น

เช่นนั้นเองหนังฮอลลีวู้ดจึงแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลกในฐานะสินค้าเพื่อความบันเทิงที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ขณะที่หนังยุโรปต้องจำกัดตัวเองอยู่กับโรงหนังอาร์ตเฮ้าส์เล็กๆ ตามสถาบันที่มีคนดูอยู่ไม่กี่คน

สถานการณ์ในปัจจุบันอาจต่างไปจากเมื่อก่อนมาก เนื่องจากการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึง หนังก็มีหลากหลายประเภทมากขึ้น จนไม่สามารถแบ่งแยกเป็นหนังตลาดกับหนังศิลปะได้อย่างชัดเจนอีกแล้ว

เช่นนั้นเองความขัดแย้งในสังคมที่เกิดจากโครงสร้างการผลิตและฐานคิดที่ต่างกันก็อาจละลายไปได้ด้วยความหลากหลาย การแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายอาจเป็นแค่ภาพลวงตาจากความคุ้นเคยของวิธีคิด หนังอเมริกันไม่ได้มีแค่หนังตลาด หนังยุโรปก็ไม่ได้มีแค่หนังศิลปะ ตลาดหรือความเป็นศิลปะไม่ได้แบ่งออกจากกันอย่างเด็ดขาดด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก แต่แบ่งแยกออกจากกันด้วยความคิด และแท้จริงแล้วสรรพสิ่งในโลกก็ยากที่จะแบ่งแยกหมวดหมู่ไปตามความคิดของมนุษย์

เขียนรูปด้วยสีเดียวยากที่จะทำให้สวย ความขัดแย้งระหว่างสี 2 สีก็อาจละลายหายไปได้ด้วยการระบายสีที่หลากหลายลงไปในภาพ.

คู่มือมนุษย์ในวัฒนธรรมบันเทิง

[วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย : การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมบันเทิงในสังคมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2491-2500 / ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ / ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, มกราคม 2550]

ทศวรรษ 2490 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคปัจจุบันของสังคมไทย ด้วยพื้นฐานสำคัญหลายด้านที่จัดวางไว้ตั้งแต่ตอนนั้น ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก่อนที่จะพัฒนาต่อมา โดยแทบไม่เคยเปลี่ยนพื้นฐานเดิมนั้นเลย จะเปลี่ยนก็เพียงเครื่องทรงภายนอกเท่านั้น

เพราะฉะนั้น หากจะทำความเข้าใจกับสังคมไทยปัจจุบัน การย้อนกลับไปศึกษาพื้นฐานในเวลานั้นน่าจะให้คำตอบที่น่าพิจารณาไม่น้อย

ระหว่างปี พ.ศ. 2491-2500 สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากก่อนหน้านี้ที่ปรับเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ตอนต้นรัตนโกสินทร์ ผ่านการปรับปรุงให้เทียมหน้าอารยประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็เป็นการวิวัฒน์แบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่ได้ส่งผลทั้งสังคม เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังไม่ขยับขยายมากนัก

แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ดุลยภาพทางการเมืองระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไป ยุโรปซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมมาก่อนต้องยับเยินจากสงคราม ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ได้บอบช้ำจากสงครามโดยตรง และอยู่ในฐานะผู้ชนะ กลายเป็นมหาอำนาจผู้นำของประเทศฝ่ายเสรีประชาธิปไตย รัฐบาลไทยในเวลานั้นเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา และแสดงจุดยืนต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกัน ทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ และวิชาการ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโตและมีกำลังพอที่จะเป็นหน้าด่านในการต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้

กลุ่มอำนาจชั้นนำในสังคมไทยเวลานั้นก็ใช้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเป็นกำลังในการยึดครองพื้นที่ทางการเมืองเหนือคนกลุ่มอื่นด้วย วัฒนธรรมอเมริกันจึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมากนับแต่นั้น

ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงประการสำคัญมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เห็นได้ชัดจากการเติบโตของกรุงเทพฯ จากก่อนหน้านี้ที่มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ไม่เกิน 30 กิโลเมตร หรือแทบจะไม่ต่างจากหัวเมืองสำคัญอื่นๆ มากนัก ตอนนั้นเริ่มขยายพื้นที่ออกไปในทุกทิศทางอย่างรวดเร็ว ประชากรก็เพิ่มมากขึ้นจนระบบสาธารณูปโภครองรับไม่ทัน เกิดคนกลุ่มใหม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ด้วยโอกาสทางการค้าที่ต่างจากช่วงก่อนสงคราม กลุ่มคนที่มีการศึกษาก็เพิ่มมากขึ้น และยังมีกลุ่มคนจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เองที่เป็นผู้กำหนดแนวทางของวัฒนธรรมในสังคมแทนคนกลุ่มเดิม

หนังสือ “วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย : การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมบันเทิงในสังคมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2491-2500” ของ ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ เป็นงานศึกษาปัจจัยสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเวลานั้น โดยกำหนดหัวข้อไว้ที่วัฒนธรรมความบันเทิงหรือมหรสพของคนกรุงเทพฯ

งานศึกษาปูพื้นให้เห็นตั้งแต่วัฒนธรรมความบันเทิงแบบเดิมของสังคมไทยแต่เก่าก่อน ซึ่งสัมพันธ์กับประเพณีพิธีกรรม เช่น ดนตรีที่ใช้ในงานพระราชพิธี โขน หรือหนังใหญ่ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ส่วนของชาวบ้านก็มีทั้งความบันเทิงเชิงพิธีกรรม และการร้องรำทำเพลงในชีวิตประจำวัน แต่วัฒนธรรมความบันเทิงของราชสำนักกับวัฒนธรรมความบันเทิงของราษฎรก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อราชสำนักรับเอารูปแบบของมหรสพจากชาวบ้านมาพัฒนาให้ประณีตงดงามเป็นแบบแผน แล้วย้อนกลับลงไปมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมบันเทิงของราษฎรอีกที เช่น ดนตรี ละคร หรือท่ารำต่างๆ

การรับอิทธิพลจากต่างชาติก็สำคัญ เพราะความน่าสนใจของมหรสพมักจะอยู่ที่ความแปลกใหม่ด้วย อย่างลิเกก็เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการสวดแขก แต่ได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับรสนิยมของชาวบ้านอยู่เสมอ ดังนั้นจึงเป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมตลอดมา

ระยะหลังอิทธิพลสำคัญคงหนีไม่พ้นวัฒนธรรมตะวันตก เพราะการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปพัฒนาไปทางนั้น
จนมาถึงทศวรรษ 2490 วัฒนธรรมความบันเทิงในสังคมไทยเริ่มมีรูปแบบที่พบเห็นกันในปัจจุบันมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ วัฒนธรรมความบันเทิงที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะที่สืบต่อมาจากราชสำนัก ทั้งบุคลากรและแบบแผน เพราะถือว่าเป็นศิลปะที่ได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นคลาสสิกแล้ว สมควรจะได้รับการบำรุงรักษาไว้เป็นสมบัติและเอกลักษณ์ของชาติต่อไป กลุ่มต่อมาคือวัฒนธรรมความบันเทิงร่วมสมัย ซึ่งส่วนใหญ่รับรูปแบบมาจากสังคมตะวันตก แล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยสมัยใหม่ เช่น เพลงปลุกใจ หรือเพลงไทยสากลของวงสุนทราภรณ์ เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มคือวัฒนธรรมความบันเทิงของชาวบ้าน เช่น ลิเก และเพลงตลาดหรือเพลงลูกทุ่ง

เหล่านี้สะท้อนลักษณะของการอุปถัมภ์ ซึ่งแต่เดิมราชสำนักและชุมชนเป็นผู้อุ้มชูศิลปะประเภทต่างๆ ปัจจุบันรัฐบาลและตลาดผู้บริโภคเป็นคนสนับสนุน เพราะฉะนั้นรูปแบบก็ต้องตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งยังคงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มนั่นเอง คือ วัฒนธรรมความบันเทิงตามแบบแผนที่ใช้จารีตเดิมเป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ วัฒนธรรมความบันเทิงร่วมสมัยที่ใช้วัฒนธรรมตะวันตกเป็นมาตรฐาน ตามรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดำเนินตามสังคมตะวันตก และวัฒนธรรมความบันเทิงของชาวบ้านที่ใช้วิถีชีวิตเป็นมาตรฐาน แม้จะรับอิทธิพลจากที่อื่นก็มักจะนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับโลกทัศน์และความเป็นอยู่ของตน

แม้ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะผสมปนเปกันบ้างในบางครั้ง แต่ต่อไปช่องว่างของความแตกต่างอาจจะห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลักษณะของความแตกต่างในสังคม กล่าวคือ เอกลักษณ์ของความเป็นชาติจะถูกท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์ จนกลายเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอมในชีวิตประจำวัน ขณะที่คนส่วนหนึ่งเข้าถึงและกลมกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ จนการดำเนินชีวิตเป็นแบบตะวันตกโดยสมบูรณ์ แต่คนอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในสังคมแบบเดิมนั่นเอง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าสังคมไทยจะสามารถพัฒนาเครื่องมือในการประสานและไกล่เกลี่ยความแตกต่างนั้นอย่างไร แต่ก็คาดได้ว่าน่าจะยืนอยู่บนพื้นฐานเดิมเป็นหลัก เพราะฉะนั้นจึงต้องทำความเข้าใจกับรากเหง้าของสังคมไทยให้ถ่องแท้ หากจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนี้อย่างเป็นปกติสุข.

http://www.nokbook.com/book_culture.html

สังคมวิทยาในภาพยนตร์ศึกษา

[โรงงานแห่งความฝัน สู่การวิจารณ์ภาพยนตร์สำนักบริบท / บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา / Public Bookery, พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2552]
นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนที่ได้รับการยอมรับนับถือประหนึ่งว่าเป็นอาจารย์ใหญ่อีกท่านหนึ่งในบ้านเรา คือ บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา และด้วยการศึกษาและสอนวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของสื่อสารมวลชนมายาวนานหลายสิบปี ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ในทางวิชาการของภาพยนตร์ศึกษาและการวิจารณ์ภาพยนตร์ในบ้านเราด้วย

หนังสือ “ฐานันดรที่สี่ จากระบบโลกถึงรัฐไทย” กลายเป็นตำราที่นักสื่อสารมวลชนควรจะอ่าน เช่นเดียวกับหนังสือ “ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์” ก็เป็นตำราที่ผู้สนใจในภาพยนตร์และการวิจารณ์ภาพยนตร์ควรจะอ่านด้วย

หนังสือ “ศิลปะแขนงที่เจ็ดฯ” (ปี 2533) ถือเป็นหนังสือกึ่งวิชาการเล่มแรกๆ ในบ้านเราที่พยายามยืนยันคุณค่าของภาพยนตร์ในฐานะศิลปะแขนงหนึ่ง นอกเหนือจากความบันเทิงที่คนทั่วไปคุ้นเคย ด้วยน้ำหนักของหลักวิชาที่แน่นหนา ชวนให้พิเคราะห์ภาพยนตร์เป็นวัตถุแห่งการศึกษาที่ตีความและเรียนรู้ได้หลายแง่มุม

พอมาถึงหนังสือ “โรงงานแห่งความฝัน สู่การวิจารณ์ภาพยนตร์สำนักบริบท” อ.บุญรักษ์ ก็เน้นให้เห็นถึงคุณค่าของภาพยนตร์ในฐานะเอกสารทางสังคมมากขึ้น

“ว่ากันทางสังคมศาสตร์ ภาพยนตร์คือเอกสารทางสังคมชนิดหนึ่ง ในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ พลังทางสังคมมากมาย นับตั้งแต่สัมพันธภาพระหว่างรัฐและชนชั้น จนกระทั่งความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกชน ต่างก็เข้ามามีส่วนส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ของภาพยนตร์อย่างพิสดารทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ภาพยนตร์จึงเป็นเอกสารในทำนองเดียวกันกับหนังสือ” (หน้า 95)

จะว่าไปแล้วหนังสือเล่มนี้ก็เป็นภาคต่อของ “ศิลปะแขนงที่เจ็ดฯ” นั่นเอง คือรวบรวมเอกสารการสอนและบทความที่ อ.บุญรักษ์ เขียนขึ้นต่างกรรมต่างวาระกัน ตั้งแต่ปี 2534-2549 ร่วม 15 ปีที่มีหลายประเด็นต่อเนื่องมาจาก “ศิลปะแขนงที่เจ็ดฯ” ตามการพัฒนาของภาพยนตร์ทั้งในระดับสากลและในบ้านเราเอง เป็นช่วงยาวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในธุรกิจภาพยนตร์ เทคนิคการถ่ายทำ และเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ยกตัวอย่างเช่นในวงการภาพยนตร์ไทย หนังสือเล่มนี้บันทึกสภาพการณ์และแสดงความคิดเห็น ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 ซึ่งภาพยนตร์ไทยตกอยู่ในสภาพ “ไปไม่ถึงไหน” และ “ตกอยู่ในฐานะที่ไม่แตกต่างจาก ‘ศิลปะพื้นบ้าน’ คล้ายๆ กับลิเก อันตกค้างมาจากวัฒนธรรมเก่า” (หน้า 81) จนมาถึงปลายทศวรรษ 2540 ซึ่งภาพยนตร์ไทยเป็นที่สนใจในตลาดต่างประเทศ และเริ่มประสบความสำเร็จในระดับโลกประปราย ทั้งในแง่การค้าและศิลปะ ดังเช่นหนังของ จา พนม และ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นต้น

จะเห็นข้อเสนอแนะของ อ.บุญรักษ์ เป็นลำดับ ตั้งแต่การเสนอให้ปฏิรูปธุรกิจภาพยนตร์ เพื่อให้เท่าทันกับความต้องการของตลาดใหม่ๆ ที่มีอำนาจในการซื้อ การเสนอให้ตั้งสถาบันภาพยนตร์ เพื่อเป็นแกนกลางในการแก้ปัญหาและกำหนดทิศทางในภาพรวม การชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของการอนุรักษ์หนังเก่า ซึ่งถือเป็น “มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ” ตลอดจนการชี้ให้เห็น “มูลค่า” ของงานสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมอย่างภาพยนตร์ในทางเศรษฐกิจ จนอาจกล่าวได้ว่า อ.บุญรักษ์ เป็นคนแรกๆ ที่พูดถึงเรื่อง Creative Economy มาตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีก่อน

“ศิลปะและวัฒนธรรมจะเป็นองค์ประกอบหลักในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง ทั้งนี้โดยยึดการเปิดรับศิลปะและวัฒนธรรมต่างประเทศอย่างเลือกสรร ประกอบกับการพัฒนาสัดส่วนที่งดงามใน “ความเป็นไทย” ขึ้นในกรอบของชาตินิยมก้าวหน้า (progressive nationalism) ซึ่งเป็นการผสมผสานของดีจากภายนอกและภายในอย่างรู้สึกตัว” (หน้า 105)

จนมาถึงข้อแนะนำในยุคภาพยนตร์ไทย “โก อินเตอร์”

“ผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยสำหรับตลาดโลกยังจะต้องเสาะแสวงหาและผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของโลก ทวีป ภูมิภาค กลุ่มวัฒนธรรม และภาษาต่างๆ รวมทั้งข้อกฎหมายที่กำกับธุรกิจภาพยนตร์ในแต่ละตลาดเป็นอย่างดีด้วย / องค์ความรู้ประเภทนี้คือ ‘กรอบแห่งการอ้างอิง’” (หน้า 113)
ภาคที่หนึ่งของหนังสือ เป็นเรื่องของ “โครงสร้าง นโยบาย และบทวิเคราะห์ภาพยนตร์ไทย” ภาคที่สอง เป็นประสบการณ์จาก “บางกระแสในภาพยนตร์ระหว่างประเทศ” ตั้งแต่บทบาทของฮอลลีวูดในฐานะเจ้าโลก กินส่วนแบ่งตลาดภาพยนตร์ทั่วโลกกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา จนกล่าวได้ว่า “โรงงานแห่งความฝัน” เหล่านี้เป็นอุสาหกรรมชั้นนำของสหรัฐอเมริกา และเป็นสินค้าส่งออกข้ามชาติที่ก่อรายได้มหาศาล จนภาพยนตร์สัญชาติอื่นไม่อาจเทียบเทียม

นอกจากนี้ค่านิยมตามความฝันแบบอเมริกันยังแพร่หลายไปทั่วโลกผ่านทางภาพยนตร์ฮอลลีวูดด้วย จนไปมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยใหม่ในสังคมต่างๆ ไม่น้อย

กระนั้นก็ยังมีหนังบางประเภทที่คัดง้างกับค่านิยมกระแสหลัก ซึ่งดูจะเป็นหนังที่ อ.บุญรักษ์ ชอบที่จะวิเคราะห์เป็นพิเศษ ดังตัวอย่างของหนังที่เลือกมาเขียนถึงในส่วนหลังของหนังสือ นอกจากจะให้ข้อมูลของหนังและผู้กำกับโดยสังเขปแล้ว ยังจะได้รู้ถึงบริบททางสังคมที่เกี่ยวข้อง ดังที่ อ.บุญรักษ์ เรียกว่าเป็นการวิจารณ์ภาพยนตร์สำนักบริบท (contextual criticism) ซึ่งมุ่งสำรวจตีความภาพยนตร์แต่ละเรื่องตามสายใยความสัมพันธ์ที่แวดล้อมอยู่ในหลายระดับความหมาย ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองที่ผู้เขียนมีความสนใจอยู่เป็นพื้นฐาน

จาก “ความเบื้องต้น” อ.บุญรักษ์ ได้เรียบเรียงให้มองเห็นพัฒนาการไว้ก่อนแล้วว่า การวิจารณ์ภาพยนตร์เริ่มจากตัวบทก่อน จากนักวิจารณ์ในตระกูลวารสารศาสตร์ที่รายงานและปริทัศน์ภาพยนตร์เป็นคู่มือการบริโภคในหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ ต่อมาก็เกิดนักวิจารณ์ในตระกูลมนุษยนิยม ซึ่งเริ่มวิเคราะห์หนังอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น และมีหลักในการประเมินคุณค่าบ้างแล้ว

พอเข้าสู่ยุค 60-70 การศึกษาภาพยนตร์อย่างเป็นวิชาการก็เริ่มแพร่หลายไปในหลายมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เกิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาพยนตร์ขึ้นมากมาย ส่วนหนึ่งก็พัฒนามาเป็นการวิจารณ์สำนักบริบท ซึ่งใช้ความรู้หลากหลายสาขามาทำความเข้าใจภาพยนตร์ เพื่อให้เข้าใจมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

บริบทเหล่านี้ช่วยทำให้เห็นว่าหนังก็เป็นบ่อเกิดของการเติบโตทางสติปัญญาได้อีกทางหนึ่ง.

http://www.nokbook.com/book_context.html
http://www.nokbook.com/head_book2.html

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา เทศกาลศาสนา ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมธิเบต

“วันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่เผชิญหน้า กับความเสี่ยงต่อการล่มสลายอยู่ในตอนนี้ เราจึงต้องการช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติ เพื่อปกป้องวัฒนธรรมขอเรา วัฒนธรรมที่เป็นดั่งมรดกโลก การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่ จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”
“องค์ทะไลลามะ”

เพื่อแสดงความนบนอบเคารพต่อศรัทธาที่มีกับองค์ทะไลลามะ และด้วยเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของธิเบตที่ยังทรงคุณค่า มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จึงจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมธิเบตให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยและ สังคมโลก และร่วมสร้างความเป็นธรรมให้กับคนธิเบตที่พลัดถิ่นในอินเดีย โดยจัดกิจกรรมเทศกาลศาสนา ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมธิเบต ในหัวข้อ “จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม 2553 ณ กรุงเทพมหานคร และเชียงราย

การจัดงานในครั้งนี้ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เป็นองค์หลักในการระดมทุนและจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงแต่รายรับยังไม่ครอบ คลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการจัดงาน จึงบอกกล่าวมายังกัลยาณมิตรทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย เพื่อสืบทอดคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและสร้างเสริมสิ่งที่ดีงามสู่สังคม

ดังที่องค์ทะไลลามะประมุขแห่งธิเบต ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมธิเบตไว้ว่า “วันนี้ เรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงต่อการล่มสลาย เราจึงต้องการความช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติเพื่อปกป้อง วัฒนธรรมของเราที่เป็นดั่งมรดกโลก การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”


Himalaya
ประเภท : ภาพยนตร์ ความยาว 1.45 ซม.ผู้กำกับ อีริค วัลลี

ณ หมู่บ้านกว้างใหญ่แห่งเมืองดอลโป บนเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูงห้าพันเมตร ตินเล-หัวหน้าเผ่าชราที่เพิ่งสูญเสียลูกชายคนโตไป ไม่อนุญาตให้เด็กหนุ่ม-การ์มาเป็นผู้นำขบวนกองคาราวานจามรี
...
ก่อนถึงวันเดินทางจริงที่กำหนดไว้โดยผู้นำทางศาสนา การ์มาก็นำขบวนคาราวานออกจากหมู่บ้านอย่างไม่แยแสต่อความโกรธเคืองของเหล่า ผู้อาวุโสและตินเล โดยมีคนรุ่นหนุ่ม ๆ ติดตามเขาไป และเมื่อถึงวันที่กำหนดไว้ ตินเลก็ตัดสินใจออกเดินทางโดยไม่สนใจเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับลูกขบวน อันได้แก่ นอร์บู-ลูกชายคนรอง ลามะที่เป็นหลานและเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ของตินเล แล้วการต่อสู้ที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษระหว่างมนุษย์กับภูเขาก็เริ่มต้นขึ้น

Kundun
ประเภท : ภาพยนตร์ ความยาว 128 นาทีบทภาพยนตร์ โดย เมลิสสา มาธิสันผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี่ ปีที่ผลิต 1997
“คุนดุน” หมายถึง “การดำรงอยู่เพื่อทุกคน” (Presence) ภาพยนตร์เรื่องคุนดุนคือเรื่องราวของสมเด็จพระเท็นซิน กยัตโส หรือองค์ทะไลลามะที่ 14 ที่ได้รับการบอกเล่าผ่านสายพระเนตรในวัยเยาว์ขององค์ทะไลลามะเอง พระลามะชั้นสูงค้นหาพระองค์ซึ่งเป็นองค์ทะไลลามะที่ 13 กลับชาติมาเกิด ที่ชุมชนชาวนาในธิเบตเหนือเมื่อปี 1935 พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนในเมืองลาซา
...
ภาพยนตร์ถ่ายทอดภาพการเติบโตอย่างพิเศษของพระองค์ จากเด็กชายซุกซนอายุสองขวบครึ่งที่กลายเป็นบุคคลสำคัญผู้ช่วยยกระดับความ เข้าใจของโลกต่อสังคมชาวพุทธ ด้วยจิตวิญญาณแห่งคำปฏิญาณของพระองค์ต่อธิเบตจนกระทั่งเกิดการรุกรานของจีน คอมมิวนิสต์ในปี 1950 และความเจ็บปวดที่ราษฎรของพระองค์ต้องแบกรับ ไปจนถึงตอนที่พระองค์หลบหนีเข้าสู่อินเดียในเก้าปีต่อมา ภาพยนตร์แสดงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตของพระองค์ในพระราชวังโปตาลาอย่างตรงไปตรงมาและมีชีวิตชีวา ไม่ว่าจะเป็นความหลงใหลของทะไลลามะในวัยเด็กที่มีต่อเครื่องยนต์กลไก หรือความสงสัยต่อประเพณีทางศาสนาที่มีมากมาย “คุนดุน” ซึ่งถ่ายทำในประเทศโมร็อคโค เป็นเหมือนภาพจำลองเหตุการณ์ที่จะทำให้ผู้ชมทุกคนลุกออกไปพร้อมกับความเศร้า เสียดายต่อสิ่งมีค่าที่ถูกฝังไว้ในธิเบต


วันพุธที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

บทความภาพยนตร์และมานุษยวิทยา

บทความภาพยนตร์และมานุษยวิทยา

1.กำเนิดปฏิบัติการภาพยนตร์ ชาติพันธุ์: การเดินทางจากอดีตสู่เส้นทาง ในอนาคต
2. พรรณนาความชาติพันธุ์ ว่าด้วยภาพ
3. การผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ช่วงหลังสงครามในเยอรมนีเปเตอร์ ฟูชส์ (Peter Fuchs) สถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ (IWF) และสารานุกรมภาพยนตร์ (Encyclopaedia Cinematographica)
4. วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 1)
5. วงโคจรของความทรงจำ : ภาพยนตร์สารคดีและการส่งผ่านพยาน (ตอนที่ 2)

ที่มา http://www.sac.or.th/web2007/article/index.php?p=film

บทสนทนาสั้นๆ ถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ศิลปะคืออะไร เราเป็นประเทศโบราณก็จริงหากแต่ก็ต้องการเกิดใหม่เป็นสังคมที่คนมีการศึกษา เพราะฉะนั้น การสื่อความหมายเรื่องของชีวิต เรื่องความเป็นอยู่ เรื่องความคิดความอ่าน เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมันผ่านมาทางสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ เช่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วรรณกรรม และดนตรี

สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าสื่อกลางที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมายทีนี้ ถ้าศิลปะทำให้ชีวิตเรามีความหมายก็ต้องมีการส่งเสริม เราเองต้องการให้หอศิลป์ฯแห่งนี้เป็นพื้นที่ในการสร้างสิ่งเหล่านั้นให้แก่สังคม

เรื่องเหล่านี้ต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ 500 ปีก่อน อย่างอังกฤษก็มีเชคเสปียร์ คนพากันไปดูละคร ถึงปัจจุบันมีเล่นกันเป็นร้อยรอบ หลายร้อยโปรดักชั่น แต่เขาก็ยังเล่นเชคเสปียร์ได้ ของเรากว่าจะเริ่มเขียนนวนิยายก็สมัยคุณปู่ เรามีนวนิยายกี่เรื่อง มีงานศิลปะบนผืนผ้าใบนี่กี่ชิ้น เพราะฉะนั้น ที่นี่น่าจะเป็นที่สร้างภูมิปัญญาขึ้นมาสำหรับคนสมัยนี้ ซึ่งเราต้องทำให้มันพอกพูนขึ้นไป เรามีเวลาสร้างอีกเป็นร้อยปี ปัญหาคือ บางทีเราชอบไปเอาของฝรั่งมา ไปลอกเขา ซึ่งมันไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ เราควรมาช่วยกันสร้างเนื้อหาของเราขึ้นมาเอง มันจะได้มีความหมาย นอกจากนี้ สมัยก่อน คนทำพอทำเสร็จก็ดูกันเอง แต่เราบอกว่าคนทั่วไปควรได้ดูด้วย เพราะมันจะเป็นงานวัฒนธรรมไม่ได้เลยถ้าทำเพื่อคนส่วนน้อย เราต้องการให้ศิลปะอยู่ในครรลองของสังคม นั่นคือเหตุผลที่เราตั้งอยู่ตรงนี้ ตรงใจกลางเมือง
http://www.onopen.com/coffee-open/09-12-01/5163

วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

หนังไทยในความหมายทางวัฒนธรรม

หลอน รัก สับสน ในหนังไทย : ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547) / กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน / สำนักพิมพ์ศยาม, พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2552]

งานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยโดยเฉพาะในสายบันเทิงที่อยู่ในกระแสนิยมของสังคมมีไม่มากนัก ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญสาขาหนึ่งในปัจจุบัน จะมีบ้างก็มักจะเป็นการศึกษาย้อนหลังในเชิงประวัติความเป็นมา เมื่อไม่มีการศึกษาอย่างเพียงพอก็จะขาดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาเนื้องานในสายวิชาชีพนั้นๆ ก็จะไม่มีพื้นฐานที่กว้างขวางหยั่งลึกรองรับ ต้องใช้วิธีคาดเดา ลอกเลียน หรือเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อยู่เสมอ

หนังสือวิชาการชื่อยาวๆ “หลอน รัก สับสน ในหนังไทย : ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547) กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่” ของ กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน เป็นผลผลิตจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นการศึกษาภาพยนตร์ แต่ก็ต้องไปอิงอยู่กับโครงการวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรม เพราะในที่นี้หนังก็เป็นเรื่องเล่าประเภทหนึ่ง

ทางผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาในสาย “วัฒนธรรมศึกษา” (Cultural Studies) ซึ่งสนใจมิติในเชิงความหมายที่ประกอบสร้างขึ้นมาในสื่อนั้นๆ จะต่างจากการศึกษาในเชิงคุณค่าทางสุนทรียะหรือคุณค่าทางสังคม ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่หนังที่มีความดีเด่นในด้านศิลปะภาพยนตร์ หรือมีเนื้อหาสะท้อนสภาพสังคม ขณะที่หนังซึ่งให้ความบันเทิงและอยู่ในความนิยมของคนส่วนใหญ่มักจะถูกมองข้าม และไม่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา แต่การวิจัยในสายนี้จะสนใจโครงสร้างความคิดที่แฝงอยู่ในหนังทุกประเภท เพราะแต่ละโครงสร้างล้วนสะท้อนความเป็นจริงในสังคมเช่นกัน

งานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาหนังใน 3 ตระกูลที่แตกต่างกัน คือ หนังผี หนังรัก และหนังแนว เพื่อแสดงให้เห็นโดรงสร้างความหมายที่ประกอบสร้างขึ้นมาในหนังแต่ละประเภท อันสะท้อนความเป็นไปของสังคมอีกชั้นหนึ่ง “หนังแนว” หรือ “หนังทางเลือก” หรือ “หนังยุคหลังสมัยใหม่” อาจเป็นที่สนใจของนักวิจารณ์ นักวิชาการ ตลอดจนได้รางวัลในระดับโลกบ้าง เพราะยังถือความก้าวหน้าในศิลปะภาพยนตร์เป็นสำคัญ แต่หนังผีและหนังรักอาจจะมีการประเมินค่าน้อย และเห็นเป็นแค่ความบันเทิงในเชิงพาณิชย์ศิลป์เท่านั้น แต่การวิจัยในแนวทางนี้กลับมองเห็นคุณค่าของความหมายทางวัฒนธรรม โดยเบื้องต้นเห็นว่า “หนังผีเป็นตัวแทนของอดีต หนังรักเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตปัจจุบัน และหนังยุคหลังสมัยใหม่เป็นตัวแทนของยุคหลังสมัยใหม่”

หนังที่ผู้วิจัยเลือกมาอยู่ใน 3 ทศวรรษ คือระหว่างทศวรรษ 2520-40 และยังสะท้อนถ่ายให้เห็นสภาพแวดล้อมของสังคมไทยในแต่ละช่วงเวลาด้วย ซึ่งหนังก็พัฒนาไปอย่างสอดคล้องกับสังคม ทั้งเฟื่องฟูและฟุบแฟบตามสภาพเศรษฐกิจ และแปรเปลี่ยนตามลักษณะการบริโภคสื่อ เนื้อหาจะออกไปทางฟุ้งฝันหลีกหนีความจริง หรือสะท้อนปัญหา ล้วนเกี่ยวเนื่องกับการเมืองและความขัดแย้งในสังคม

ทางผู้วิจัยชี้แจงว่า การศึกษาตามตระกูลของหนัง (genre) น่าจะเหมาะกับหนังไทย เพราะหนังไทยมีเป้าหมายทางการตลาดมากกว่าการแสดงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สร้างงาน เพราะฉะนั้นแนวทางการศึกษาผลงานโดยรวมของผู้สร้างงาน (Auteur theory) จึงอาจจะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ก็ยังทำให้มองข้ามความสำคัญของผู้ชมและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบด้วย ซึ่งมีส่วนไม่น้อยในการกำหนดทิศทางของหนัง

อย่างเช่นลักษณะของหนังไทยในยุคแรก ยังมีร่องรอยของมหรสพการแสดงที่คนไทยคุ้นเคยอยู่มาก ความไม่สมจริงที่ปรากฏเป็นเพราะคนไทยแต่เก่าก่อนแยกโลกของการแสดงออกจากโลกของความเป็นจริง พระเอกและนางเอกจึงต้องดูดีโดดเด่นอยู่เสมอ เหมือนโขนละครหรือลิเก เพราะที่เห็นนั้นเป็นภาพแทนของความดีงามผ่องพิสุทธิ์ที่อยู่ภายในตน ต่อเมื่อสังคมเริ่มก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ที่ต้องการเหตุผลเป็นบรรทัดฐาน หนังไทยก็ต้องมีความสมจริงมากขึ้น ตามค่านิยมความเชื่อที่เปลี่ยนไป

สายตาดังกล่าวเมื่อมามองหนังผีไทยก็จะสังเกตเห็นคุณค่าที่ไม่มีในที่อื่นว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับ ‘หนังผีเทศ’ ที่มักเน้นไปที่ความสยองขวัญและมีรูปลักษณ์ที่จำกัดไม่กี่ประเภท แต่ ‘หนังผีไทย’ กลับเป็นศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นจากคลังของทุนวัฒนธรรมความเชื่อที่ตกผลึกผ่านกาลเวลามาช้านาน” (หน้า 57)

แต่ความนิยมของหนังผีในสังคมสมัยใหม่ของไทยก็บ่งบอกถึงสภาพความเป็นไปบางด้านเช่นกัน “ความเจริญงอกงามของผีตั้งแต่ในทศวรรษที่ 2530 อาจแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์การที่สังคมไทยกำลังเดินทางไปสู่สังคมแบบทันสมัยก้าวหน้า แต่เต็มไปด้วยความไม่เชื่อมั่น ไม่มั่นใจ ไม่มั่นคง” (หน้า 114)

เช่นเดียวกับหนังรักที่สะท้อนความรู้สึกของผู้คนในสังคมทุนนิยม ขณะที่ระบบเศรษฐกิจทำให้มนุษย์กลายเป็นเพียงเครื่องจักรที่แปลกแยกกับตัวเองและคนอื่น ความรู้สึกถวิลหาความรักอันเป็นตัวแทนของความสุขนิรันดรกลายเป็นสินค้าขายดีในสื่อแทบทุกประเภท ความรักที่ปรากฏในภาพยนตร์จึงเป็นทั้งการหลีกหนีและการขบถต่อชีวิตประจำวันอันจำเจ ทางผู้วิจัยแยกแยะความรักในหนังแต่ละช่วงเวลาไว้ว่า “ยุคแรก หนังรักกับครอบครัว ยุคที่สอง หนังรักในสังคมทันสมัย และยุคที่สาม หนังรักกับการโหยหาอดีตในภาวะหลังเศรษฐกิจล่มสลาย” (หน้า 142)

พอเข้าสู่ทศวรรษ 2540 หลังการพลิกกลับของภาวะ “หนังไทยตายแล้ว” อันเป็นผลจากการเสื่อมถอยของอุตสาหกรรมในระบบเก่า และการปรับเปลี่ยนเพื่อแสวงหาช่องทางตลาด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือมีคนทำหนังคลื่นลูกใหม่มาถึงพร้อมกับความแตกต่างหลากหลาย แปลกประหลาดซับซ้อนไปจนถึงสับสนวนเวียน เช่น หนังของ นนทรีย์ นิมิบุตร, เป็นเอก รัตนเรือง, วิสิษฐ์ ศาสนเที่ยง, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ฯลฯ

จากโครงเรื่องและมิติเวลาที่ซับซ้อนสับสนในหนัง ทางผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า เป็นเพราะวิกฤตในสังคมยุคหลังสมัยใหม่สร้างปัญหาต่อภาวะจิตใจของผู้คนเป็นอันมาก และการเยียวยาเบื้องต้นก็คือการยอกย้อนต่อสิ่งที่กดทับตัวเอง เพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณที่หายไปกลับคืนมา เพราะฉะนั้นหนังแนวจึงพยายามปฏิเสธกรอบเกณฑ์แต่เดิม แล้วพลิกแพลงด้วยส่วนผสมที่แปลกประหลาดหลากหลาย เพื่อควานหาอรรถรสใหม่อยู่เสมอ
แต่ผู้วิจัยก็ยังเห็นว่า “หนังเกือบทุกเรื่องนำเสนอให้เห็นมิติของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งสู่ปัญหาภายในจิตใจของตัวละคร” (หน้า 238)

ท้ายแล้วหนังทั้ง 3 ตระกูลอาจไม่แยกขาดออกจากกัน หรือซ้อนเหลื่อมกันไม่น้อย เพราะผู้วิจัยค้นพบว่า หนังในแต่ละตระกูลมักจะเชื่อมประสานหรือผสมปนเปเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการสืบทอดต่อเนื่อง (convention) และการแตกออกในลักษณะนวัตกรรม (invention) ควบคู่กัน อันบ่งบอกถึงความไม่หยุดนิ่งตายตัว และแน่นอนว่าความหมายก็จะหลากเลื่อนไม่แน่นอนด้วยหากการไม่หยุดนิ่งคือนิยามของชีวิต หนังไทยก็มีชีวิตชีวาในฐานะภาพมายาแทนความฝันของผู้คนเสมอมา.

ที่มา http://www.nokbook.com/book_movie.html


http://socio.tu.ac.th/download/outline/B_outline/2/SO350_2.pdf
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Saksit_Somanat/Chapter2.pdf
http://mansci.tru.ac.th/UserFiles/File/fino_km.pdf

วันเสาร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

ความดี ความงาม ความรัก
















G Em Am D7 G
อาจเป็นเพราะเรา คู่กันมาแต่ชาติไหน
C Bm Am D7 G
จะรัก รักเธอตลอดไป เป็นลมหายใจของกันและกัน

เพลงลมหายใจของกันและกันนี้ได้แรงบันดาลใจจาก ส. อาสนจินดา จาก รายการคู่ทรหด เมื่อสิบกว่าปีก่อนผมตั้งใจขึ้นประโยคแรกของเพลงให้เป็นเรื่องราวของบุพเพสันนิวาสหน่อย คู่กันมาแล้วหลายชาติ เป็นความโรแมนติกแบบไทยๆ เขียนเสร็จท่อนเดียวแล้วก็ไม่รู้จะเขียนอะไรอีก ก็มันหมดแล้ว

มีคนนำเพลงนี้ไปใช้ในงานแต่งงานเยอะมากยุคหนึ่ง จนแทบจะเป็นกลายเป็นเพลงสามัญประจำงานแต่งงานไปเลย แล้วก็มีคนขอร้องให้ผมเขียนให้เพลงยาวกว่านี้จะได้ไปร้องไปเล่นกันได้ หรือเอาไปอัดลงอัลบั้มกันได้ ผมก็บอกไม่รู้จะเขียนอะไรอีก มีแค่นี้ มันจบมันลงตัวแค่นี้
ประภาส ชลศรานนท์

















ขอบคุณที่มีเพลงดีๆอย่างนี้ เพลงนี้เป็นเพลงสั้นๆ แต่กลืนกินหัวใจผู้คนมายาวนาน และเป็นความทรงจำดีๆของแม่อ้อกะพ่อเป้มา 13 ปีแล้วนะ
รักน้องป่านกะแม่อ้อ

click
http://www.youtube.com/watch?v=-lSpf88L7Rk

วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

Exploring its Identity Crisis through Popular Culture

Mr Hang Kei HoGeography



















As Hong Kong is a former British colony, its hybrid culture from the east and west has created a problematic identity crisis. My research looks at Hong Kong's identity before and after the 1997 handover through cinema, urban consumption as well as other texts, and also presents its citizens with ideas of alternative futures for the city.
http://www.grad.ucl.ac.uk/comp/2007-2008/poster/gallery/index.pht?entryID=95

East-West Storytelling

Nadeem Aslam, Nam Le, Fuad Rifka, and Antje Rávic Strubel discuss how hybrid culture has replaced the never-existent mainstream and how the short story has evolved. This panel discussion took place at the 2009 PEN World Voices Festival.

http://www.pen.org/viewmedia.php/prmMID/3694/prmID/1831

"Ninja Assassin" John Gaeta on Hybrid Entertainment Merging Film and Games.

(Download this video: MP4, or watch on YouTube)
In today's episode of Boing Boing Video (sponsored by WEPC.com, in partnership with Intel and Asus), Academy Award winning visual effects guru John Gaeta (Matrix, Speed Racer) offers a sneak peek inside his newest project, Ninja Assassin.

Vampire-hybrid films


BloodViolet: Perfect Evolution (and the Buried Soul)What this year's four vampire-hybrid films have in common is an overcoming of our oldest fear.by Todd SeaveyMetaphilm

Pop quiz: Which 2006 film depicts a sexy vampire, skilled at swordplay, gunplay, and/or martial arts, stuck in the middle of a war over half-vampire hybrids?

Trick question—four films this year do: in order of their release, BloodRayne, Underworld: Evolution, UltraViolet, and, coming at the end of the year, Perfect Creature.

The vampire novels of Anne Rice and the comic-book-inspired Blade movies were no doubt big motivators for creating the current crop—but the particular emphasis all four of the movies place on hybrids—and the possibility of war over genetic purity—suggests that something more than old-fashioned vampirism makes these films resonate with early-twenty-first-century audiences—or rather with the producers who green-lit the projects.

In a culture increasingly defined by our ability to mix and match at will—blending pirated elements of old songs to create “mash-ups,” blending DNA from different plants and animals, blending elements of various subcultures, eras, and ethnic groups—vampires have clearly ceased to be villains and have become one more exciting style to adopt. Sure, dressing like a vampire is fun for the goths, and rooting for vampires (they kill people, but they have such lovely angst) is a blast for Rice fans—but a true mix-and-match era should hold out the promise of actually being a vampire.

And that’s where genetic engineering comes in.

Each of these four films deals with the possibility of mixing vampire and human DNA, usually placing a partly-vampire heroine or hero at the center, with the result that the vampire villains in the films are engaged not so much in their traditional business of trying to kill lots of humans by sucking their blood but in the newer business of trying to maintain the genetic purity of the vampire race against intermingling with humans. Before our eyes, the default mission of vampires in popular lore is changing: instead of cannibals, they are now, in essence, white supremacists.

BALTIMORE--MICA, Maryland Film Festival and William & Irene Weinberg Family Baltimore Jewish Film Festival present a free series of Israeli films with Dan Geva--an Israeli documentary film director, cinematographer, producer, editor and academic scholar--during Contemporary Israeli Films: Curated by Dan and Noit Geva, Thursday Feb. 4, 11 and 18, 7:30 p.m. in MICA's Falvey Hall, Brown Center (1301 W. Mount Royal Ave.).

http://www.mica.edu/

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Hollywood hybrids

Hollywood hybrids: mixing genres in contemporary films โดย Ira Jaffe
Classifying films by genre is useful, to a point. But how do you describe films with intersecting or shifting genres? One moment comedy may rule, then tragedy, horror, sci-fi, kung fu, film noir, the Western or a combination of these. Ira Jaffe celebrates these hybrid films for their ability to both understand and subvert genres. He honors classic hybrid works by Charlie Chaplin and Jean Renoir and guides us through current mlanges fiction in documentaries, farcical gangster films, morbid melodramas, and more. Featured filmmakers include Quentin Tarantino, Joel and Ethan Coen, Michael Moore, David Lynch, and Pedro Almodovar.


Rethinking Third Cinema โดย Anthony R. Guneratne,Wimal Dissanayake
With case studies of the cinemas of India, Iran and Hong Kong, and with contributors addressing the most challenging questions it poses, this important anthology addresses established notions about Third Cinema theory, and the cinema practice of developing and postcolonial nations

วันพุธที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

Hybrid ในเชิงวัฒนธรรม

Hybrid ในเชิงวัฒนธรรม

Hybrid มีความหมายตามศัพท์ที่คุ้นเคยกันมาหลายร้อยปีว่า ลูกผสม อันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสองพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์ที่อยู่ใน Family เดียวกัน แต่ต่างกันในด้านลักษณะเฉพาะของพันธุ์ทั้งสอง นำมาผสมข้ามพันธุ์เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่รวมเอาลักษณะเด่นของพ่อและแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ต่างกันมารวมอยู่ในลูกผสมที่เกิดขึ้นใหม่

Hybrid ถ้านำศัพท์นี้ไปปรับใช้กับการเกิดลักษณะลูกผสมในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะสัตว์หรือพืช แต่เรานับรวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์ด้วยแล้ว ลักษณะที่เรียกว่า ลูกผสม หรือ Hybrid นี้เกิดมานานแล้ว ไม่ใช่เป็นร้อยปี แต่ร่วมสองพันปี

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ คนไทยที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันนี้เอง
เป็นเผ่าพันธุ์ Hybrid โดยแท้ เพราะถ้าพิจารณาตามหลักฐานใหม่ที่มีน้ำหนักมากกว่าเรื่องคนไทยอพยพมาจากจีนแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว จะพบว่ากว่าจะมาเป็นคนไทยในปัจจุบันนี้ ได้เกิดการผสมข้ามพันธุ์ของหลายเผ่าพันธุ์ ทั้งคนที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นนี้แต่เดิม

ตามหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมินี้อย่างต่อเนื่องนับย้อนหลังไปได้ถึงประมาณ 2 ล้านปี คนไทยปัจจุบันจึงเป็นลูกผสมของคนท้องถิ่นสุวรรณภูมิเดิม กับคนเผ่าพันธุ์อินเดีย คนเผ่าพันธุ์จีน ที่เข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งในดินแดนนี้มากกว่า 2,000 ปี เพราะดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อประมาณสองพันกว่าปีลงมาจนถึงยุคอยุธยา เป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และรวมไปถึงการผสมข้ามพันธุ์กับคนกลุ่มขอม และมอญที่มีอิทธิพลอยู่ในย่านนี้ในช่วงเวลาหนึ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา

เรื่องของ Hybrid ในหลายๆ วิถี รวมถึงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่คือ ในสังคมธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการตลาดในโลกปัจจุบัน เรื่องของ Hybrid ได้ถูกนำมาใช้อย่างให้ความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ความสำคัญนี้กำลังเพิ่มขึ้นในลักษณะทวีคูณ
ปัจจัยภายนอกและในหลายประการจะทำให้ยุทธศาสตร์ Hybrid Marketing จะกลายเป็นกระแสหลักของการตลาดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะถูกใช้ครอบคลุมทุกเรื่อง ตั้งแต่ตัวผลิตภัณฑ์ที่ขายในตลาด กลยุทธ์การตลาด และยุทธศาสตร์ขององค์กร ไปจนถึงพฤติกรรมผู้บริโภค

โลกที่นับวันจะแคบลงเป็นโลกไร้พรมแดน การสื่อสารในรูปแบบของความบันเทิงและสาระต่างๆสามารถรับชมจากซีกโลกหนึ่งสามารถทำให้อีกซีกโลกหนึ่งรับรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็วเท่าความเร็วแสง การสร้างสัมพันธ์ระหว่างชนต่างเชื้อชาติทั้งในรูปแบบของการเป็นเพื่อน และการเป็นครอบครัวเกิดขึ้นเร็วกว่าการผสมผสานเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพันกว่าปีก่อนเป็นล้านเท่า ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cross-cultural) เป็นลูกผสม (Hybrid) วัฒนธรรมใหม่ที่กลมกลืน เช่น คนญี่ปุ่นปัจจุบัน ที่มีวิถีชีวิตสมัยใหม่แบบอเมริกันแต่ก็ยังมีเอกลักษณ์ของความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสมอยู่ในลักษณะที่เข้มข้น คนญี่ปุ่นแต่งสากลไปทำงานในสำนักงานและเครื่องมือเครื่องใช้แบบตะวันตก แต่ก็มีปรัชญาดำเนินชีวิตตามลัทธิชินโตและมีวิธีการจัดการธุรกิจที่ผสมผสานลัทธิบูชิโดอยู่ เป็นพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของลูกผสมสายพันธุ์ใหม่อย่างชัดเจน

ความเข้มข้นของวัฒนธรรมญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงผู้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกาเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้ง เอเชีย อเมริกา และยุโรปด้วย เช่นกัน เช่น วัฒนธรรมการร้องคาราโอเกะ วัฒนธรรมการแต่งตัวที่แม้จะเป็นแบบตะวันตก แต่ก็เป็นสไตล์ญี่ปุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ ยูโด คาราเต้ ไอคิโด วัฒนธรรมบันเทิง อย่างวิดีโอเกม การ์ตูน ของเล่น ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในอเมริกา

การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ยังทำให้เกิดภาษาพูด Hybrid เป็นลูกผสมของภาษาท้องถิ่นกับภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบัน ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศจะมีการผสมผสานภาษาอังกฤษเข้าไป เพราะความจำเป็นที่ต้องใช้ เนื่องจากการพูดคุยถึงธุรกิจสมัยใหม่ แม้คนในชาติเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน ก็มีภาษาอังกฤษสอดแทรกทั้งสิ้น เพราะวิชาการการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ ต้นกำเนิดเป็นภาษาอังกฤษ และศัพท์วิชาการจำนวนมาก ที่ไม่สามารถใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศอธิบายได้ การผสมภาษาอังกฤษในภาษาท้องถิ่นนี้ ไม่เว้นแม้ในภาษาญี่ปุ่น ที่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวัฒนธรรม ก็มีการผสมภาษาอังกฤษในระหว่างการพูดคุยเสมอ

ในสิงคโปร์ มีการบัญญัติศัพท์เรียกภาษาจีนแบบสิงคโปร์ที่เป็นลูกผสมอังกฤษใหม่ว่า Singlish ภาษาไทยก็เห็นชัดเช่นกัน เมื่อพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ก็ต้องมีภาษาอังกฤษเข้าไปผสมอยู่ไม่น้อย เพราะถ้าแปลเป็นภาษาไทยแล้ว จะทำให้ความหมายเพี้ยนไปจนสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง นี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือน่ากลัวแต่อย่างใด ในอดีตภาษาลูกผสมที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม ก็เกิดมาแล้วเป็นพันปี ในแผ่นดินที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าชนที่ต่างกันสูง เช่น ไทย ภาษาไทยปัจจุบัน มีการผสมผสานกันของภาษาท้องถิ่น ภาษาสันสกฤต บาลี ของอินเดีย รวมทั้งภาษาขอม ภาษาญี่ปุ่น ก็มีลูกผสมภาษาท้องถิ่นกับภาษาจีน ฯลฯ

การเกิดของวัฒนธรรมลูกผสมเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

การผสมผสานทางวัฒนธรรมในด้านของการผสมของผู้คนต่างเผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ อย่างวงการบันเทิงไทย ดาราที่เป็นลูกผสมไทยกับอเมริกัน หรืออังกฤษ หรือต่างชาติอื่น กำลังได้รับความนิยม เพราะดาราเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นในเรื่องหน้าตา บุคลิก การใช้ภาษา

http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=2384&ModuleID=21&GroupID=840

Visual arts - ศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย อภินันท์ โปษยานนท์

Visual arts - ศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย อภินันท์ โปษยานนท์

วิวาทะในเรื่องวัฒนธรรมอันหลากหลาย และภาวะลูกผสมหลังอาณานิคมได้เร่งให้เกิดการจัดการเป็นลำดับเพื่อตอบสนองด้านวัฒนธรรมและการเมือง เรื่องที่มีการโต้เถียงกันนี้ได้ถูกตีความจากกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างหลากหลาย จากการที่มันเป็นกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความหลากหลายขึ้น ไปจนถึงการจัดลำดับชั้นอำนาจของศูนย์กลางและชายขอบ

ความปรารถนาต่อความหลากหลายทางเชื้อชาติและความเป็นชาติทำให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ความคิดแบบหลายศูนย์กลางที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนการจัดลำดับศูนย์กลางของอำนาจ แต่เป็นการเสนอเสียงจากกลุ่มย่อยให้เป็นที่รับรู้ เสียงจากชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ไม่ได้สนใจเพียงแค่การดึงดูดชนกลุ่มน้อยต่างๆให้เข้ามาร่วมกันเพื่อที่จะแสดงตัวให้เป็นที่ปรากฏอย่างจอมปลอมอีกต่อไป แต่พวกเขาได้ร่างโครงสร้างเสียใหม่เพื่อบอกว่าโลกนี้ยังมีที่ๆมีวัฒนธรรมซึ่งมีพลวัตและมีสิ่งที่มีคุณค่าอยู่อีกมากมาย

ประเทศในแถบเอเชียได้ก่อตั้งเครือข่ายทางเศรษฐกิจผ่านการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค อาทิ อาเซียน เอเปค เพื่อการต่อต้านการครองความเป็นเจ้าของกลุ่มประเทศยูโร-อเมริกัน และด้วยการใช้ศิลปะและวัฒนธรรมสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียนพยายามที่จะสร้างค่านิยมแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการส่งเสริมให้มีการจัดมหกรรมเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีและจัดนิทรรศการศิลปะต่างๆขึ้น จุดมุ่งหมายของกิจการทางวัฒนธรรมเหล่านี้ก็คือการสร้างความผูกพันทางการเมือง และส่งเสริมเครือข่ายทางเศรษฐกิจ คุณลักษณะเฉพาะแบบท้องถิ่นได้รับการส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อการรวมตัวกันในภูมิภาคนี้ ภายใต้นโยบายไม่แทรกแซงกันเพื่อรวมเป็นหนึ่งและเพื่อสร้างเอกภาพที่มีความหลากหลาย กลุ่มประเทศอาเซียนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาบางประการได้ อาทิ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และการค้าประเวณีข้ามชาติ เป็นต้น

แนวความคิดบางประการในการกระจายอำนาจในโลกศิลปะนั้นส่งผลให้เกิดกระบวนทัศน์ที่ผันแปรจากการครอบงำของกลุ่มประเทศยูโร-อเมริกันไปสู่ความสนใจเพิ่มขึ้นในเรื่องการจำแนกความต่างและการกระจายศูนย์กลางแบบพหุวัฒนธรรม ผลที่ตามมาก็คือการกระจายศูนย์อำนาจทางศิลปะได้ทำให้เกิดพื้นที่ที่มีความโดดเด่นขึ้นมาเป็นทางเลือกต่อ ที่ซึ่งเป็นเมืองหลวงของศิลปะอย่างนิวยอร์ก ปารีส หรือเบอร์ลิน ตลอดทศวรรษ 1990 การท้าทายต่อการครอบงำและการรวมศูนย์อำนาจในกลุ่มประเทศ ตะวันตกเกิดขึ้นมาพร้อมกับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเอเชีย มันได้ทำให้กิจกรรมทางศิลปะรุ่งโรจน์ขึ้น ณ ศูนย์กลางทางศิลปะแห่งใหม่ที่เมืองโตเกียว กวางจู ฟูกูโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ และสิงคโปร์

ศิลปะร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีส่วนร่วมกันในความรุ่งโรจน์และความตกต่ำระหว่างทศวรรษ 1990 ช่วงเวลาของความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจหมายถึงเมืองอย่างกรุงเทพ มานิลา จาร์การต้า สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์อึกทึกไปด้วยกิจกรรมของศิลปะร่วมสมัย และเงินสดก็ไหลผ่านอย่างอิสระสู่การลงทุนทางศิลปะและการค้าศิลปะด้วยเช่นเดียวกัน

ภายใต้ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ การอุปถัมภ์จากบริษัทธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการประกวดและการว่าจ้างให้สร้างงานศิลปะขึ้น ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างตระหนักถึงความสำคัญของการเสนอเป็นเจ้าภาพในการจัดนิทรรศการ เทศกาล ตลอดจนถึงการประกวดงานศิลปะ พวกเขาต่างมุ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองต่างๆ ในประเทศของพวกเขามีสีสัน และเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจ แต่ภายหลังจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และความวุ่นวายทางการเมืองในบางพื้นที่ ก็ทำให้ศิลปะร่วมสมัยในภาคพื้นนี้ตกต่ำถดถอยไปชั่วขณะ ด้วยการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจอันรวดเร็วนี้เอง ศิลปินในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และใช้ประสบการณ์เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน พวกเขาสะท้อนปัจจัยหลายประการที่ได้ก่อความขัดแย้งและได้สร้างภาวะย้อนแย้งในสายใยของสังคมร่วมสมัยในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น

วัฒนธรรมลูกผสมเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ อาทิ ขบวนการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมขึ้นมาใหม่ในวัฒนธรรมหลังอาณานิคม การข้ามพรมแดนของวัฒนธรรมที่รับเข้ามาจากประเทศอื่น และความลุ่มหลงในวัฒนธรรมบริโภคที่มาจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้สะท้อนองค์ประกอบต่างๆที่หลอมรวมกันอย่างไม่น่าจะเข้ากันได้เลย และมันปรากฏอยู่ในความเคลื่อนไหวของศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคนี้

สื่อแบบดั้งเดิมต่างๆ อาทิ จิตรกรรม ยังคงได้รับการยอมรับอย่างสูงในหมู่ศิลปินจำนวนมาก สำหรับพวกเขาจิตรกรรมยังคงห่างไกลจากความตาย การเลือกสื่อเทคนิคแบบนี้ก็คือปฏิกริยาต่อการไหลบ่าของศิลปะประเภทจัดวาง (installation) และศิลปะที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ( interactive art form) พวกเขาพอใจที่จะให้เรื่องราวบนผืนผ้าใบนั้นเป็นเหมือนพื้นที่แห่งการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ผลงานที่ชนะเลิศในงาน Indonesia Art Awards ซึ่งถูกนำมาแสดงในสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาร์กาต้าในปี 1998 นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่องานจิตรกรรม เราจะพบลักษณะแบบนี้ได้ในการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารกรุงเทพ อย่างไรก็ตามแทนที่ผลงานของศิลปินเหล่านี้จะแสดงถึงความสงบเยือกเย็นผ่านเทคนิคอันยอดเยี่ยมนั้น จิตรกรกลับแสดงให้เห็นถึงอาการคลื่นเหียนสังคมและความทุกข์ทรมานของผู้คน ตัวอย่างเช่น ผลงานของเอฟเฟนดิศิลปินอินโดนีเซีย งานของเขามักเกี่ยวข้องกับการที่ผู้อ่อนแอถูกกดดันจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า หรือชาติชาย ปุยเปีย จิตรกรชาวไทย ผู้เป็นที่รู้จักดีในด้านการเขียนภาพเหมือนตัวเองในลักษณะเสียดสีและบิดเบี้ยวเหมือนคนวิกลจริต ส่วน อัลเฟรโด เอสกิลโล ศิลปินจากประเทศ ฟิลิปปินส์นั้นแสดงให้เห็นถึงความลุ่มหลงในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค กระบวนการกลายให้เป็นอเมริกัน และความทุกข์ยากของปัจเจกชนที่ได้รับผลกระทบที่มาในนามของการพัฒนาและความก้าวหน้า

นิทรรศการศิลปะในพื้นที่เฉพาะอย่างเช่น เชียงใหม่จัดวางสังคม เทศกาลงานศิลปะที่บาเกียว และนิทรรศการที่จัดประจำทุกสองปีที่ยอคยากาตาร์ ได้ชักจูงศิลปินให้ตระหนักเรื่องท้องถิ่นนิยมและความดั้งเดิม วิธีการจัดวางและวัสดุท้องถิ่นเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะรูปแบบทางศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองของท้องถิ่น ความสนใจในการใช้วัสดุท้องถิ่น เช่น ไม้ ดินเผา ขี้ผึ้ง และไม้ไผ่ มักจะพบเห็นได้ในงานของ เฮริ ดอโน , ดาดัง คริสตานโต , โมเอลโยโน , เอส . จันทราศรีกรันต์ , ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ และซานติอาโก โบส นอกจากนี้โครงการศิลปะขนาดใหญ่ที่คาดหวังจะเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นและต้องการสร้างสรรค์สันติภาพเกิดขึ้นเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น ในเดือนธันวาคม 1999 ศิลปินชาวบาหลีได้ทำโครงการที่วิอันตา ซึ่ง โครงการ"ศิลปะและสันติภาพ" ได้รวบรวมผู้คนกว่า 2,000 คน ในการรวมพลังต่อต้านความรุนแรงและการกวาดล้างชนพื้นเมือง

เฮลิคอร์ปเตอร์จากทาบานันสู่ซานูได้นำผืนผ้ายาวหลายกิโลเมตรที่เต็มไปด้วยถ้อยคำ บทกวี และภาพเขียน มาทิ้งลงในมหาสมุทร จากนั้นนักเรียนกว่าร้อยคนในชุดขาวได้คลี่ผืนผ้านี้บนชายหาด และมีพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองไฟโดยสมาชิกของฮารี กฤษณะ ซึ่งได้สวดมนต์และอวยพรให้ผู้ที่ได้มาร่วมงานด้วย

การทำโครงการศิลปะในที่สาธารณะกับชุมชนที่วิอันตาอาจนำมาเปรียบเทียบได้กับโครงการศิลปะที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชมโดยศิลปินไทยอย่างสุรสีห์ กุศลวงศ์ และนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ปฏิกริยาจากวิธีการให้ของขวัญแก่ผู้ชมและการสร้างงานศิลปะแบบเจาะจงพื้นที่ (Site-specific work) โดยศิลปินทั้งสองกระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อหน้าที่และจุดหมายของงานศิลปะ พวกเขาเพิ่มเติมความหมายใหม่ให้สิ่งของธรรมดาๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน แนวคิดของนาวินและสุรสีห์จัดอยู่ในบริบทของงานกึ่งคอนเซ็ปท์ชวล ซึ่งตามแนวโน้มกระแสของศิลปะโลกและเป็นแนวคิดที่นิยมความเป็นสากล ในขณะที่โครงการศิลปะสิ่งแวดล้อมที่วิอันตานั้น ตั้งอยู่บนจิตวิญญาณของความเป็นท้องถิ่นและศาสนาฮินดู

ปลายปี 1990 ศิลปะแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ ( performance) และบอดี้อาร์ต ( body art) เริ่มโดดเด่นขึ้นและเป็นที่สนใจของศิลปินในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเขาคาดหวังจะพัฒนางานศิลปะแนวนี้อย่างจริงจัง ศิลปินมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ความวุ่นวายทางการเมือง และกิจกรรมทางสังคมผ่านศิลปะแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ บนเส้นทางการค้นหาและการแสดงความคิดของศิลปินแนวทางนี้ ศิลปะที่จัดขึ้นในที่สาธารณะและเทศกาลศิลปะเพอร์ฟอร์มานซ์ต่างๆ อย่างเช่น โครงการศิลปะห้วยขวางเมกะซิตี้ และเอเชียโทเปียเป็นงานที่มีความสำคัญสำหรับขบวนการศิลปะร่วมสมัยในทิศทางนี้

ศิลปินแนวเพอร์ฟอร์มานซ์ที่เอาจริงเอาจังอย่าง อมานดา เฮง , ลี เวน , วสันต์ สิทธิเขตต์ , โจเซฟ อึง , มนตรี เติมสมบัติ ควรได้รับการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข กับงานศิลปะเชิงจัดวางและวิดีทัศน์อันน่าตระหนกที่ตัวเธอเองสนทนากับศพนั้นนับเป็นประสบการณ์อันทรมาน ไมเคิล เชาวนาศัย แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นศิลปินที่มีความสามารถในการแสดงเพอร์ฟอร์มานซ์จากผลงานของเขาเมื่อเร็วๆนี้ชื่อ "23.30" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ตัวตน และประเด็นรักร่วมเพศ

ถึงแม้ว่าจะมีศิลปินที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ก็ตาม แต่เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะละเลยเพิกเฉยต่อการไหลบ่าทางวัฒนธรรมที่ทำให้ศิลปิน งานศิลปะ และนิทรรศการศิลปะถูกมองเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

คณะกรรมการทางวัฒนธรรมที่มีอำนาจ ผู้จัดกิจการทางวัฒนธรรม ภัณฑารักษ์ ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโลกศิลปะระดับนานาชาติ ในที่ซึ่งความซับซ้อนในการสร้างคุณค่าสามารถจะเปลี่ยนให้ศิลปินมีชื่อเสียงขึ้นได้ในเพียงชั่วข้ามคืน

ด้วยวงจรหมุนเวียนของนิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติภายในภูมิภาคนี้ เราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการตัดสินของกรรมการทางวัฒนธรรม และการตัดสินรสนิยมทางศิลปะในสถานที่อย่างประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างรสนิยมและมูลค่าของงานศิลปะ ตัวอย่างเช่น การที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจกับโครงการศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เชื่อมโยงกับการสร้างภาพพจน์ที่ดีในการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการท่องเที่ยว การเฝ้ามองสินค้าทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ของชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาไปอย่างมากเป็นเวลานานหลายปีแล้ว แทนที่ภัณฑารักษ์จากประเทศญี่ปุ่นจะคัดเลือกนำเข้างานศิลปะจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้ชมโดยตรง เมื่อเร็วๆนี้กลับมีกระบวนการคัดเลือกและการตัดสินการแลกเปลี่ยนงานศิลปะซึ่งกันและกันอย่างจริงจัง ดังนั้นศิลปินผู้มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่นจึงได้มาปรากฏตัวในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น ยาสุมาสะ โมริมูระ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกได้จัดแสดงนิทรรศการของเขาขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพและในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมกับประเทศภายนอกเอเชียถูกทำให้ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นด้วยแนวความคิดต่างๆที่ได้กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว อาทิ การทำให้เป็นอื่น แนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม และการครองความเป็นเจ้า มันเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและจะต้องพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนในการสร้างความฟู่ฟ่าให้แก่ศิลปะข้ามชาติในรูปของ การแสดงงานศิลปะระดับนานาชาติ งานนิทรรศการศิลปะต่างๆ และมหกรรมแสดงศิลปะโดยตัวแทนศิลปินเพื่อการขาย ความสนใจที่เพิ่มขึ้นต่อศิลปินร่วมสมัยของเอเชียจึงเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับศิลปินจากภูมิภาคนี้ที่จะแสดงความสามารถพิเศษของพวกเขาออกมา

ในบริบทของศิลปะและวัฒนธรรมที่ถูกคิดขึ้นเพื่อรับใช้ความสนใจเฉพาะของผู้จัดงานและประเทศเจ้าภาพนั้น เราควรจะมีสติต่อความปรารถนาของพวกเขาที่จะแสดงการจัดแบ่งชั้นวรรณะทางสิทธิและอำนาจ ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือปกปิดก็ตาม

งาน Asia-Pacific Triennial ที่เมืองบริสเบน คือกรณีที่ศิลปะร่วมสมัยมีดุลยภาพที่ดีกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ในด้านที่เกี่ยวกับการค้า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกับชนพื้นเมือง เหนือสิ่งอื่นใดผู้จัดงานชาวออสเตรเลียและศิลปินจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างรุ่งเรือง เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศเจ้าภาพอย่างญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรือประเทศที่มีดินแดนเล็กกว่าอย่างสิงคโปร์ พวกเขาพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีสิทธิเหนือสินค้าทางวัฒนธรรมเหล่านี้ แต่มองในด้านดีแล้วศิลปินจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีกำไรอย่างมากในการเข้าไปร่วมโครงการทางวัฒนธรรมเหล่านี้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มวิสิทธิ่งอาร์ท ( Visiting Arts) และ กลุ่มอฟาร์ ( AFAA) กลุ่มอเสิฟ (ASEF) ซึ่งจะมีอิทธิพลมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเคลื่อนไหวทางกิจกรรมวัฒนธรรมที่ข้ามไปมาและเครือข่ายทางศิลปะซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างเข้มข้นนี้ มันเป็นแรงจูงใจและแรงปรารถนาโดยธรรมชาติของศิลปินที่จะผลักดันตัวเองเข้าสู่วงจรของเวทีศิลปะโลก แต่ในเวลาเดียวกันพวกเขาควรระลึกอยู่เสมอว่าขบวนการศิลปะนานาชาติในทิศทางใหม่นี้มีแบบแผนที่จำกัด อคติ และมีการแบ่งชั้นวรรณะอยู่ด้วย

ในที่สุดการตอบสนองต่อความเบี่ยงเบนของแบบแผนใหม่นี้ก็จะสะท้อนกลับมาสู่วาทกรรมที่จะตามมา นั่นก็คือความต้องการพื้นที่ที่รวมศูนย์แห่งเอเชีย แต่อย่างน้อยในทศวรรษหน้า การแข่งขันทางความรู้และข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัยจะสร้างความรื่นเริงมีชีวิตชีวาอย่างมหาศาล มันจะเป็นช่วงเวลาแห่งนาฏกรรมของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะทำให้ศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคนี้รุ่งโรจน์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

จักรพันธ์ วิลาสินีกุล : ผู้แปล
แปลจาก: Apinan Poshyananda. "Art of Change." Bangkok Post. 30 January 2000

http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=58

การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

กระบวนการส่งเสริมสันติวิธีในการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นมีดังนี้

การยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยทำให้โลกใบนี้เล็กลง มิติทางวัฒนธรรม เป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม เป็นการเคลื่อนไหวถ่ายเทแลกเปลี่ยนความรู้และวิถีชีวิตระหว่างกันของมวลมนุษยชาติ ปรากฏการณ์ลักษณะดังกล่าวมีมาเนิ่นนานนับสหัสวรรษและยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ในยุคที่การติดต่อสื่อสารสามารถกระทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ดังเช่นทุกวันนี้ผลกระทบทางวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 3 ประการ (อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว . (2547. 6 กรกฎาคม) โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม. มติชนรายวัน . หน้า 7 ) คือ

1.วัฒนธรรมรวมตัว (Cultrual Homogenization) เนื่องจากโลกาภิวัตน์นำมาซึ่ง "มาตรฐาน" การยอมรับในระดับสากล จนเกิดเป็นการบีบบังคับให้เปลี่ยนตามหรือลอกเลียนด้วยความเต็มใจ เมื่อเป็นดังนี้ วัฒนธรรมท้องถิ่นจึงสูญเสียคุณค่าที่เคยมี ทำให้เกิดการแปรสภาพและเปลี่ยนไปตามกระแสความนิยมของโลก เปรียบเสมือนการหลอมละลาย อ่อนไหวไร้จุดยืนไปตามสถานการณ์ผู้สนับสนุนแนวทางดังกล่าวนี้ มีความหวังว่าการยัดเยียดวัฒนธรรมสามารถกระทำได้ ดังเช่น "รัฐนิยม" ซึ่งเคยมีใช้อยู่ในประเทศไทย ด้วยจุดมุ่งหมายให้วัฒนธรรมย่อย ค่อยๆ ลบเลือนหายไป

2.วัฒนธรรมแตกตัว (Cultural Heterogenization) ในกรณีนี้ โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการแปลกแยกระหว่างวัฒนธรรม จนยากเกินกว่าจะรอมชอมกันได้ ต่างฝ่ายต่างรักษาความบริสุทธิ์หรือวัฒนธรรม "พันธุ์แท้" ของตนเอง จนผลที่เกิดตามมาคือการปะทะถึงขั้นแตกหัก

3.วัฒนธรรมลูกผสม (Cultural Hybridization) หรืออีกนัยหนึ่งคือการผสมผสาน จนยากเกินกว่าจะแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ วัฒนธรรมพันธุ์ทางมักเกิดขึ้นเสมอ หากมีการไปมาหาสู่กันรวมทั้งเมื่อติดต่อสื่อสารแบบรอมชอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย จะว่าไปแล้ว วัฒนธรรมของทุกชาติในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นได้ ด้วยการหยิบยืมแลกเปลี่ยนกันไปมาทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่ภายในพวกกันเองก็ระหว่างกลุ่ม เพราะฉะนั้น ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมพันธุ์ทางน่าจะเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติมากที่สุดหากพิจารณาวัฒนธรรมของชนชาติไทยดู ก็จะรู้ว่ามีที่มาจากแอ่งอารยธรรมมากมายหลายแหล่ง อาทิ วัฒนธรรมโบราณของท้องถิ่นตั้งแต่ ขอม มอญ ละว้า มลายู รวมทั้งจากภายนอกภูมิภาค แม้ระยะทางอยู่ห่างไกลออกไป เช่น จีนและอินเดียยุคสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยชาม "สังคโลก" ว่ากันว่าเกิดจากการนำเข้าช่างฝีมือชาวจีน ซึ่งขณะนั้นการค้าระหว่างจีนกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาก จนเป็นช่องทางให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนรวมทั้งการถ่ายทอดทักษะการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์ จนนำรายได้เข้าสู่รัฐไทยอย่างมากมาย ยุคสมัยอยุธยา ขนมไทยแท้แต่โบราณ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน ขนมไข่เต่า ขนมผิง สังขยาและหม้อแกง ฯลฯ ความเป็นจริง กลับมีต้นกำเนิดมาจากสตรีชาวญี่ปุ่นเชื้อสายโปรตุเกสนามว่ามารี กีมาร์ หรือ "ท้าวทองกีบม้า" ผู้นำเข้ามาเผยแพร่ ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยุคสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องแต่งกายชายชุดประจำชาติไทย คือ "ราชปะแตน" เกิดขึ้นมาจากการประยุกต์ชุดต้นแบบของราชา (Raj Pattern) โดยชนชั้นนำไทยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ

จากตัวอย่างทั้งหมดข้างต้น จะเห็นว่าวัฒนธรรมไทยเกิดจากการเรียนรู้เพื่อ "รับ" และ "แลกเปลี่ยน" กับวัฒนธรรมอื่นมาตั้งแต่ครั้งอดีต เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งเคยแปลกปลอมเหล่านั้นก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ดังที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบันในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมของไทยเองก็ได้เคลื่อนย้ายไหลเวียนออกไปสู่ภูมิภาคอื่นด้วย จนเมื่อกลายเป็นความนิยมและเกิดการยอมรับ จึงถูกขนานนามว่ามีที่มาจากเมืองไทย แฝดสยาม (Siamese Twins) กลายเป็นคำที่ใช้เรียกทารกแฝด ซึ่งเกิดมามีร่างกายติดกันตามธรรมชาติ โดยคำดังกล่าวมีที่มาจากฝาแฝด "อิน-จัน" ชาวแม่กลอง สมุทรสงคราม ผู้อพยพไปยังสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็กและต่อมากลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแสดง จนรู้จักกันไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป แมวสยาม (Siamese Cat) เป็นคำเรียกแมวชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ ภายหลังจากกงสุลอังกฤษในไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำแมวไทยกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอนด้วย จากนั้นได้นำออกแสดง ณ คริสตัล พาเลซ ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงและได้รับความนิยมอย่างมากทั่วยุโรป ในปัจจุบัน "อาหารไทย" เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรม ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศไม่เฉพาะแค่ภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ยังกว้างไกลไปถึงทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย รวมทั้งทวีปแอฟริกาด้วย จนรัฐบาลถึงกับประกาศส่งเสริมให้มีร้านอาหารไทย 10,000 แห่ง ในต่างประเทศภายในปี 2551

นอกจากนี้ ยังมีกีฬา "มวยไทย" ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล และอีกหลายประเทศในยุโรป โดยแต่ละปีมีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ติดตามเข้าชมการแข่งขัน รวมทั้งสนใจศึกษาแม่ไม้มวยไทยตามค่ายมวยต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศในยุคที่คนไทยเกือบ 30 ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือในครอบครอง ขณะเดียวกับที่ผู้ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตก็เพิ่มจำนวนเข้าใกล้ 8 ล้านคนเข้าไปทุกที ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่หลายแขนง ย่อมเติมความเข้มข้นให้กับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์มากยิ่งขึ้นท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายนี้เอง โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งความเป็นพันธุ์ทางอันเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เพื่อโน้มนำไปสู่ประชาสังคมโลก (Global Civil Society) พลวัตภายในสังคม จะเป็นตัวกำหนด "วัฒนธรรมลูกผสม" ของแต่ละสังคมนั้นดังนั้น เมื่อการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ของทุกชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุปัจจัยใด การครอบงำ การบังคับให้แต่ละคน แต่ละชุมชนถึงแม้จะอยู่ประเทศเดียวมีวัฒนธรรมเดียวเท่านั้นจึงเป็นเรื่องยากและนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงในที่สุด

ดังนั้นการบริหารจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด การยอมรับความสำคัญของวัฒนธรรมอื่นที่เป็นชนกลุ่มน้อย พร้อมกันนั้นกลุ่มน้อยก็จะต้องยอมรับความสำคัญของวัฒนธรรมของกลุ่มใหญ่เช่นกัน ในขณะเดียวกันชนกลุ่มน้อยก็ต้องยอมรับสภาพของความเป็นจริง การจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับชนกลุ่มใหญ่ เพื่อจะแยกตัวออกไปต่างหากมักไม่เป็นผล ทางออกได้แก่ทั้งสองฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประวัติศาสตร์บ่งว่าการอยู่ด้วยกันอย่างสันติมิใช่สิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อม มันเกิดขึ้นได้หากทั้งสองฝ่าย หันหน้าเข้าหากันด้วยความจริงใจ สิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง เมื่อสองฝ่ายไม่ยอมหันหน้าเข้าหากัน คือการฉวยโอกาสเข้าแทรกแซงของผู้อื่น

การศึกษาเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรม

หลังจากมีการยอมรับสิ่งสำคัญลำดับต่อมาคือการศึกษาเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ความแตกต่างและหลากทางวัฒนธรรมที่อยู่ในแต่ละประเทศต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ต่างกัน นอกจากจะสร้างความรัก ความผูกผัน ทำความรู้จักต่อกันแล้ว ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนักและพัฒนาความเป็น ชาติ ศาสนา ท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งยังสามารถเกิดการพัฒนาในระดับบุคคล คือ การพัฒนา ความรู้ สติปัญญา ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการหล่อหลอมให้เกิดการใช้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อ "เข้าใจผู้อื่น" เข้าใจความเป็นอยู่ของคนในที่ต่างๆ ทั้งที่อยู่ห่างไกลและอยู่ใกล้ชุมชนรอบตัว รวมทั้งรู้ "วิธีการ" ที่เราจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชน ศาสนิกอื่น มีประโยชน์และกำไรสำหรับผู้ที่รู้ เป็นผู้รู้กาละเทศะ การปรับตัวเพื่อการเข้าใจกัน สามารถลดความขัดแย้ง สร้างสันติสุขในการอยูร่วมกัน นอกจากนั้นการรู้วัฒนธรรม ยังทำให้เรารู้อีกว่า อะไรที่ควรทำหรืออะไรที่ไม่ควรทำ เรื่องใดที่เขายึดถือ เคารพ ห้ามละเมิดและยอมได้หรือยอมไม่ได้ ในบางเรื่องผู้ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมจะเป็นคนบอกเองว่า อะไร ที่เป็นข้อผ่อนปรนได้ อะไรที่ผ่อนปรนไม่ได้ อะไรคือเรื่องหลัก อะไรคือเรื่องรอง

การศึกษาเรียนรู้ (โปรดดูโชคชัย วงษ์ตานี.พื้นฐานวัฒนธรรมมุสลิม. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550 จาก http://midnightuniv.org/midnight2545/document95127.html) "วัฒนธรรม" ที่เขาเชื่อ คิด ปฏิบัติ จะทำให้เข้าใจและรู้ว่าควรปฏิบัติต่อคนที่ต่างจากเราอย่างไร ด้วยความต่างทั้งเรื่อง เพศ วัย ครอบครัว การศึกษา ศาสนา ความเชื่อ ต่างถิ่น ต่างชาติ ว่าเรา (ทั้งในฐานะรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ) จะอยู่ร่วมกับเขา หรือสัมพันธ์กับเขา (ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่) ในลักษณะของ การช่วยเหลือ การวางนโยบายทางการปกครอง การส่งเสริมและแก้ปัญหาความยากจน ส่งเสริมการค้าขาย การให้การศึกษา กับเขาได้อย่างไร ในแบบที่เรียกว่า ตรงกับความต้องการ ตรงกับกาลเทศะ และสอดคล้องกับหลักศรัทธาในศาสนาที่เขาเหล่านั้นยึดถือ ปฏิบัติ

ผู้ที่ศึกษาวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชนอื่นอย่างลึกซึ้งแล้ว จะส่งผลทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจต่อกลุ่มชน ของตนเองมากขึ้น เพราะการที่เราจะเข้าใจ "ตัวตน" ของตนเองได้ จะต้องมองผ่านผู้อื่น สะท้อน "ตัวตนของเรา" ให้เรารู้และให้เราเห็น และเมื่อเข้าใจและรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่นแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า เขาเหล่านั้น จะเลือกใช้วัฒนธรรมในฐานะ "กำแพง" ที่ก่อเพื่อปิดกั้นและอยู่เฉพาะกลุ่มชนตนเอง หรือมุ่งที่จะสร้างเป็น "สะพาน" เพื่อที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการแลกเปลี่ยน สังสรรค์ เป็นที่รู้จักและนำสู่การอยู่ร่วมกันในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างสันติ
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=904